การวิเคราะห์ปัญหาและเปรียบเทียบข้อยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายแข่งขัน ทางการค้าตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560
คำสำคัญ:
การแข่งขัน; กฎหมายแข่งขันทางการค้า; การบังคับใช้กฎหมายบทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ความเป็นมา ปัญหาข้อยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้า ตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 เปรียบเทียบกับต่างประเทศ และเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมในการปรับปรุงกฎหมายเพื่อเป็นการส่งเสริมเรื่องการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม พบว่า (1) ข้อยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้าของแต่ละประเทศ ใช้กับการกระทำของหน่วยงานหรือหน่วยธุรกิจใดนั้น ย่อมเป็นไปตามบริบทของสังคม วัฒนธรรมทางการค้า รวมถึงนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศนั้น ๆ การมีบทบัญญัติในลักษณะนี้ ก็เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมบางอย่างสามารถดำเนินการได้ตามนโยบายภาครัฐ ป้องกันการถูกเอารัดเอาเปรียบ จากผู้ประกอบการที่มีที่ความสามารถในการแข่งขันมากกว่าผู้ประกอบการรายอื่น และยังเป็นการส่งเสริมการแข่งขัน ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย (2) ข้อยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้า ไม่มีมาตรการแนวทางหรือหลักเกณฑ์รองรับที่เหมาะสม ทั้งขาดความเข้าใจถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายอาจก่อให้เกิดปัญหาอันนำไปสู่การบังคับใช้กฎหมายอย่างไร้ประสิทธิภาพ ทำให้การรักษาและส่งเสริมการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม ไม่สามารถบรรลุผลอย่างเป็นรูปธรรมได้ (3) ข้อยกเว้นกฎหมายแข่งขันของประเทศไทยและของต่างประเทศ แม้มีความแตกต่างกันในรายละเอียดตามบริบทของสังคม วัฒนธรรมทางการค้า รวมถึงนโยบายทางเศรษฐกิจ แต่มีจุดมุ่งหมายในการสร้างและส่งเสริมการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรมเช่นเดียวกัน โดยประเทศไทยสามารถนำข้อกฎหมายและหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ของแต่ละประเทศ มาศึกษาและปรับใช้ให้เหมาะสม อันนำไปสู่ประโยชน์สูงสุดแก่สาธารณะชน (4) ข้อยกเว้นกฎหมายแข่งขันของประเทศไทย ต้องมีการวางหลักเกณฑ์การปฏิบัติให้ชัดเจนและเหมาะสม จากหน่วยงานที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการแข่งขันทางการค้าเป็นการเฉพาะ อย่างแท้จริง และปรับตัวบทกฎหมายให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน
Downloads
References
ภาษาไทย
กมลนัยน์ ชลประทิน. (2555). มาตรการทางกฎหมายที่ใช้บังคับในการแข่งขันระหว่างรัฐวิสาหกิจกับเอกชนในธุรกิจสายการบินภายในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชานิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กฤษณ์ วสีนนท์. (2554). หลักการแข่งขันเสรี: ในมิติทางวิชาการกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจ. ใน แทนดอกไม้ ไหว้ครู:รวมบทความวิชาการทางด้านกฎหมาย. กรุงเทพฯ: ส. เจริญ การพิมพ์.
จันทจิรา เอี่ยมมยุรา. (2529). วิสาหกิจมหาชน (รัฐวิสาหกิจ) ในกฎหมายไทย: ศึกษาในเชิงประวัติศาสตร์และเชิงวิเคราะห์ข้อความคิด. (วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชวินทร์ ลีนะบรรจง. (2554). เศรษฐศาสตร์ ติดดิน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ไชยยศ เหมะรัชตะ. (2537). คำอธิบายกฎหมายว่าด้วยการกำหนดราคาสินค้า และการป้องกันการผูกขาดทางการค้า. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.
ณัฐวิช ศิริกาญจน. (2561). ปัญหาการตีความบทบัญญัติว่าด้วยการดำเนินคดีโดยเอกชน ภายใต้พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้าของประเทศไทย. ใน กฎหมายกับเศรษฐกิจ รวมบทความวิชาการเพื่อเป็นเกียรติแด่ ศาสตาจารย์ ดร.ศักดา ธนิตกุล. ม.ป.ท.
วัจน์ธนิศร์ ศรีวิชัย. (2560). แนวทางบังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้าของประเทศไทย: ศึกษากรณีการกระทำของกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์และชุมนุมสหกรณ์ซึ่งมีกฎหมายรับรอง และมีวัตถุประสงค์ดำเนินการทางธุรกิจเพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพของเกษตรกร. (วิทยานิพนธ์ปริญญา
นิติศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชานิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วีรภัทร์ แก้งนอกเขา. (2554). มาตรการทางกฎหมายเพื่อควบคุมการขายพ่วง. (วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศักดา ธนิตกุล. (2553). คำอธิบายและกรณีศึกษาพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.
สาธิตา วิมลคุณารักษ์. (ม.ป.ป.). การเปรียบเทียบกฎหมายแข่งขันทางการค้าในประเทศไทยและสิงคโปร์
(The Comparative Study of Competition Law in Thailand and Singapore). ม.ป.ท.
สำนักงานผู้แทนราษฎร. (2562). ความมุ่งหมายและคำอธิบายประกอบรายมาตรารัฐธรรมนูญแห่ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ. (2559). เอกสารประกอบการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ..... กรุงเทพฯ :สำนักกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
สิพิม วิวัฒนวัฒนา และอาร์ม ตั้งนิรันดร. (2561). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายแข่งขันทางการค้าของประเทศสิงคโปร์. ใน กฎหมายกับเศรษฐกิจ รวมบทความทางวิชาการเพื่อเป็นเกียรติแด่ศาสตราจารย์ ดร.ศักดา ธนิตกุล ครูของ ฬ ศักดา 60 ปี. ม.ป.ท.
สุธีร์ ศุภนิตย์. (2555). หลักกฎหมายและกฎเกณฑ์พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อนันต์ คงเครือพันธุ์. “แง่คิดในการพิจารณาคดีปกครองที่เกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะ”, ค้นคืน 16 ตุลาคม 2565, จาก https://www.admincourt.go.th/admincourt/upload/webcms/Academic/Academic_270217_144631.pdf
ภาษาอังกฤษ
Debora Healey. (2012). Application of Competition Law to Government in Asia: The Singapore story. KLRI Journal of Law and Legislation, 2, 86-89.
Federal Trade Commission. “The Antitrust Laws”, Retrieved August 8, 2023 from: https://www.ftc.gov/tips-advice/competition-guidance/guide-antitrust-laws/antitrust-laws
Oyez. “United States Postal Service v. Flamingo Industries (USA), Limited”, Retrieved December 13, 2022 from: https://www.oyez.org/cases/2003/02-1290
The Competition Commission of Singapore. “Frequently Asked Questions”, Retrieved September 15, 2022 from: https://www.cccs.gov.sg/faq/competition-act-and-government-agencies
Translated References
Anan Kongkruephan. “Thoughts on Administrative Cases Concerning the Public Interest”, retrieved 16 October 2022, from
https://www.admincourt.go.th/admincourt/upload/webcms/Academic/Academic_270217_144631.pdf
Chaiyot Hemaratchata. (1994). Explanation of the law on product pricing. and prevention of trade monopolies. Bangkok: Rule of law.
Chantjira Iammayura. (1986). Public enterprises. (State enterprises) in Thai law: a historical and analytical study of thought texts. (Master of Laws Thesis). Field of study: Law Thammasat University.
Chawin Leenabanjong. (2011). Down-to-earth economics. 2nd edition. Bangkok: Thammasat University Press.
Kamonnai Cholaprathin. (2012). Legal measures applicable to competition between state enterprises and private enterprises in the airline business within Thailand. (Master of Laws Thesis). Field of study: Law Chulalongkorn University.
Krit Wasinon. (2011). Principles of free competition: in the academic dimension of public economic law. In "Than flowers to pay homage to teachers: collection of academic articles on the law". Bangkok: S. Charoen Publishing.
Nattawit Sirikanchana. (2018). Problems in interpreting provisions regarding private litigation. Under the Trade Competition Act of Thailand. In Law and Economy A collection of academic articles in honor of Professor Dr. Sakda Thanitkul, M.P.T.
Office of the Secretariat of the National Legislative Assembly. (2016). Documents supporting the consideration of the draft Trade Competition Act B.E..... Bangkok: Legal Office, Office of the Secretariat of the Senate.
Office of the People's Representative (2019). Purpose and annotated sections of the Constitution of the Kingdom of Thailand 2017. Bangkok: Office of the Secretariat of the House of Representatives.
Sakda Thanitkul. (2010). Explanation and case study of the Trade Competition Act B.E. 2542. 2nd printing. Bangkok: Winyuchon Publishing House.
Sathita Wimonkunarak. (The Comparative Study of Competition Law in Thailand and Singapore).
Sipim Wiwattanawatana and Arm Tangnirundon. (2018). Basic knowledge of Singapore's trade competition law. In Law and Economy Collection of academic articles in honor of Professor Dr. Sakda Thanitkul, teacher of L Sakda, 60 years, M.P.T.
Suthee Suphanit. (2012). Legal principles and rules of the Trade Competition Act 1999. Bangkok: Thammasat University Press.
Watthanit Sriwichai. (2017). Guidelines for enforcing trade competition laws in Thailand: A study of the case of actions of farmer groups. Cooperatives and cooperative associations which are recognized by law and has the objective of conducting business for the benefit of farmers' occupations. (Master of Laws Thesis). Field of study: Law Chulalongkorn University.
Weerapat Kaengnokkhao. (2011). Legal measures to control the sale of trailers. (Master of Laws Thesis). Field of study: Law Thammasat University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.