การออกแบบฉากและเครื่องแต่งกายประกอบการแสดงละครไซอิ๋ว ตอนศึกนางพญาแมงมุม

Main Article Content

Pattrasil Sugansil

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาการออกแบบฉากและเครื่องแต่งกายประกอบการแสดงละครไซอิ๋ว ตอนศึกนางพญาแมงมุม ซึ่งเป็นการวิจัยสร้างสรรค์ละครข้ามวัฒนธรรม เรื่อง ไซอิ๋ว ของไกรลาส จิตร์กุล และคณะ โดยมีแนวคิดในการสร้างสรรค์ดังนี้ 1) ใช้สัญลักษณ์ทางพุทธศาสนาที่แฝงอยู่ในวรรณกรรมเรื่องไซอิ๋วในการจัดทำฉากและเครื่องแต่งกาย 2) ใช้สัญลักษณ์ทางศิลปะจีน     ลงในการออกแบบฉากและการออกแบบเครื่องแต่งกาย ผลการศึกษาพบว่า ผู้เขียนได้กำหนดทิศทางการออกแบบโดยการใช้สัญลักษณ์ทางพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรมจีน เพื่อสร้างองค์ประกอบภาพของการแสดงละครไทยร่วมสมัย

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ไกรลาส จิตร์กุล, สุนิษา สุกิน, และ ปรเมศวร์ สรรพศรี. (2562). รายงานการวิจัยเรื่องไซอิ๋ว: การสร้างสรรค์ละครข้ามวัฒนธรรม. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

กฤษรา (ซูไรมาน) วริศราภูริชา. (2551). งานฉากละคร 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เขมานันทะ. (2554). ลิงจอมโจก ไขความปริศนาธรรมในไซอิ๋ว. กรุงเทพฯ: พิมพ์คำ.

จรัสศรี จิรภาส. (2547). ซุนหงอคง (ฉีเทียนต้าเสิ้ง) ลิงในวรรณกรรมที่กลายเป็นเทพเจ้า. กรุงเทพฯ: มติชน.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ (ปี 2559). กรุงเทพฯ: มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพ พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต).

ฤทธิรงค์ จิวากานนท์. (2550). รายงานการวิจัยเรื่องเก่าเล่าใหม่ 3 : การกำกับศิลป์สำหรับละครร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาศิลปการละคร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิวัฒน์ ประชาเรืองวิทย์. (2559). เทพนิยายไซอิ๋ว บันทึกทัศนาจรชมพูทวีป เล่ม 1-4. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.

สุรพล วิรุฬรักษ์. (2547). หลักการแสดงนาฏศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โหง่ว เส็ง อึง. (2547). ไซอิ๋ว. นนทบุรี: ศรีปัญญา.