ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2565

ผู้แต่ง

  • ฐิติกรณ์รัศมิ์ ภัททสิริภูวดล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจ; การศึกษาต่อระดับปริญญาตรี; คณะรัฐศาสตร์; มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ของนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2565 ประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่รายงานตัวขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา จำนวน 516 คน กลุ่มตัวอย่างใช้กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง มีผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 438 คน คิดเป็นร้อยละ 84.89 เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม (Questionnaire) มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่น (Reliability Analysis) อยู่ที่ 0.81 – 1.00 มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของ Cronbach เท่ากับ 0.91 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ ANOVA ผลการศึกษา พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ที่เลือกศึกษาต่อคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นนักศึกษาที่เลือกยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาในระบบ TCAS รอบที่ 1 โควตาค่ายเยาวชนนักรัฐศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 37.90 (166 คน) รองลงมาคือ TCAS รอบที่ 1 โควตา Portfolio ร้อยละ 29.00 (127 คน) เป็นนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 71.70 (314 คน) รองลงมาคือแผนการเรียนศิลปศาสตร์-ภาษา ร้อยละ 16.00 (70 คน) เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษา พบว่า ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมของสถาบัน เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 4.33, S.D. = 0.564) รองลงมาคือ ด้านหลักสูตร มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 4.25, S.D. = 0.568) ด้านประกอบวิชาชีพ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 4.25, S.D. = 0.562) และด้านคุณภาพและชื่อเสียงของคณะ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 4.22, S.D. = 0.527) ตามลำดับ ส่วนปัจจัยที่ให้ความสำคัญที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านเศรษฐกิจและสังคม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 3.87, S.D. = 0.671) เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อโดยภาพรวมไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มตัวอย่างในทุกด้าน เนื่องจากค่า p-value ของทุกด้านมีค่ามากกว่า 0.05

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

ฐิติกรณ์รัศมิ์ ภัททสิริภูวดล, คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

References

ภาษาไทย

จีรวิทย์ มั่นคงวัฒนะ. (2554). การคิดและการตัดสินใจ. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

ชวลิต ชูกำแพง. (2553). การประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: เอ็ดยูเคชั่น.

ชนินทร์ เลิศประภาภรณ์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 14(3),16-27.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2549). จิตวิทยาทั่วไป. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: จามจุรีโปรดักท์.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2555). การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย: การวัดผลเชิงจิตวิทยา. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร. 463 หน้า.

ปฐมา อาแว และนิยาวาเฮร์ ไพบูลย์. (2563). การตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ปีการศึกษา 2562. วารสารวิชาการ ปขมท. 9(2). 22-23.

ธนวรรณ รักอู่. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษามหาวิทยาลัยในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 6(2), 131-142.

ธนัชพร เลิศเดชเดชา. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 39(3), 16-31.

พรพรรณ เลิศทวีสินธุ์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตภาคเหนือตอนล่าง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยนเรศวร, 17(2), 31-44.

ภานุวัฒน์ สว่างแสง. (2564). แรงจูงใจในการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2561 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (TCAS61). วารสารสาระคาม. 12(1): 154–170.

มยุรี ผาผง. (2552). แรงจูงใจในการตัดสินใจเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี (ระบบพิเศษ) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม. 76 หน้า.

วลัยพร ขันตะคุ, จรัญญา สมอุดร, และนวรัตน์วดี ชินอัครวัฒน์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ปีการศึกษา 2563. วารสาร Journal of Modern Learning Development. 5(4): 28-39.

วิรัช พงศ์นภารักษ์, ธนวรรณแสงสุวรรณ, และ สิริวรรณ เสรีรัตน์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกเข้าศึกษาต่อของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 10(1), 131-147.

วิรัช พงศ์นภารักษ์, สุภาวดี เครือโชติกุล, และธนพล ก่อฐานะ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 11(2), 234-243.

วัชรพงษ์ สุขีวงศ์. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 12(1), 167-178.

ศิริวรรณ สุขด้วง. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษามหาวิทยาลัยสวนดุสิต. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 8(2), 226-237.

สุริยา ฆ้องเสนาะ. (2561). TCAS ระบบการคัดเลือกเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษารูปแบบใหม่. สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2566, จาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=49844&filename=index

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2556). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เสาวลักษณ์ เรียงพรม และอรอุมา ลาสุนนท์. (2559). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตในจังหวัดมหาสารคาม ของผู้สําเร็จการศึกษาในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. วารสารนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 8(3): 69-92.

Translated References

Mankongwattana, J. (2011). Thinking and decision making. Bangkok: Phrik Wan Graphic.

Chukamphaeng, C. (2010). Evaluation of learning outcomes. Bangkok: Education.

Lertprapaporn, C. (2020). Factors influencing the decision to pursue a bachelor's degree among students at a private university in Bangkok. Thonburi University Academic Journal, 14(3), 16-27.

Kitpreedasaburi, B. (2006). General psychology. (4th printing). Bangkok: Chamchuri Products.

Srisathitnarakun, B. (2012). Development and quality checking of research instruments: Psychological measurement. Chulalongkorn University Printing House. Bangkok. 463 pages.

Arwae, P., Paiboon. N. (2019). The decisions on undergraduate studying in Prince of Songkla University, Pattani Campus, Academic year 2019. CUAST Journal, 9(2), 22-23.

Raku, T. (2014). Factors affecting the decision to pursue a bachelor's degree among university students in Ubon Ratchathani province. Ubon Ratchathani Rajabhat University Academic Journal, 6(2), 131-142.

Lertdejdecha, T. (2019). Factors affecting the decision to pursue a bachelor's degree among high school students in Bangkok. University of the Thai Chamber of Commerce Journal of Humanities and Social Sciences, 39(3), 16-31.

Lerttaveesin, P. (2015). Factors affecting the decision to pursue a bachelor's degree among high school students in the lower northern region. Naresuan University Academic Journal, 17(2), 31-44.

Sawangsang, P. (2019). Motivation on decision-making in continuing the undergraduate degree 2018 at the Mahasarakham University. Sarakham Journal, 12(1), January-June 2021.

Phaphong, M. (2009). Motivation for deciding to study at the bachelor's degree level (special system) at a university. Maha Sarakham. Educational Service Division Mahasarakham University. Maha Sarakham. 76 pages.

Khantaku, W., Somudon C., Chinnakarawat, N. (2020). Factors affecting the decision to choose to enter Studying for a bachelor's degree at Suranaree University of Technology, academic year 2020. Journal of Modern Learning Development. 5(4): 28-39.

Pongnaparak, W., Sangsuwan, T., Serirat, S. (2019). Factors affecting the choice of further education among high school students in Bangkok. Srinakharinwirot Business Administration Journal, 10(1), 131-147.

Pongnaparak, W., Kruechotikul, S., Korthana, T. (2019). Factors affecting the decision to pursue a bachelor's degree among students at Rajamangala University of Technology Rattanakosin. Nakhon Pathom Rajabhat University Academic Journal, 11(2), 234-243.

Sukiwong, S. (2018). Factors affecting the decision to pursue studies at the Faculty of Engineering, Rajamangala University of Technology Isan. Nakhon Ratchasima Rajabhat University Academic Journal, 12(1), 167-178.

Sukduang, S. (2017). Factors affecting the decision to pursue a bachelor's degree among students at Suan Dusit University. Phranakhon Rajabhat University Academic Journal, 8(2), 226-237.

Kongsanoh, S. (2018). TCAS a new system for selecting admissions to higher education institutions. Retrieved 17 November 2023, from https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=49844&filename=index

Iamsupasit, S. (2013). Theory and techniques of behavior modification (8th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Riangprom, S., Lasunon, O. (2016). A Study of Factors Effecting the Decision to Study in Bechelor of Engineering Program, Maha Sarakham Province, of the Graduate from Higher Vocational Education. KKUIJ Journal, 8(3) : September - December 2018

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-16