การศึกษาประเด็นทางนโยบายและมาตรการของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์: กรณีศึกษาพื้นที่ถนนนิมมานเหมินทร์ จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • วสันต์ ปวนปันวงศ์ สาขาวิชารัฐศาสตร์ วิทยาลัยการจัดการและพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

นโยบายและมาตรการของรัฐ, การควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, ถนนนิมมานเหมินทร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้ผู้วิจัยมุ่งนำเสนอถึงประเด็นทางนโยบายและมาตรการของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์: กรณีศึกษาพื้นที่ถนนนิมมานเหมินทร์ จังหวัดเชียงใหม่ โดยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตประสงค์การวิจัย คือ เพื่อศึกษาประเด็นทางนโยบายและมาตรการของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กรณีศึกษาพื้นที่ถนนนิมมานเหมินทร์ จังหวัดเชียงใหม่ ผลการวิจัยประกอบไปด้วยประเด็นดังต่อไปนี้ คือ 1.บริบทของนิมมานเหมินทร์และการดำรงอยู่ของพื้นที่เศรษฐกิจ สู่ประเด็นทางนโยบายและมาตรการของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวคือ นิมมานเหมินทร์เริ่มต้นจากการเป็นพื้นที่ที่มีร้านค้าซึ่งมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม และถูกทำให้เป็นที่รู้จักโดยสถานประกอบการจำหน่ายแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นที่ดึงดูดของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ นำมาสู่การจัดระเบียบและมาตรการของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2.นิมมานเหมินทร์ภายใต้นโยบายและมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวคือ ในระดับปฏิบัติการภาครัฐได้สร้างความยืดหยุ่นให้แก่ผู้ประกอบการ โดยยืดหยุ่นเรื่องเวลาเปิดปิด สำหรับสถานประกอบการที่มีใบอนุญาตจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งนี้จากวิธีการพิจารณาความผิดโดยอ้างอิงเจตนาของผู้ประกอบการเป็นหลัก 3. นิมมานเหมินทร์กับการปรับตัวของผู้ประกอบการต่อนโยบายและมาตรการของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวคือ สถานประกอบการมีการดิ้นรนและปรับตัวเพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ภายใต้เงื่อนไขทางกฎหมายที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยใช้กลยุทธ์การยอมจำนนตามกติกาของกฎหมายเพื่อรักษาประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจ 4.ประเด็นด้านนโยบายและมาตรการของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กับการปรับตัวโดยใช้กลยุทธ์การรวมตัวในรูปแบบเครือข่ายของผู้ประกอบการในนิมมานเหมินทร์ กล่าวคือ การรวมตัวกันในรูปแบบเครือข่ายดำรงอยู่ได้ไม่นานกล่าวได้ว่ามีเครือข่ายเฉพาะช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลง หรือผู้ประกอบการต้องการเรียกร้องประโยชน์บางอย่างจากรัฐเท่านั้น ข้อเสนอแนะในงานวิจัย 1.นโยบายและมาตรการของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ควรการบังคับใช้กฎหมายโดยเจ้าหน้าที่และหน่วยงานอย่างจริงจัง 2.ในเชิงนโยบายการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านการโฆษณาควรมีการตีความให้ชัดเจนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3.ควรสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจในการตรากฎหมายและนโยบายด้านการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่

Downloads

Download data is not yet available.

References

กฤดชณน จงบริรักษ์. (2560). วิวัฒนาการเชิงอัตลักษณ์ในย่านนิมมานเหมินท์.
วารสาร Veridian E-Journal มหาวิทยาลัยศิลปากร 10 (3):2750-2762.
จุฑาภรณ์ พฤษภา. (2562). นิมมานเหมินทร์ : ถนนสายเศรษฐกิจของเชียงใหม่ จาก
หมู่บ้านจัดสรรสู่ชุมชนธุรกิจปราบเซียน. (ออนไลน์) สืบค้นจาก https://becommon.co/culture/nimmanhaemin-road-history/.
ธเนศวร์ เจริญเมือง. (2540). การปกครองเมืองในสังคมไทย: กรณีเขียงใหม่เจ็ด
ศตวรรษ. เชียงใหม่: โรงพิมพ์มิ่งเมือง.
ถนนนิมมานเหมินท์ กว่าจะเป็นวันนี้ และวันหน้า. (2560). (ออนไลน์) สืบค้นจาก
http://compasscm.com/viewissue.php?id=28&lang=th&issue=115
ปฐวี โชติอันันต์. (2558). รัฐ ธุรกิจ ประชาสังคม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:
กรณีศึกษาย่านนิมมานเหมินท์ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ 4(1) หน้า 95-120.
ดิเรก ควรสมาคม. (2560).“มาตรการและการบังคับใช้พระราชบัญญัติควบคุม
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 : กรณีศึกษาในอำเภอเมืองเชียงใหม่”. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. (ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 2560): 53-76.
ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.). (2560). กฎหมายเกี่ยวกับสุรา. (ออนไลน์) สืบค้นจาก
http://cas.or.th/information/law-and-regulation
อนินท์ญา ขันขาว. (2560). เชียงใหม่: 'เส้นทางสายโพธิ์' กับข้อเสนอโมเดลย่าน
วัฒนธรรม-เศรษฐกิจแห่งใหม่. (ออนไลน์) สืบค้นจาก https://prachatai.com/journal/2018/11/79446
สัมภาษณ์สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดเชียงใหม่
สัมภาษณ์สำนักงานสรรพสามิต จังหวัดเชียงใหม่
สัมภาษณ์สถานประกอบการแห่งหนึ่งย่านนิมมานเหมินทร์

Translated Thai References
Center of Alcohol Studies (CAS). Alcoholic beverage law. (Online),
Retrieved on http://cas.or.th/information/law-and-regulation.
Charoenmuang, T. (1997). Governing the City in Thai Society: The Case
of the Seven century of Chiang Mai. Chiang Maingmuang press.
Chotearnun, P. (2016). State Business Civil Society and local government:
The Case of Nimmanahaeminda area Chiang Mai. Journal of Political Science and law Kalasin Rajabhat University 4(1) p.95-120.
Nimmanahaeminda Road More than today and tomorrow. (2017).
(Online), Retrieved on http://compasscm.com/viewissue.php?id=28&lang=th&issue=115
Jongboriruk, K. (2018). Identity evolution in the Nimmanahaeminda area.
Journal of Veridian E-Journal Silpakorn University 10(3) p. 2750-2762.
Kounsamakhom, D. (2008). Measures and enforcement of the Alcoholic
Beverage Control Act 2008: A case study in Mueang Chiang Mai District ". Journal of Law Naresuan University. 6(1), p.53-76.
Nimmanahaeminda Road More than today and tomorrow. (2017).
(Online), Retrieved on http://compasscm.com/viewissue.php?id=28&lang=th&issue=115
Purksapha, J. (2019). Nimmanahaeminda : Economic road of Chiang Mai
From the housing village to the business community. (Online) Retrieved on
https://becommon.co/culture/nimmanhaemin-road-history/.
Excise Office of Chiang Mai in November 7, 2019. [Interview]
Office of Tourism and Sports Chiang Mai Province in November 7, 2019.
[Interview]
An establishment of Nimmanahaeminda Road in November 25, 2019.
[Interview]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-26