ศักยภาพและความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก: กรณีศึกษาจังหวัดหนองคาย
คำสำคัญ:
เศรษฐกิจฐานราก; เทศบาล; องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบทคัดย่อ
การศึกษานี้ มุ่งอธิบายถึงศักยภาพและความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเป็นหน่วยในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานราก กรณีศึกษาเทศบาลในพื้นที่จังหวัดหนองคาย ดำเนินการวิจัยโดยใช้วิธีเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์เก็บรวบรวมโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้างจากผู้บริหารท้องถิ่น ข้าราชการท้องถิ่น ข้าราชการจากส่วนราชการ และประชาชนในพื้นที่จังหวัดหนองคายจำนวน 5 อำเภอ เป็นการเลือกแบบเจาะจงคือ เทศบาลเมืองหนองคาย เทศบาลเมืองท่าบ่อ เทศบาลตำบลศรีเชียงใหม่ เทศบาลตำบลสังคม และเทศบาลตำบลโพนพิสัย มีผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 10 คน ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยกระบวนการค้นหาแก่นสาระ (thematic analysis approach)
ผลการวิจัยพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับเทศบาลในจังหวัดหนองคายที่เป็นพื้นที่ศึกษา มีศักยภาพและความสนใจในการเป็นหน่วยในการขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจในท้องถิ่น โดยพิจารณาจากปัจจัยเกื้อหนุน เช่น ระบบนิเวศทางเศรษฐกิจที่เอื้อต่อการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว การมีโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสม ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ด้านเศรษฐกิจ พื้นที่มีความเหมาะสมในเชิงยุทธศาสตร์การค้าชายแดน ประชาชนในพื้นที่มีทักษะการเป็นผู้ประกอบการ เป็นต้น อย่างไรก็ตามท้องถิ่นยังขาดความพร้อมอันเกิดจากข้อจำกัดของการกระจายอำนาจทางการคลังและบทบาทหน้าที่ตามกฎหมายที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขให้รองรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ปรับตัวอย่างรวดเร็ว จึงมีความจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องรีบเร่งให้การเติบโตทางเศรษฐกิจเกิดจากความเข้มแข็งของฐานรากผ่านกลไกการบริหารของท้องถิ่น
Downloads
References
ภาษาไทย
การรถไฟแห่งประเทศไทย. (2565, 20 มกราคม). โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน การพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย. https://www.hsrkorat-nongkhai.com
คณิน พีระวัฒนชาติ. (2561). บทบาทของรัฐบาลท้องถิ่นกับการพัฒนาเศรษฐกิจแบบมีส่วนร่วม.
FOCUSED AND QUICK, (127), 1.
คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (2563). รายงานประจำปี 2563. https://drive.google.com/file/d/14BmG2Pkrkm6Tv6g-RTTQvdIsGNeviPcb/view
จรัส สุวรรณมาลา. (2557). การพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นบนเส้นทางการกระจายอำนาจของไทย. สถาบันพระปกเกล้า, 205-234.
ธนชาติ โชติธนนันท์ และกฤชวรรธน์ โล่วัชรินทร์ (2562). ศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุดรธานี. Journal of Buddhist Education and Research, 5(2), 122-128.
ยุรดา น้อยวังหิน และพีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์ (2564). ศักยภาพและความพร้อมในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดขอนแก่น. Journal of Modern Learning Development, 6(4), 39-48.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. (2540, 11 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 114 ตอนที่ 55 ก. หน้า 16.
สุนทรชัย ชอบยศ. (2561). การบริหารจัดการท้องถิ่นเพื่อการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน กรณีศึกษากลุ่มโรงสีข้าวชุมชนตาบลหนองบัว อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารการเมืองการปกครอง, 8(2),
-32.
ภาษาอังกฤษ
Asher, S., & Novosad, P. (2020). Rural Roads and Local Economic Development. American
Economic Review, 110(3), 797–823. doi:10.1257/aer.20180268
Bailey, J. (1999). Local Government Economics Principle and Practice. (1). London : Macmillan press Ltd.
Di Nauta, P., Merola, B., Caputo, F. et al. (2015). Reflections on the Role of University to
Face the Challenges of Knowledge Society for the Local Economic Development.
J Knowl Econ 9, 180–198 (2018). https://doi.org/10.1007/s13132-015-0333-9
Kline, P., & Moretti, E. (2014). People, Places, and Public Policy: Some Simple Welfare
Economics of Local Economic Development Programs. Annual Review of
Economics, 6(1), 629–662. doi:10.1146/annurev-economics-080213-041024
Rodríguez-Pose, A., & Tijmstra, S. A. R. (2007). Local Economic Development in Sub-
Saharan Africa. Environment and Planning C: Government and Policy, 25(4), 516–536.
doi:10.1068/c5p
Rogerson, C. M. (2016). Climate change, tourism and local economic development in
South Africa. Local Economy, 31(1-2), 322–331. doi:10.1177/0269094215624354
Saito, Fumihiko. (2011). Decentralization. In Mark Bevir (Ed.), The SAGE Handbook of
Governance (pp. 484-500), ibrd.
Oates, W. E. (1999). An Essay on Fiscal Federalism. American Economic Association.
Translated References
Chopyot, S. (2018). Local Governance for the Development of Community Economy: The Case Study of the Group Operating Community Rice Mill in Nongbua Sub-district, Kosumpisai District, Maha Sarakham Province. Journal of Politics and Governance, 8(2), 16-32.
Chotthananan, T. & Lowatcharin, G. (2019). Potentiality of Local Administrative Organizations in Udon Thani Province for Local Economic Development. Journal of Buddhist Education and Research, 5(2), 122-128.
Constitution of the Kingdom of Thailand 1997. (1997, October 11). Thai government gazette. 114 (55), (pp. 16).
Noywunghin, Y. & Kamnuansilpa, P. (2021). The Potentiality and Readyness on Development of Local Administrative Organizations in Khon Kaen Province. Journal of Modern Learning Development, 6(4), 39-48.
Office of the Decentralization to the Local Government Organization Committee. (2020). Annual Report 2020. https://drive.google.com/file/d/14BmG2Pkrkm6Tv6g-RTTQvdIsGNeviPcb/view
Peerawattanachart, K. (2018). The role of local government in participatory economic development. FOCUSED AND QUICK, (127), 1
State Railway of Thailand. (2022, January 20). Cooperation project between the government of the Kingdom of Thailand and the government of the People's Republic of China Development of high-speed rail system to link regions Bangkok - Nong Khai. https://www.hsrkorat-nongkhai.com
Suwanmala, C. (2014). Local economic development on Thailand's Decentralization. In Tanchai, W. (Eds), Balance of Power in Thai Politics. (pp. 205-234). King Prajadhipok’s institute.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.