การใช้ประโยชน์จากยางรักในการอนุรักษ์ศิลปกรรมในล้านนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์จากยางรักในงานศิลปกรรมล้านนา และเพื่อศึกษากระบวนการอนุรักษ์งานศิลปกรรมล้านนา ผลการศึกษาพบว่า แหล่งผลิตน้ำยางรักที่นำมาใช้ในการอนุรักษ์ส่วนมากมาจากภาคเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะในเขตพื้นที่อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดแม่ฮ่องสอน แต่บางครั้งกรณียางรักในท้องถิ่นไม่เพียงพอกับการใช้งานช่างจะซื้อน้ำยางรักดิบมาจากประเทศพม่าอีกด้วย ยางรักนำมาใช้ประโยชน์ในงานด้านศิลปกรรมในฐานะตัวยึดติดแผ่นทองคำเปลว (กาว) ในการปิดประดับทองคำเปลว เงินเปลว ผงทอง ผงโลหะมีค่าต่าง ๆ เป็นวัสดุสมัยใหม่ที่นำมาปรับประยุกต์ใช้ในกระบวนการอนุรักษ์ เรียกว่า “งานลงรักปิดทอง” ในล้านนางานลงรักปิดทองแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ งานปิดทองทึบ (ลงรักปิดทองผิวเกลี้ยง) งานปิดทองล่องชาด (การทำลวดลายต่าง ๆ ที่เป็นทองคำเปลวบนพื้นสีแดงชาด ด้วยเทคนิคแม่พิมพ์ลายฉลุที่วางแม่พิมพ์ลงบนพื้นชาดแล้วปิดทอง หรือ การลงรักปิดทองบนลวดลายที่เกิดจากการปั้น แกะสลัก เพื่อให้เกิดเป็นลายนูนและพื้นหลังลึกจะลงรักปิดทองเฉพาะส่วนที่นูน และทาสีแดงลงในร่องลึก) และ งานปิดทองลายฉลุ (ใช้วิธีการตอกลาย เจาะกระดาษเป็นต้นแบบลวดลายต่าง ๆ แล้วนำแบบที่ตอกฉลุไปทาบนพื้นสีต่าง ๆ ที่มีความเหนียวพอเหมาะต่อการปิดทองคำเปลว) ในกระบวนการอนุรักษ์ครั้งนี้ พบว่า ช่างใช้วิธีการอนุรักษ์ด้วยวิธี “งานปิดทองทึบ” และ “งานปิดทองล่องชาด” เพื่อให้ศาสนสถานและศาสนวัตถุมีความคงทน สามารถใช้ประโยชน์ได้ยาวนานขึ้น นอกจากนี้พบว่ามีการนำยางรักมาใช้กับงานศิลปกรรมด้านพระพุทธศาสนา ได้แก่ งานลงรักบนขอบใบลาน อีกทั้งมีความเชื่อทางพระพุทธศาสนาว่าการปิดทองทำเพื่อให้เกิดความสวยงามและเพิ่มความศรัทธา จัดเป็นพุทธบูชา โดยเชื่อว่าการปิดทองพระพุทธรูปทำให้ได้บุญกุศลในสุคติภพ มีผิวพรรณดี และเป็นวิธีการทำบุญกุศล ที่อาศัยการร่วมมือร่วมใจกันจากพุทธศาสนิกชนทุกคน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
* กองบรรณาธิการทรงไว้ซึ่งสิทธิในการพิจารณาและตัดสินการลงตีพิมพ์ในวารสาร
** ทัศนะและข้อคิดเห็นที่ปรากฎในบทความต่าง ๆ ของวารสารเป็นของผู้เขียน มิใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ
และมิใช่ความรับผิดชอบของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
References
กรมศิลปากร. (2567) งานช่างปิดทองบนพื้นเรียบ (ปิดทองทึบ). สืบค้นจาก https:// www.finearts.go.th/storage/contents/detail_file/VRNWLMkvkbHlu46YmNWVF9XnU8uEt9pDyzQt57S.pdf
กระทรวงวัฒนธรรม. (2551). สัมมนาวิชาการ ศึกษายางรักเพื่อการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
เกียรติศักดิ์ ไชยเมืองชื่น. (9 กุมภาพันธ์ 2567). สัมภาษณ์.
แกมมณี เจริญวงศ์. (2553). การศึกษายางรักจากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (รายงานการวิจัย ฉบับที่ 271). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยพายัพ.
จักริน สานุวิตร์. (9 กุมภาพันธ์ 2567). สัมภาษณ์.
ฉลองเดช คูภานุมาต. (2557). การศึกษาแนวคิดคติจักรวาลวิทยาในพระพุทธศาสนาจากงานจิตรกรรมล้านนา-เพื่อการสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย. 34(3), 17-42.
ดิเรก อินจันทร์. (2559). “รัก” กับพระพุทธศาสนา. ใน สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการและ ถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่อง “ยางรัก กับภูมิปัญญาพื้นบ้านและศิลปะร่วมสมัย”. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
เด็กชายผักอีเลิด. (2567). “ช่างสิบหมู่” มีอะไรบ้าง เป็นมาอย่างไรและมีส่วนในงานศิลปกรรมไทยอย่างไร. สืบค้นจาก https://www.silpa-mag.com/art/ article_96093
ทนงพันธ์ จุ้ยมา. (1 มิถุนายน 2557). สัมภาษณ์.
ทรูปลูกปัญญา. (2567). ประติมากรรม. สืบค้นจาก https://www.trueplook panya.com/learning/ detail/18051
ธนกฤต ก้องเวหา. (2567). “ลงรักปิดทอง” สุดยอดศิลปกรรมอันวิจิตรของไทย ทำอย่างไร?. สืบค้นจาก https://www.silpa-mag.com/culture/article_ 103662#google_vignette
ธานินทร์ ทิพยางค์. (บก.). (2555). งานช่างศิลป์ไทย: ปูนปั้น เครื่องถมและลงยา เครื่องรัก ประดับมุก ประดับกระจก. กรุงเทพฯ: แสงแดดเพื่อนเด็ก.
บรรสรณ์ สุนันทะ. (6 กรกฎาคม 2557). สัมภาษณ์.
บุญนพ กันตีฟอง. (27 กรกฎาคม 2557). สัมภาษณ์.
บุษรา. (2564). การจัดผังบริเวณวัดในล้านนา. สืบค้นจาก https://www.li-zenn.com/contents/การจัดผังบริเวณวัดในล้/
ประพิศ ประคุณหังศิต. (2537). “รัก” ต้นไม้มหัศจรรย์. สืบค้นจาก http://lib3.dss.go.th/ fulltext/dss_j/2537_42 _135_p12-14.pdf
พระนิเทศก์ โรจนญาโณ (คำมูล), รวีโรจน์ ศรีคำภา และพระมหาสิทธิชัย ชยสิทฺธิ. (2564). คติความเชื่อในการปิดทองพระพุทธรูปของประชาชนในตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่. วารสารธรรมวิชญ์. 3(1), 127-138.
พิพัฒน์ กระแจะจันทร์. (2557). ส่งส่วยด้วยรัก. ใน พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ วัฒนธรรม “รัก” ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ภัทรพงค์ เพาะปลูก. (6 กรกฎาคม 2557). สัมภาษณ์.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ล้านนาคดีศึกษา. (2557). ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับ 700ปี. สืบค้นจาก https://lannakadee.cmu.ac.th/area2/page3.php?pid=5
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ล้านนาคดีศึกษา. (2557). ประเภทของงานช่างล้านนา. สืบค้นจากhttps://lannakadee.cmu.ac.th/area2/page3.php?pid=3
มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ. (2548). เรื่องที่ 1 วัดไทย. ใน สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน (ล.28). สืบค้นจาก https://www.saranukromthai.or. th/sub/book/book.php?book=28&chap=1&page=t28-1-infodetail 01.html
วิชัยกุลเครื่องเงิน. (2567). กระเป๋าและหน้ากากโทรศัพท์มือถือ. สืบค้นจาก https://salahmade.com/artisan/2567
วิชัยกุลเครื่องเขิน. (2567). ลิ้นชัก เครื่องเขินพัชรา. สืบค้นจาก https://archive.sacit. or.th/handicraft/501
วิชาญ เอียดทอง. (2557). ที่มาของยางรักดิบต่อการนำไปสืบสานงานหัตถกรรม. ใน พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ, วัฒนธรรม “รัก” ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วุฒินันท์ สนิทรัมย์. (10 กันยายน 2557). สัมภาษณ์.
เศรษฐมันตร์ กาญจนกุล. (2550). ศิลปะการปิดทอง. กรุงเทพฯ: เศรษฐศิลป์.
ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน). (ม.ป.ป.). ลงรักปิดทอง. สืบค้นจาก https://www.sacit.or.th/uploads/items/attachments/cdeb62ca10f63c94f575fa8f7f7a2b1f/_2b017d2593959b9b50b5d33f353487f2.pdf
สนั่น รัตนะ. (2546). ลายคำล้านนา. สืบค้นจาก https://cfa.bpi.ac.th/sub5-2.html
สมโชติ อ๋องสกุล. (2558). ชุมชนช่างในเวียงเชียงใหม่: ประวัติศาสตร์ชุมชน. เชียงใหม่: ศูนย์ล้านนาศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2552). อุโบสถ. สืบค้นจาก http://legacy.orst. go.th/?knowledges=อุโบสถ-17-กันยายน-2552
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2555). วิหาร. สืบค้นจาก http://legacy.orst. go.th/?knowledges=วิหาร-10-ธันวาคม-2555.
Gantt, G. (2024). Wat Saen Fang. Retrieved from https://www.gerrygantt photography.com/Wat_SaenFang.htm.