ผลการใช้คำถามตามแนวคิดของบลูม (BLOOM) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Main Article Content

กฤษณา สมบัติ

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ก่อนและหลังจากจัดการเรียนการสอนโดยการใช้คำถามตามแนวคิดของบลูม และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยการใช้คำถามตามแนวคิดของบลูม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย  คือนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จำนวน 50 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยการใช้คำถามตามแนวคิดของบลูม (Bloom) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์สูงขึ้นหลังจากได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยการใช้คำถามตามแนวคิดของบลูมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.001 และ 2) ความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยการใช้คำถามตามแนวคิดของบลูมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.72) 

Article Details

บท
Research Articles