ความสำคัญของงานประวัติศาสตร์และโบราณคดีต่อการจัดการมรดกทางวัฒนธรรม: กรณีศึกษาแผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่าพะเยา

Main Article Content

วิชญา มาแก้ว

บทคัดย่อ

บทความนี้ ต้องการนำเสนอประเด็นบทบาทของงานศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์-โบราณคดี ที่มีส่วนสำคัญต่อการจัดทำแผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่า โดยใช้กรณีตัวอย่างจากประสบการณ์การมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่าพะเยา จากการศึกษาพบว่าเมืองเก่าพะเยาขาดแคลนแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมเชิงกายภาพ ทั้งอาคารสถาปัตยกรรมและโบราณสถานที่ส่วนใหญ่ผ่านการบูรณะปฏิสังขรณ์จนห่างไกลจากรูปแบบดั้งเดิม อย่างไรก็ตาม เมืองเก่าพะเยา กลับอุดมด้วยข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาสตร์-โบราณคดี อาทิ เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ โบราณวัตถุ ประติมากรรม ศิลาจารึก และโดยเฉพาะร่องรอย “เวียง” หรือชุมชนโบราณที่มีคูคันดินล้อมรอบ อันเป็นผลจากการศึกษารวบรวมและเก็บรักษาตลอดจนการเผยแพร่ความรู้ของปราชญ์ท้องถิ่นและนักวิชาการ ซึ่งส่งผลต่อเนื่องให้คนในท้องถิ่นมีสำนึกร่วมต่ออดีตของเมืองเก่าค่อนข้างสูง เมืองเก่าพะเยาจึงโดดเด่นด้วยการนำองค์ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี มาต่อยอดในการจัดทำแผนแม่บทและผังแม่บท ซึ่งจะมีส่วนช่วยสร้างอัตลักษณ์ของเมืองและนำไปสู่การพัฒนาอย่างสร้างสรรค์ทั้งในเชิงสังคมและเศรษฐกิจต่อไปในอนาคต โดยมีวัฒนธรรมและองค์ความรู้ทางวิชาการเป็นฐานสำคัญ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมศิลปากร. (2547). รายงานการขุดค้น เมือง กำแพงเมือง เวียงลอ (หลุมขุดค้นที่ 1-8). น่าน: สำนักศิลปากรที่ 7 น่าน. (เอกสารอัดสำเนา).

กรมศิลปากร. (2560). รายงานการขุดค้นทางโบราณคดี กำแพงเมืองคูเมืองเวียงพะเยา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา โครงการสืบค้นข้อมูลทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีกำแพงเมืองเวียงพะเยา. เชียงใหม่: สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ กรมศิลปากร.

กรมศิลปากร. (2560). รายงานการขุดค้นทางโบราณคดีเวียงพะเยาเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการออกแบบปรับปรุงภูมิทัศน์กำแพงเมืองคูเมืองเวียงพะเยา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. เชียงใหม่: สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ กรมศิลปากร.

กรมศิลปากร. (2561). รายงานการปรับปรุงและขุดค้นขุดแต่งทางโบราณคดี โบราณสถานบ้านร่องไฮ ตำบลแม่ใส อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา. เชียงใหม่: สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ กรมศิลปากร.

เกรียงไกร เกิดศิริ. (2562). เมืองเก่าในประเทศไทยและแนวคิดภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์กับการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า. ใน เอกสารประกอบการประชุมสัมมนาวิชาการ คณะอนุกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า ครั้งที่ 2 เมืองเก่า กับบริบทสังคมร่วมสมัย. วันที่ 26 เมษายน 2562 ณ ห้องฟีนิกซ์ 4 - 6 อิมแพ็ค เมืองทองธานี นนทบุรี.

เกรียงศักดิ์ ชัยดรุณ. (2552). จารึกที่ค้นพบใหม่ในเมืองพะเยา. พะเยา: หอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมคำ.

เกรียงศักดิ์ ชัยดรุณ. (2554). วัดโบราณในเมืองพะเยา. พะเยา: หอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมคำ.

เกรียงศักดิ์ ชัยดรุณ. (2556). จดหมายเหตุเมืองพะเยา. พะเยา: หอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมคำ.

เกรียงศักดิ์ ชัยดรุณ. (2558). ย่านเก่าเมืองเก่าในเมืองพะเยา. พะเยา: หอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมคำ.

เฉลิมวุฒิ ต๊ะคำมี. (2557). ตำนานพื้นเมืองพะเยา. เชียงใหม่: นครพิงค์การพิมพ์.

บุษกร หนูนิล. (2530). การศึกษาเมืองโบราณบ้านประตูชัย ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า พ.ศ. 2546. (2546, 26 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 120 ตอน พิเศษ 37 ง. 8-13.

วราวุธ ศรีโสภาค. (2533). การศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของกลุ่มชนโบราณที่มีคู-คันดินล้อมรอบในบริเวณเมืองพะเยา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วราวุธ ศรีโสภาค. (2538). ชุมชนโบราณที่มีคู-คันดินล้อมรอบในลุ่มน้ำแม่อิง: การศึกษาเชิงภูมิศาสตร์การตั้งถิ่นฐานและความสัมพันธ์ในระบบ โครงสร้างสังคมเมือง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2532). พระพุทธรูปหินทรายสกุลช่างพะเยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2562). แผนที่มรดกทางวัฒนธรรมบริเวณเมืองเก่าพะเยา. พะเยา: สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดพะเยา.

ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2562). แผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่าพะเยา. พะเยา: สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดพะเยา.

สรัสวดี อ๋องสกุล. (2561). ประวัติศาสตร์ล้านนาฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

สรัสวดี อ๋องสกุล. (2566). ประวัติศาสตร์ล้านนา. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.

สายันต์ ไพรชาญจิตร์. (2555). อารยะพะเยาที่แหล่งเตาเวียงบัว. กรุงเทพฯ: สมาพันธ์.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2554). ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ์ พัฒนา และบริหารจัดการเมืองเก่า เล่มที่ 1 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเมืองเก่าในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2559). โครงการกำหนดขอบเขตพื้นที่เมืองเก่า เมืองเก่าพะเยา. กรุงเทพฯ: สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (บก.). (2538). ประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมเมืองพะเยา. กรุงเทพฯ: มติชน.

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (บก.). (2538). ประชุมจารึกเมืองพะเยา. กรุงเทพฯ: ศิลปวัฒนธรรม.