ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้ารับราชการพลเรือนสามัญ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ธรรมศักดิ์ โชคชัยเจริญพร หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชานโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ, คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ รองศาสตราจารย์, สาขาวิชานโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ, คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้ารับราชการพลเรือนสามัญของนักศึกษาระดับปริญญาตรีเขตกรุงเทพมหานคร เนื่องจากปัจจุบันพบว่าจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ระดับปริญญาตรีมีสัดส่วนในการเลือกเข้ารับราชการพลเรือนสามัญน้อยกว่าที่ควร โดยการศึกษาวิจัย มุ่งเน้นการศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้ารับราชการพลเรือนจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและค้นหาแนวทางการสร้างประสิทธิภาพเพื่อการเสริมหนุนต่อการเลือกเข้ารับราชการพลเรือนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี หรือที่กำลังศึกษาในภาคการศึกษาสุดท้ายของแต่ละหลักสูตรในระดับปริญญาตรีจากสถาบันการศึกษาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ด้วยการสำรวจเชิงปริมาณ ผ่านแบบสอบถาม จำนวนทั้งสิ้น 836 คน และเก็บข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์เชิงคุณภาพ จำนวน 30 คน จากผู้แทนนักศึกษาสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความแตกต่างทางเพศมิได้ส่งผลต่อการเลือกสมัครเข้ารับราชการพลเรือนเมื่อสำเร็จการศึกษา 2) ค่าตอบแทนเป็นปัจจัยจูงใจที่ส่งผลต่อการเลือกสมัครเข้ารับราชการของนักศึกษาสำเร็จการศึกษาใหม่ในระดับสูงสุด 3) ปัจจัยจากความสนใจเฉพาะด้านของตัวนักศึกษาคือแรงขับภายในที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้ารับราชการพลเรือนสามัญ 4) ปัจจัยด้านวิถีชีวิต และวัฒนธรรมการทำงานเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้ารับราชการพลเรือนในระดับรองลงมา 5) ภาครัฐควรเสริมประสิทธิภาพนโยบายการสรรหาบุคคล โดยคำนึงถึงความต้องการที่แท้จริงของแต่ละช่วงวัยเป็นหลัก เพื่อให้ตอบสนองได้ตรงจุด และสามารถดึงดูดบุคคลที่มีความรู้ความสามารถเข้าสู่ภาครัฐ ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงเชิงนโยบาย คือ ภาครัฐควรเน้นการจ่ายค่าตอบแทนที่เหมาะสมสำหรับค่าครองชีพ จัดให้มีสวัสดิการใหม่ ๆ หรือสวัสดิการทางเลือกที่คำนึงถึงความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้งาน และยังคงให้ความสำคัญกับความมั่นคงในการทำงานอย่างต่อเนื่อง

Downloads

Download data is not yet available.

References

ภาษาไทย

จิรประภา อัครบวร. (2565). HR 5.0 งานทรัพยากรมนุษย์ในยุค 5.0 HR 5.0: Digital HR System. กรุงเทพฯ: บริษัทกรกนกการพิมพ์ จำกัด

นิภา แสงศิริ และ วริศรา เหล่าบำรุง. (2556). แรงจูงใจการปฏิบัติงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

หม่อมหลวงพัชรภากร เทวกุล และคณะ. (2563). กำลังคนภาครัฐ 2563 : ข้าราชการพลเรือนสามัญ. กรุงเทพฯ : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงาน ก.พ.

ยุทธศาสตร์สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579)

มาตรการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐ (พ.ศ. 2562-2565) และแนวทางปฏิบัติ (2562). สำนักพัฒนาระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทน สำนักงาน ก.พ.

กำลังคนภาครัฐในฝ่ายพลเรือน 2564. สำนักวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล สำนักงาน ก.พ.

กำลังคนภาครัฐในฝ่ายพลเรือน 2565. สำนักวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล สำนักงาน ก.พ.

ชณัฎฎา อมรวงศ์ไพบูลย์ และ เชี่ยววชาญ อาศุวัฒนกูล (2561). การตัดสินใจเข้ารับราชการของนิสิตชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตบางเขน. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2561)

หงกฤษวรรณ์ ภูเชาวนวิรัตน์ (ไม่ระบุ). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าทำงานในภาครัฐ กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลข้าวงาม อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารโครงการทวิปริญญาทางรัฐประศาสนศาสตร์และบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง

วัชระ สุขประยูร. (2553). ปัจจัยที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจในการสมัครเข้ารับราชการทหาร กองประจำการของพลทหารสื่อสารสังกัดกองพัน ทหารสื่อสาร กองบัญชาการกองทัพไทย. สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รัตนรรห์ ณ นคร. (2554). ปัจจัยในการสร้างแรงจูงใจของพนักงานตรวจสอบบัญชี กรณีศึกษา บริษัทตรวจสอบบัญชีขนาดใหญ่ 4 แห่ง. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อภิณัฏฐ์ ทรัพย์มาก. (2557). ปัจจัยจูงใจบุคลากรในการเลือกประกอบอาชีพรับราชการ โดยเปรียบเทียบกลุ่มที่เข้ารับราชการในช่วงก่อนและหลังการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พัชรินทร์ ชุติพงศ์รุ่งโรจน์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าทำงานกับสำนักงานสอบบัญชีขนาดใหญ่ 4 แห่ง. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นันท์นภัส ก๋งเม่ง. (2561). ปัจจัยที่ทำให้ทหารกองเกินตัดสินใจสมัครเข้าเป็นทหารกองประจำการ.

สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ภาษาอังกฤษ

Herzberg, Frederick et al. (1959). The motivation to work. New York: John Eilley and Sons,Inc.

Holland, John L. (1973). Making Vocational Choice: A Theory Career. New Jersey: Prentice-Hall.

Maslow, A.H. (1970). Motivation and Personality. New York: Harper and Row. Publisher.

McClelland, David C. (1961). The achieving society. Princeton. New Jersey : D. Van Nostrand Co., Inc.

Clayton P. Alderfer. (1972). Existence Relatedness and Growth. New York : Free Press

Translated References

Chiraprapha A. (2022). HR 5.0 HR 5.0: Digital HR System. Bangkok: Kornkanok Printing Company Limited

Nipa S. and Warisara L. (2013). Performance motivation of employees of the Subdistrict Administrative Organization in Lat Yao District, Nakhon Sawan Province. Journal of Humanities and Social Sciences Research and development institute Kamphaeng Phet Rajabhat University

M.L. Patcharapakorn D. et al. (2563). Government manpower 2020: General civil servants. Bangkok : Information and Communication Technology Center, Office of the Civil Service Commission

Strategy of the Office of the Civil Service Commission (OCSC) for a period of 20 years (2017 - 2036)

Government manpower management measures (2019-2022) and guidelines (2019). Office of Position Classification and Compensation System Development, Office of the Civil Service Commission

Government manpower in the civil service 2021. Office of Human Resources Research and Development, Office of the Civil Service Commission

Government manpower in the civil service 2022. Office of Human Resources Research and Development, Office of the Civil Service Commission

Chanadada A. and Cheowachan A. (2018). The decision to enter the civil service of 4th year students at Kasetsart University, Bang Khen Campus. Journal of Interdisciplinary Research: Graduate Studies Edition, Year 7, Issue 1 (Jan - June 2018)

Hongkritwan P. (not specified). Factors influencing the decision to work in the public sector. A case study of Khao Ngam Subdistrict Administrative Organization, Wang Noi District, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. Journal of the Dual Degree Program in Public Administration and Business Administration. Ramkhamhaeng University

Watchara S. (2010). Factors that create motivation to apply for military service A detachment of communications soldiers belonging to the Communications Soldiers Battalion, Royal Thai Armed Forces Headquarters. Master of Arts Thesis Thammasat University

Rattanaran N. (2011). Factors in motivating audit staff. A case study of 4 large auditing companies. Master of Business Administration Thammasat University

Apinat T. (2014). Factors motivating personnel in choosing to pursue a career in government service by comparing groups entering government service before and after the amendment to the Civil Service Act B.E. 2008 of personnel of the Office of the Basic Education Commission. Ministry of Education. Master of Business Administration Thesis Thammasat University

Patcharin C. (2015). Factors affecting the decision to choose to work with 4 large auditing firms. Master of Business Administration Thesis Thammasat University

Nanthapat K. (2018). Factors that make military personnel decide to apply to become active duty soldiers. Master of Political Science Thesis (Public Administration and Public Affairs) Thammasat University

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-21