พุทธศาสนาเชิงบูรณาการกับการแก้ปัญหาจากระบบอุปถัมภ์ในสังคมไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความจริงของสังคมไทยวันนี้ “ระบบอุปถัมภ์” คอยช่วยเหลือผู้ที่เป็นพวกพ้องหรือผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้ที่ให้ผลประโยชน์แก่กันโดยมิชอบ จึงทำให้เกิดตรรกะวิบัติ และวาทกรรมที่ปรากฏพบในระบบอุปถัมภ์ของสังคมไทยยุคปัจจุบัน เช่น “ค่าของคนอยู่ที่คนของใคร” “เก่งไม่กลัวแต่กลัวเส้น” “สอบคัดเลือกเป็นพิธี” “มีตัวแล้วอย่ามาเสียเวลา” “เด็กของใคร” “โง่ จน เจ็บ” “มีเงินสามารถใช้ผีโม่แป้งได้” ฯลฯ ส่งผลให้วิถีชีวิตทางโลกและทางธรรม มีความสมดุลเท่ากันไม่ว่าคนๆ นั้นจะมีบทบาทในทางโลกหรือทางธรรม เพราะความโลภเป็นเหตุจึงเกิดอาการ “ความโลภบังตา ตัณหาบังใจ” ค่อยๆ จมลงไปในหล่ม คือความอยาก จนยากจะถอนตัวขึ้นจากหล่ม คือกิเลสได้ ค่านิยมในระบบอุปถัมภ์กลับกลายเป็นการควบคุมพฤติกรรมระบบอุปถัมภ์ระหว่าง “ผู้ให้” กับ “ผู้รับ”
หลักพุทธธรรมในทางพระพุทธศาสนา เป็นสัจธรรมอันประเสริฐ ทนต่อการพิสูจน์ทุกกาลทุกสมัย เป็นเนยยานิกธรรม สามารถน้อมนำผู้ประพฤติให้พ้นทุกข์ ประสบสันติสุขได้จริง ปัญหาไม่เกิดจากระบบ และกลุ่มชนที่ปฏิบัติธรรม เพราะพระพุทธเจ้าตรัสว่า “ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ - ธรรมยอมรักษาผู้ปฏิบัติธรรม” ปัญหาทุกอย่างแก้ได้ด้วยหลักพุทธธรรม อยู่ที่ผู้นำ ผู้บังคับบัญชา และผู้ใต้บังคับบัญชา หรือ ผู้อุปถัมภ์และผู้รับอุปถัมภ์จะมีจิตสำนึกและมีหิริโอตัปปะมากน้อยเพียงใด เพื่อหยุดยั้งความ “โลภ” “ตัณหา” “กิเลส” การแก้ปัญหาจากระบบอุปถัมภ์ด้วยการรู้และเข้าถึงแนวทางการแก้ไขจากการใช้หลักสัปปุริสธรรม 7 หลักอิทธิบาท 4 หลักฆราวาสธรรม 4 หลักโลกปาลธรรม 2 และราชสังคหวัตถุ 4 เป็นต้น
Article Details
* กองบรรณาธิการทรงไว้ซึ่งสิทธิในการพิจารณาและตัดสินการลงตีพิมพ์ในวารสาร
** ทัศนะและข้อคิดเห็นที่ปรากฎในบทความต่าง ๆ ของวารสารเป็นของผู้เขียน มิใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ
และมิใช่ความรับผิดชอบของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่