ความคาดหวังต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวไทยภายใต้แคมเปญ“Amazing New Chapters” กรณีนักท่องเที่ยว เยอรมัน สหราชอาณาจักร อินเดีย (GEI) ยุควิถีปกติใหม่ -
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะด้านประชากรศาสตร์ของนักท่องเที่ยวเยอรมัน สหราชอาณาจักร อินเดีย 2) ศึกษาความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว เยอรมัน สหราชอาณาจักร อินเดีย ที่มีต่อสถานการณ์ในประเทศไทยเพื่อหาแนวโน้มของนักท่องเที่ยว GEI ที่ต้องการเดินทางมาเยือนประเทศไทยในอีก 2 ปี และ 3) ศึกษาความแตกต่างระหว่าง เพศ อายุ รายได้ กับความพึงพอใจต่อการพักผ่อน ในประเทศไทยของนักท่องเที่ยวชาวเยอรมัน สหราชอาณาจักร อินเดีย (GEI) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวเยอรมัน สหราชอาณาจักร อินเดีย โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ค่าความคลาดเคลื่อน 5% ซึ่งขนาดกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยประเทศละ 400 คน การทดสอบค่าเฉลี่ยของ 2 กลุ่มตัวอย่าง (Independent-sample t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักท่องเที่ยวเยอรมัน สหราชอาณาจักร อินเดีย มีอายุระหว่าง 21- 40 ปี มีสถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 52 และ 54 ตามลำดับ ในขณะที่นักท่องเที่ยวอินเดีย ร้อยละ 59.5 มีสถานภาพโสด ส่วนร้อยละ 70 ของนักท่องเที่ยวเยอรมัน และสหราชอาณาจักร มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป 2) นักท่องเที่ยวอินเดียมีแนวโน้มกลับมาเยือนประเทศไทยในอีก 2 ปีข้างหน้ามากที่สุด และความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว เยอรมัน สหราชอาณาจักร อินเดีย รับรู้ถึงความคาดหวังอย่างสูงต่อการเดินทางมาประเทศไทยในยุควิถีปกติใหม่ และ 3) นักท่องเที่ยวชาวเยอรมัน (ร้อยละ 49) สหราชอาณาจักร (ร้อยละ 48.5) และอินเดีย (ร้อยละ 89) รับรู้ว่าสถานที่ท่องเที่ยวของไทยอยู่ในระดับดีกว่าประเทศใกล้เคียงในเอเชีย ด้วยเหตุผลนี้จึงทำให้นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะเดินทางกลับเข้ามาท่องเที่ยวประเทศไทยอีก ซึ่งปัจจัยดังกล่าวสามารถสร้างความยั่งยืนให้กับการการท่องเที่ยวของไทยได้
Article Details
* กองบรรณาธิการทรงไว้ซึ่งสิทธิในการพิจารณาและตัดสินการลงตีพิมพ์ในวารสาร
** ทัศนะและข้อคิดเห็นที่ปรากฎในบทความต่าง ๆ ของวารสารเป็นของผู้เขียน มิใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ
และมิใช่ความรับผิดชอบของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่