แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษของโรงเรียนโยธินบูรณะ ตามกรอบแนวคิดคุณลักษณะผู้เรียน 4.0; APPROACHES FOR DEVELOPING ACADEMIC ADMINISTRATION OF ENGLISH PROGRAM ACCORDING TO THE CONCEPT OF STUDENT CHARACTERISTICS 4.0 AT YOTHINBURANA SCHOOL

ผู้แต่ง

  • บังอร พรพิรุณโรจน์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • นันทรัตน์ เจริญกุล คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบริหารงานวิชาการ, โครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ, คุณลักษณะผู้เรียน 4.0

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดคุณลักษณะผู้เรียน 4.0 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการของโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษของโรงเรียนโยธินบูรณะ และ 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษตามคุณลักษณะผู้เรียน 4.0 ประชากร คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการ
กลุ่มบริหารวิชาการ หัวหน้าโครงการฯ และครูในโครงการฯ ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ หัวหน้าโครงการฯ และครูในโครงการฯ จำนวน 43 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณลักษณะผู้เรียน 4.0 ประกอบด้วย 1) ทักษะการคิด 2) ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 3) ทักษะทางสังคม 2. โรงเรียนมีการติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตรด้านการรู้เท่าทันสื่อ ( gif.latex?\bar{x}= 3.543, PNImodified = 0.331) 3. แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการ มีทั้งหมด 8 แนวทาง ได้แก่ ผู้บริหารและคณะกรรมการฝ่ายวิชาการของโครงการฯ 1) ยกระดับคุณภาพของระบบการติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตรของโครงการฯ โดยการนำผลการประเมินหลักสูตรมาปรับปรุงพัฒนาเรื่องการรู้เท่าทันสื่อ 2) ปรับปรุงการจัดทำโครงสร้างหลักสูตรโดยแต่ละรายวิชามีการบูรณาการตัวชี้วัดเพิ่ม ด้านความคิดสร้างสรรค์ 3) ส่งเสริมให้มีการจัดหา ผลิต ใช้และพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียนด้านการรู้เท่าทันสื่อ 4) ส่งเสริมให้ครูในโครงการฯ เพิ่มประสิทธิภาพการจัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะด้านความสามารถในการสร้างนวัตกรรม 5) ผลักดันให้โครงการฯ มีการนิเทศการเรียนการสอน เพื่อนำผลการนิเทศมาปรับปรุงพัฒนาผู้เรียนด้านความสามารถในการสร้างนวัตกรรม 6) สนับสนุนให้ครูจัดทำแผนการเรียนรู้ โดยบูรณาการด้านการรู้เท่าทันสื่อ 7) ส่งเสริมให้ครูพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลให้ได้มาตรฐาน เพื่อพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียนด้านความเข้าใจในความแตกต่างของวัฒนธรรมและกระบวนการคิดข้ามวัฒนธรรม และ 8) ริเริ่มการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการวัดผลประเมินผลให้สอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร โดยเน้นการประเมินตามสภาพจริงเพื่อพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียนด้านการคิดแก้ปัญหาที่ซับซ้อน

Downloads

Download data is not yet available.

References

กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา. (2559). พิมพ์เขียวและแผนปฏิบัติการขับเคลื่อน Thailand 4.0 โมเดลการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน. [ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์] สืบค้นจาก : https://www.libarts.up.ac.th/v2/img/Thailand-4.0.pdf
ซูวีตา มะขามทอง. (2556). การศึกษาเปรียบเทียบการบริหารหลักสูตรโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตกรุงเทพฯและโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง. (2559). การสร้างเครื่องมือการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ. (2550). การจัดการและการบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วิสาลักษณ์ สิทธิ์ขุนทด. (2551). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
ศิริรัตน์ อนุวัฒน์ประกิจ. (2554). กลยุทธ์การบริหารเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
สภาการศึกษา. (2560). คุณลักษณะเด็กไทยในศตวรรษที่ 21 ความต้องการกำลังคนยุค 4.0 หลัก 3Rs x 8Cs เด็กไทยในฝัน [ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์]. สืบค้นจาก : https://www.krusmart.com/student-3rs8cs/
สมพร หลิมเจริญ. (2552). การพัฒนาหลักสูตรเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. สืบค้นจาwww.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422
สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2560). การบริหารการศึกษาเพื่อร่วมสร้างประเทศไทย 4.0 งานปาฐกถาศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี.
อุทุมพร ชื่นวิญญา. (2545). การประเมินโครงการหลักสูตรภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนโยธินบูรณะ กรมสามัญศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
เอื้อจิต วิโรจน์ไตรลักษณ์. (2540). การวิเคราะห์ระดับมีเดียลิตเตอเรซีของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
Harkins, A. M. (2008). Leapfrog principles and practices: Core components of education 3.0 and 4.0. Futures Research Quarterly 24(1), 19-31.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย