การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้พลศึกษาสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา

ผู้แต่ง

  • ณัฐวุฒิ ฉิมมา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก 65000
  • ภูฟ้า เสวกพันธ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก 65000
  • วาสนา คุณาอภิสิทธิ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก 65000 https://orcid.org/0000-0002-5959-1138
  • พงษ์เอก สุขใส คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก 65000 https://orcid.org/0000-0001-8560-6105

DOI:

https://doi.org/10.14456/psruhss.2024.28

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม , ความสามารถด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้พลศึกษา , นักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้พลศึกษาสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา ดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างความสามารถด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้พลศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา ชั้นปีที่ 1–4 มหาวิทยาลัยในเขตภาคเหนือ 13 แห่ง จำนวน 432 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ระยะที่ 2) สร้างและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้พลศึกษา และจัดสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 8 คน เพื่อประเมินคุณภาพหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตร ก่อนนำหลักสูตรไปใช้ในการฝึกอบรมจริง และ ระยะที่ 3) ทดลองและศึกษาผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรม และการประเมินความสามารถเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้พลศึกษาในด้านความรู้ คุณลักษณะ ทักษะการปฏิบัติ และประเมินความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จำนวน 30 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า

1. การเสริมสร้างความสามารถด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้พลศึกษา มีความต้องการจำเป็นในระดับมาก (PNI Modified เท่ากับ 0.300)

2. ผลการสร้างและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม พบว่า หลักสูตรฝึกอบรมมีองค์ประกอบ 6 ด้าน ได้แก่ (1) หลักการของหลักสูตร (2) วัตถุประสงค์ (3) เนื้อหาสาระ (4) กิจกรรมและวิธีที่ใช้ในการฝึกอบรม (5) สื่อที่ใช้ในหลักสูตร และ (6) การวัดประเมินผลหลักสูตร และมีเอกสารประกอบหลักสูตร ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ (1) คู่มือแนวทางการใช้หลักสูตรฝึกอบรม และ (2) แผนการจัดกิจกรรมฝึกอบรม ผลการประเมินคุณภาพหลักสูตรฝึกอบรมและเอกสารประกอบหลักสูตร โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มีความถูกต้องเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X} = 4.61, S.D. = 0.42) มีความเป็นประโยชน์และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X} = 4.55, S.D. = 0.45)

3. นักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษามีคะแนนความสามารถด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแต่ละด้าน ดังนี้   

          3.1 ด้านความรู้หลังการฝึกอบรม (gif.latex?\bar{X} = 49.80, S.D. = 3.10) สูงกว่าก่อนการฝึกอบรม (gif.latex?\bar{X} = 28.80, S.D. = 7.35) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

          3.2 ด้านคุณลักษณะ อยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{X} = 2.72, S.D. = 0.43)

          3.3 ด้านทักษะการปฏิบัติ อยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{X} = 2.34, S.D. = 0.57)

          3.4 ด้านความพึงพอใจที่มีต่อการใช้หลักสูตรฝึกอบรม อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X} = 4.80, S.D. = 0.41)

References

กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประกาศข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2562, (7 พฤษภาคม 2563). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 137 ตอนพิเศษ 109 ง. หน้า 10-14.

พงษ์เอก สุขใส. (2561). ครูพลศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 12(ฉบับ Supplement), 8-21.

ภูฟ้า เสวกพันธ์. (2562). การศึกษาแบบเรียนร่วม: ปฏิบัติการขั้นสูงในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รสสุคนธ์ มกรมณี. (2556). “ครูไทยกับ ICT”. ใน การประชุมทางวิชาการของคุรุสภาประจำปี 2556 เรื่อง การวิจัยเพื่อเพิ่มคุณภาพการศึกษาและพัฒนาวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

วาสนา คุณาอภิสิทธิ์. (2561). หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้พลศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: พริกหวาน กราฟฟิค.

สุนีย์ ภู่พันธ์. (2546). แนวคิดพื้นฐานการสร้างและการพัฒนาหลักสูตร. เชียงใหม่: The Knowledge Center.

อัสรี สะอีดี. (2561). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของครูพลศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยประยุกต์ใช้การอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ร่วมกับการสอนแบบเสริมศักยภาพ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อํานวย เดชชัยศรี, และณัฐกานต์ ภาคพรต. (2553). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ ม.4. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.

Bloom, B. S. (1956). Taxonomy of Educational Objectives, the classification of educational goals – Handbook I: Cognitive Domain. New York: McKay.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological testing. (3rded.). New York: Harper & Row.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. Attitude Theory and Measurement. Fishbeic, Martin, Ed. New York: Wiley & Son.

Prasith-Rathsint, S. & Sookasame K. (2004). Qualitative Research Methodology: Research on Current Issues and Futures Research. Bangkok: Fueang Fa Printing House.

Taba, H. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. New York: Harcourt, Brace & World.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.

ตาราง 1 ผลการเปรียบเทียบค่าความแตกต่างความต้องการจำเป็น (PNI Modified)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-05-2024

How to Cite

ฉิมมา ณ., เสวกพันธ์ ภ. ., คุณาอภิสิทธิ์ ว. ., & สุขใส พ. . (2024). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้พลศึกษาสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 18(1), 411–424. https://doi.org/10.14456/psruhss.2024.28