ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการรู้ทางชีวภาพของนักเรียน โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • นูรีซะห์ สือรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดปัตตานี 94000
  • อาฟีฟี ลาเต๊ะ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดปัตตานี 94000 https://orcid.org/0000-0002-0442-5706
  • แววฤดี แววทองรักษ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดปัตตานี 94000

DOI:

https://doi.org/10.14456/psruhss.2024.29

คำสำคัญ:

การรู้ทางชีวภาพ , นักเรียนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย , ปัจจัยเชิงสาเหตุ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการรู้ทางชีวภาพของนักเรียนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยในประเทศไทย ประชากร คือ นักเรียนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยที่กำลังศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 มีทั้งสิ้น 1,580 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 275 คน โดยใช้อัตราส่วนจำนวนพารามิเตอร์ของสถิติวิเคราะห์ สุ่มตามความสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบการรู้ทางชีวภาพ จำนวน 12 ข้อ ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านบริบท และด้านเจตคติ แบบสอบถาม 7 ด้าน ได้แก่ ด้านแรงจูงใจ ด้านความใฝ่รู้ ด้านสื่อการเรียนรู้ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านครูผู้สอนชีววิทยา ด้านโอกาสทางวิชาการด้านชีววิทยา และด้านแหล่งการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน และทดสอบสมมติฐานโมเดลสมการโครงสร้างด้วยวิธี PLS-SEM ผลการศึกษาพบว่า ผลการทดสอบสมมติฐานโมเดลสมการโครงสร้างจากทั้ง 14 สมมติฐานปรากฏว่าสนับสนุนสมมติฐานที่กำหนดเพียง 4 สมมติฐาน ได้แก่ 1) โอกาสทางวิชาการด้านชีววิทยาต่อความใฝ่รู้ 2) ครูผู้สอนชีววิทยาต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) สื่อการเรียนรู้ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 4) แรงจูงใจต่อความใฝ่รู้ ส่วนอีก 10 สมมติฐานปรากฏผลการมีอิทธิพลระหว่างตัวแปรแฝงทั้ง 2 ตัวอย่าง ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ กล่าวคือ ไม่สามารถสนับสนุนสมมติฐานที่กำหนดไว้

References

เจษฎาภรณ์ อ้นแก้ว, พัชราวลัย มีทรัพย์, และนิคม นาคอ้าย. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดพิษณุโลก: การวิเคราะห์พหุระดับโดยใช้โมเดลระดับลดหลั่นเชิงเส้น (HLM). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 8(1), 18-36.

ณัฏติยาภรณ์ หยกอุบล. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม, 8(1), 85-102.

ปาจรีย์ คุ้มสิงห์สันต์, แขก บุญมาทัน, และน้ำทิพย์ องอาจวาณิชย์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของครูที่สอนวิทยาศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ครั้งที่ 4 (น. 208-216). เพชรบูรณ์: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 5, 80-91.

พีรพร แก้วแดง. (2554). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดศรีสะเกษ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2563). คณะวิทย์ มช. เปิดเวทีแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 17. สืบค้น 14 มีนาคม 2564, จาก https://www.science.cmu.ac.th/prsci/news-detail.php?id=3874#.Yr2sAXZBzrd

วราพร บุญมี. (2563). สื่อการสอนกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(9), 373-386.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). สืบค้น 14 มีนาคม 2564, จาก http://physics.ipst.ac.th/wp-content/uploads/sites/2/2019/02/SciCurriculum_2560.pdf

สำนักบริหารงานความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา. (2562). แผนกลยุทธ์กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย. สืบค้น 14 มีนาคม 2564, จาก https://www.pcccr.ac.th/filesAttach/OIT/O4/1.pdf

อามีล มาหามะ, อาฟีฟี ลาเต๊ะ, และแววฤดี แววทองรักษ์. (2564). การศึกษาเปรียบเทียบและการสร้างเกณฑ์ปกติการรู้วิทยาศาสตร์ของนักศึกษาวิชาชีพครูในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 16(3), 287-296.

Bitler, M., Corcoran, S. P., Domina, T., & Penner, E. K. (2021). Teacher effects on student achievement and height: A cautionary tale. Journal of research on educational effectiveness, 14(4), 900-924.

Dawkins, R. (n.d.). How to Become a Biology Teacher. https://www.teacher.org/career/biology-teacher/

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Onel, A., & Durdukoca, S.F. (2019). Identifying the Predictive Power of Biological Literacy and Attitudes Toward Biology in Academic Achievement in High School Students. International Online Journal of Educational Sciences, 11(2), 214-228.

Ringle, C. M., Götz, O., Wetzels, M., & Wilson, B. (2009). On the use of formative measurement specifications in structural equation modeling: A Monte Carlo simulation study to compare covariance-based and partial least squares model estimation methodologies. METEOR Research Memoranda.

Suwono, H., Pratiwi, H., E., Susanto, H., & Susilo, H. (2017). Enhancement of Students’ Biological Literacy and Critical thinking of Biology Through Socio-Biological Case-Based Learning. Pendidikan IPA Indonesia, 6(2), 213-220.

ภาพ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-05-2024

How to Cite

สือรี น., ลาเต๊ะ อ. ., & แววทองรักษ์ แ. . (2024). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการรู้ทางชีวภาพของนักเรียน โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยในประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 18(1), 425–438. https://doi.org/10.14456/psruhss.2024.29