ลักษณะความเป็นวีรบุรุษในชีวประวัติของนักบุญหลุยส์ มารีย์ กรีญอง เดอ มงฟอร์ต
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นวีรบุรุษในชีวประวัติของนักบุญหลุยส์ มารีย์ กรีญอง เดอ มงฟอร์ต ใช้กรอบแนวคิดการผจญภัยของวีรบุรุษของโจแซฟ แคมพ์เบลล์เป็นแนวคิดหลัก ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลชีวประวัติจากหนังสือ มงฟอร์ต ผู้จาริกข่าวประเสริฐของมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นฉบับที่สมบูรณ์ที่สุดเป็นตัวบท ผลการศึกษาพบว่า ขั้นตอนการดำเนินชีวิตของนักบุญมงฟอร์ตเป็นไปตามแนวคิดของแคมพ์เบลล์ครบทั้ง 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนการเดินทางออกจากโลกสามัญ ขั้นตอนการเข้าสู่โลกศักดิ์สิทธิ์ และขั้นตอนการกลับคืนโลกสามัญเมื่อพิจารณารายละเอียดขั้นตอนย่อยพบว่า ชีวประวัติของนักบุญมงฟอร์ต ปรากฏขั้นตอนย่อยทั้งหมด 12 ขั้นตอน จาก 17 ขั้นตอน และพบขั้นตอนที่ปรากฏแทรกตลอดทั้งเรื่อง 3 ขั้นตอน การศึกษาครั้งนี้ยังแสดงให้เห็นรูปแบบชีวิตอันโดดเด่นของนักบุญมงฟอร์ต 3 ด้าน คือ ด้านความศรัทธา ด้านการทำกิจเมตตา และด้านการประกาศศาสนา นอกจากนี้ยังสะท้อนให้เห็นความรักที่มีต่อเพื่อนมนุษย์และความรักที่มีต่อองค์พระผู้เป็นเจ้าอย่างสุดจิตใจอันเป็นต้นแบบของคริสตชนที่ดีอีกด้วย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
* กองบรรณาธิการทรงไว้ซึ่งสิทธิในการพิจารณาและตัดสินการลงตีพิมพ์ในวารสาร
** ทัศนะและข้อคิดเห็นที่ปรากฎในบทความต่าง ๆ ของวารสารเป็นของผู้เขียน มิใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ
และมิใช่ความรับผิดชอบของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
References
กรกฎา บุญวิชัย. (2566). หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด: วีรบุรุษทางวัฒนธรรมของชาวใต้. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 12(5), 417 – 428.
กาเบรียล-มารีย์. (2564). มงฟอร์ต ผู้จาริกข่าวประเสริฐ [Grignion de Montfort The Gospel Pilgrim] (พิสุทธิ์ศรี รัตตมณี, แปล). กรุงเทพฯ: มูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย.
แคมพ์เบลล์, โจเซฟ และ มอยเยอร์ส, บิล. (2551). พลานุภาพแห่งเทพปกรณัม [The Power of Myth] (บารนี บุญทรง, แปล). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
บารนี บุญทรง. (2565). พระโพธิสัตว์ในฐานะกษัตริย์: การทดสอบและวิธีจัดการ.วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ, 29(1), 103 – 122.
ปพักตร์อร ธรรมกวินทิพย์. (2558). การศึกษาเปรียบเทียบอาร์คีไทพ์ในวรรณคดี: กรณีศึกษาจากนิทานพระอภัยมณีคำกลอนและโอดิสซี. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ภราดาคณะเซนต์คาเบรียล. (2559). ทิศทางการจัดการศึกษาในแนวมงฟอร์ต. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย.
มูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย. (2567). จัดอบรมหลักสูตรมงฟอร์ตศึกษาเพื่อเตรียมนำร่องโรงเรียนในปีการศึกษา. สืบค้นจาก https://www. thaibrothers.net
สายป่าน ปุริวรรณชนะ. (2555). อิทธิปาฏิหาริย์กับการสร้างเรื่องเล่าศักดิ์สิทธิ์: ขนบนิยมและพลวัตในประวัติพระเกจิอาจารย์ในสังคมไทยภาคกลาง. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อติวิชญ์ เซี่ยงคิ้ว. (2564). แบบเรื่องของเรื่องเล่าศาสนบุคคลในคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกในนิตยสารอุดมศานต์. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อภิลักษณ์ เกษมผลกูล. (2552). ตำนานพระศรีอาริย์ในสังคมไทย: การสร้างสรรค์และบทบาท. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Benedictine monks of St. Augustine’s Abbey. (1921). The book of Saints. London: A&C Black.
Poulain, A. (1910). St. Louis-Marie Grignion de Montfort in the Catholic encyclopedia. New York: Robert Appleton Company.
John Paul II. (1987). Redemptoris mater. Vatican city: The Holy See.