ความสามารถในการปรับตัวของนักศึกษาชาติพันธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสามารถในการปรับตัว และความต้องการการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยในการสร้างเสริมความสามารถในการปรับตัวของนักศึกษาชาติพันธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชาติพันธุ์ที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 และ 2 ในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จำนวน 120 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาชาติพันธุ์ที่กำลังศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่มาจากหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีจำนวนมากที่สุด ได้แก่ ปกาเกอะญอ และม้ง มีภูมิลำเนาจากจังหวัดต่าง ๆ ในภาคเหนือตอนบน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอนมากที่สุด โดยเหตุผลในการเลือกเรียนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ คือ มีสาขาวิชาให้เลือกเรียนได้ตามความต้องการ ค่าเทอมไม่สูงมาก การเรียนการสอนมีคุณภาพ และที่ตั้งของมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ไม่ไกลจากภูมิลำเนาเดิม ตามลำดับ ในประเด็นความสามารถในการปรับตัวของนักศึกษาชาติพันธุ์ พบว่านักศึกษามีความสามารถในการปรับตัวโดยรวมในระดับปานกลาง ( =2.83) เมื่อจำแนกความสามารถในการปรับตัวเป็นรายด้านเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ย ได้แก่ ด้านความรู้สึกต่อสถานศึกษา ( =2.97) รองลงมาคือด้านสังคม ( =2.96) ด้านการเรียน ( =2.82) และด้านอารมณ์-ส่วนบุคคล ( =2.62) ตามลำดับ ในส่วนของความต้องการการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พบว่านักศึกษาจำนวนมากที่สุดต้องการให้มหาวิทยาลัยมีงานพิเศษที่หลากหลายให้นักศึกษาชาติพันธุ์ได้ทำเพื่อหารายได้ระหว่างเรียน รองลงมาต้องการให้มหาวิทยาลัยมีการปรับพื้นฐานทางด้านภาษาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่เหมาะสมกับนักศึกษาชาติพันธุ์ มีกิจกรรมให้นักศึกษาชาติพันธุ์ได้ทำร่วมกัน มีชมรมนักศึกษาของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ ตามลำดับ
Article Details
* กองบรรณาธิการทรงไว้ซึ่งสิทธิในการพิจารณาและตัดสินการลงตีพิมพ์ในวารสาร
** ทัศนะและข้อคิดเห็นที่ปรากฎในบทความต่าง ๆ ของวารสารเป็นของผู้เขียน มิใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ
และมิใช่ความรับผิดชอบของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่