การเปลี่ยนแปลงของขั้วอำนาจทางการเมือง การย้ายพรรคการเมือง เปรียบเทียบผลการเลือกตั้ง ปี 2566 และ 2562
คำสำคัญ:
ขั้วอำนาจทางการเมือง; การย้ายพรรคการเมือง; อุบลราชธานีบทคัดย่อ
การเปลี่ยนแปลงของขั้วอำนาจทางการเมือง การย้ายพรรคการเมือง ค้นพบว่า การเลือกตั้งวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 มีผู้สมัครที่ย้ายพรรคการเมือง หรือเปลี่ยนแปลงขั้วอำนาจทางการเมืองจากพรรคต่างๆ สามารถประสบความสำเร็จชนะการเลือกตั้งถึง 4 เขตเลือกตั้ง จากทั้งหมด 11 เขตเลือกตั้ง คิดเป็นร้อยละ 36.36 ได้แก่ (1) นางสาวแนน บุณย์ธิดา สมชัย พรรคภูมิใจไทย (ย้ายจากพรรคประชาธิปัตย์) เขตเลือกตั้งที่ 8 อ.พิบูลมังสาหาร (ยกเว้น ต.ระเว และ ต.ทรายมูล) อ.สว่างวีระวงศ์ อ.นาเยีย นางสาวแนน บุณย์ธิดา สมชัย พรรคภูมิใจไทย ได้คะแนน 31,773 คะแนน อันดับสอง นายเอกพล ญาวงค์ (ตุ๊) (สจ.ตุ๊เอกพล ญาวงค์) พรรคเพื่อไทย ได้คะแนน 27,893 คะแนน (2) นายสุทธิชัย จรูญเนตร พรรคภูมิใจไทย (เดิมพรรคพลังประชารัฐ) อดีต สส.พรรคเพื่อไทย ปี 2554 ก่อนจะย้ายมาสังกัดพรรคพลังประชารัฐ และพรรคภูมิใจไทยตามลำดับ เขตเลือกตั้งที่ 5 อ.ตระการพืชผล อ.กุดข้าวปุ้น นายสุทธิชัย จรูญเนตร พรรคภูมิใจไทย ได้คะแนน 44,121 คะแนน อันดับสอง นายรัฐกิตติ์ ผาลีพัฒน์ พรรคเพื่อไทย ได้คะแนน 30,596 คะแนน อันดับสาม นายเพทาย ศรีสวัสดิ์ พรรคก้าวไกล ได้คะแนน 12,050 คะแนน (3) นางสาวตวงทิพย์ จินตะเวช พรรคภูมิใจไทย (เดิมพรรคพลังประชารัฐ) เขตเลือกตั้งที่ 11 อ.เดชอุดม (ยกเว้น ต.ทุ่งเทิง) นางสาวตวงทิพย์ จินตะเวช พรรคภูมิใจไทย (เดิมพรรคพลังประชารัฐ) ได้คะแนน 43,797 คะแนน อันดับสอง นายเอกชัย ทรงอำนาจเจริญ พรรคเพื่อไทย ได้คะแนน 24,288 คะแนน อันดับสาม นายพิทักษ์ชัย จิตจันทร์ พรรคก้าวไกล ได้คะแนน 13,063 คะแนน และอับดับสี่ นายสุริยา ขันอาสา พรรคไทยสร้างไทย ได้คะแนน 4,833 คะแนน (4) นางรำพูล ตันติวณิชชานนท์ พรรคไทยสร้างไทย (เดิมพรรคพลังประชารัฐ) เขตเลือกตั้งที่ 9 อ.บุณฑริก อ.นาจะหลวย อ.สิรินธร (เฉพาะ ต.โนนก่อ) นางรำพูล ตันติวณิชชานนท์ พรรคไทยสร้างไทย ได้คะแนน 31,311 คะแนน อันดับสอง นายประภูศักดิ์ จินตะเวช พรรคเพื่อไทย ได้คะแนน 30,851 คะแนน อันดับสาม พันจ่าอากาศเอก บรรจง อินทร์ขาว พรรคก้าวไกล ได้คะแนน 12,105 คะแนน และอันดับสี่ นางสาวน้ำตาล พวงลาภ พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้คะแนน 1,613 คะแนน ซึ่งแตกต่างจากการเลือกตั้ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 ที่พบว่าการเปลี่ยนแปลงขั้วอำนาจทางการเมือง การย้ายพรรคการเมือง จากพรรคเพื่อไทยไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐประสบความล้มเหลวทั้งหมด ไม่ได้รับการเลือกตั้งแม้แต่รายเดียว ไม่ว่าจะเป็น นางสาวโยธากาญจน์ ฟองงาม พรรคพลังประชารัฐ (บุตรสาวนายสุพล ฟองงาม อดีต สส.อุบลราชธานี และอดีตเลขาธิการพรรคเพื่อไทย) นายเชิดศักดิ์ โภคกุลกานนท์ บุตรชายของนายอดิศักดิ์ โภคกุลกานนท์ (อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย) หรือนายสุทธิชัย จรูญเนตร อดีต สส.พรรคเพื่อไทย ปี พ.ศ. 2554 เป็นต้น
Downloads
References
ภาษาไทย
ประเทือง ม่วงอ่อน. (2563). การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดอุบลราชธานี. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
ประเทือง ม่วงอ่อน. (2565). การศึกษาพฤติกรรมการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุบลราชธานี (ในการเลือกตั้งวันที่ 20 ธันวาคม 2563) และนายกเทศมนตรีนครอุบลราชธานี (ในการเลือกตั้งวันที่ 28 มีนาคม 2564) และผลกระทบการเลือกตั้งภายใต้พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562. อุบลราชธานี : คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ประเทือง ม่วงอ่อน. (2567). การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2566 จังหวัดอุบลราชธานี. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
วุฒิพงษ์ นามบุตร. (2566). สส. เขต 2 (จ.อุบลราชธานี) พรรคประชาธิปัตย์. สัมภาษณ์, 22 กุมภาพันธ์ 2566.
อิสสระ สมชัย. (2566). อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์. สัมภาษณ์, 5 กุมภาพันธ์ 2566.
Translated References
Moung-On, P. (2020). Political movement and voting behaviors of members of Thailand's House of Representativesin 2019 Ubon Ratchathani. Bangkok : King Prajadhipok's Institute.
Moung-On, P. (2022). Political movement and voting behaviors of Chief Executive of the PAO in Ubon Ratchathani (On the 20th of December 2020) and the Election of the Mayor and Municipal Council Members in Ubon Ratchathani (On the 28th of March 2021) and the impacts of the Election of Members of Local Assemblies or Local Administrators Act B.E. 2562 (2019). Ubon Ratchathani : Faculty of Political Science, Ubon Ratchathani University.
Moung-On, P. (2024). Political movement and voting behaviors of members of Thailand's House of Representativesin 2023 Ubon Ratchathani. Bangkok : King Prajadhipok's Institute.
Numbutr, W. (2023). Members of Thailand's House of Representatives, Constituency 2 in Ubon Ratchathani. Interview, 22 February 2023.
Somchai, I. (2023). Former Ministry of Social Development and Human Security, Former Deputy Party leader of Democrat Party. Interview, 5 February 2023.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.