ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของเศรษฐกิจฐานรากในชุมชน ศึกษากรณี พื้นที่ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • สิรินดา กมลเขต ผู้ช่วยศาสตราจารย์, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, คณะศิลปะศาสตร์, มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • พิมพ์ลิขิต แก้วหานาม ผู้ช่วยศาสตราจารย์, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • จริยา อินทนิล ผู้ช่วยศาสตราจารย์, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • อาริยา ป้องศิริ ผู้ช่วยศาสตราจารย์, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • ปาริชา มารี เคน รองศาสตราจารย์ , สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • โสภณ มูลหา อาจารย์, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • อธิพงษ์ ภูมีแสง อาจารย์, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • พรพิมล พิมพ์แก้ว ผู้ช่วยศาสตราจารย์, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของเศรษฐกิจฐานรากในชุมชน บ้านนาเหนือ หมู่ที่ 14 ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากประชากรและกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 296 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ตอนที่ 1  ได้แก่ ค่าความถี่  และค่าร้อยละ  ตอนที่ 2  ได้แก่ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการศึกษา มีผู้ตอบแบบสอบถาม 116 คน คิดเป็นร้อยละ 39.18 ทุน 5 มิติ ด้านทุนมนุษย์  พบว่า ทักษะที่สร้างรายได้ มีผู้ไม่ตอบมากที่สุด 87 คน คิดเป็นร้อยละ 75.00 ด้านทุนกายภาพ พบว่า ทุกคนมีบ้านของตัวเอง ใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ใช้น้ำประปาของทางเทศบาลเป็นผู้จัดหาให้ ไม่มีปัญหากับพื้นที่ทำกิน จำนวน 116 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ด้านทุนการเงิน  พบว่า รายจ่ายครัวเรือนจะจ่ายเพื่อการบริโภค จ่ายค่าน้ำ-ค่าไฟฟ้า จำนวน 116 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ด้านทุนทรัพยากรธรรมชาติ  พบว่า ได้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการยังชีพ จำนวน 108 คน คิดเป็นร้อยละ 93.10  และด้านทุนทางสังคม พบว่า ชุมชนมีกติกาหรือกฎระเบียบที่ใช้ร่วมกันในชุมชน, ชุมชนมีการจัดการปัญหาความขัดแย้งของชุมชน จำนวน 116 คน  คิดเป็นร้อยละ 100 ส่วนภาพรวมปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อความสำเร็จของเศรษฐกิจฐานรากในชุมชน อยู่ในระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 59.04  (X) =2.91 S.D= 0.75)  และปัจจัยภายใน ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 62.18 (X) =3.09 S.D= 0.77)

Downloads

Download data is not yet available.

References

ภาษาไทย

จักรกริช กวงแหวน. (2560). การเสริมสร้างศักยภาพเศรษฐกิจฐานรากด้วยการจัดการกลุ่มของ มูลนิธิศึกษาพัฒนาชนบท

อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้.สำนักหอสมุด.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2550) เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ : เทพเนรมิตการพิมพ์.

เดโช แสนภักดีและ วิยุทธ์ จำรัสพันธุ์. (2562). ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จของการบริหารจัดการระบบดูแลและส่งเสริม

คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารการบริหารปกครอง (Governance Journal) ปีที่ 8 ฉบับที่ 1

(มกราคม – มิถุนายน 2562)

นงคราญ แก้วมุงคุณ,นิติยา เคหะบาล (2564) การพัฒนาศักยภาพการผลิตเห็ดนางฟ้าแบบมีส่วนร่วมของวิสาหกิจชุมชนธรรม

เกษตรอินทรีย์ บ้านหัวงัว ตำบลสงเปลือย จังหวัดกาฬสินธุ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ฐิติกร หมายมั่น ชำนาญ ทองมาก บัณฑิต รัตนไตร และ ฐานิสร โรจนดิลก. (2566) โมเดลเศรษฐกิจ BCG เพื่อการพัฒนาที่

สมดุลและยั่งยืน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 ประจำเดือน พฤษภาคม - สิงหาคม

ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

Translated References

Chusri Wongratana. (2007). Statistical Techniques for Research. Bangkok: Thepneramit

Publishing.

Decho Saenpukdee and Viyut Chumruspanth. (2019). Factors for the Achievement of the

Geriatric’s Management System and Geriatric’s Life Quality Promotion in

NakhonRatchasima . Governance Journal, 8 (1), January-June 2019.

Jakkarach Kwaengwuan. (2017). Enhancing Grassroots Economy through Group

Management by the Rural Education Development Foundation in

Maerim District, Chiang Mai Province. Master's Thesis, Graduate School, Maejo

University. Library Department.

Nongkran Kaewmungkun and Nitaya Kehabala. (2021). Enhancing Oyster Mushroom Production

Potential through Community-based Organic Agriculture Enterprises in Huangua Village, Song

Plueai Sub-District, Kalasin Province. Article. Buriram Rajabhat University.

Thitikorn Maimun Chamnarn Thongmark Bundith Rattanatai and Thanisorn Rojanadilok . (2023). BCG

Economic Model for Balanced and Sustainable Development. EAU HERITAGE JOURNAL . Social

Science and Humanities. Vol. 13 No. 2 May-August 2023.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-22