การคร่ำครวญถึง นาง ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรกับพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัยที่ปรากฏในกาพย์เห่เรือ

Main Article Content

ณัฐวุฒิ คล้ายสุวรรณ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการคร่ำครวญถึงนางของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรกับพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยที่ปรากฏในกาพย์เห่เรือ โดยเน้นศึกษาเรื่องลักษณะร่วม และลักษณะเฉพาะ ผลการศึกษาด้านลักษณะร่วมพบว่า กาพย์เห่เรือทั้งสองสำนวน มีลักษณะร่วมกัน 8 ประการ ได้แก่ 1) กวีคร่ำครวญถึง นาง โดยใช้รูปแบบคำประพันธ์ชนิดเดียวกัน 2) กวีคร่ำครวญถึง นาง ด้วยการอ้างความทุกข์ที่ต้องพลัดพรากจากนาง 3) กวีคร่ำครวญถึง นาง โดยการอ้างตัวละครในวรรณคดี 4) กวีคร่ำครวญถึง นาง โดยการชมว่างามจนไม่มีนางใดเทียม 5) กวีคร่ำครวญถึง นาง โดยนำอารมณ์และความรู้สึกไปสัมพันธ์กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อแสดงความคิดถึง 6) กวีคร่ำครวญถึง นาง โดยการอ้างประสบการณ์ร่วม 7) กวีคร่ำครวญถึง นาง ด้วยการใช้ถ้อยคำที่แสดงให้เห็นรูปร่างของนางอันเป็นที่รัก 8) กวีคร่ำครวญถึง นาง โดยใช้เวลา วัน เดือน ปี เป็นสื่อแสดงความคิดถึง สำหรับผลการศึกษาด้านลักษณะเฉพาะพบว่ากาพย์เห่เรือพระนิพนธ์ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรนำตัวละครในวรรณคดี คือ พญาครุฑกับนางกากีมาเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินเรื่อง ทำให้เนื้อเรื่องเกิดความโดดเด่นในด้านการสะท้อนชีวิตส่วนพระองค์ ส่วนพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงนำประเพณีในศาสนาอิสลามมาเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินเรื่อง ทำให้เนื้อเรื่องโดดเด่นในด้านการสะท้อนภาพทางสังคมที่กวีอาศัย

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

คึกฤทธิ์ ปราโมช, หม่อมราชวงศ์. (2547). โครงกระดูกในตู้. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ:ดอกหญ้า.

เทพมนตรี ลิมปพยอม. (2539). การเมืองไทยสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พ.ศ. 2276-2301. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธรรมธิเบศร, เจ้าฟ้า. (2528). กาพย์เห่เรือพระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร. ใน ประชุมกาพย์เห่เรือ. กรุงเทพฯ: กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

พุทธเลิศหล้านภาลัย, พระบาทสมเด็จพระ. (2528). กาพย์เห่เรือพระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย. ใน ประชุมกาพย์เห่เรือ. กรุงเทพฯ: กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

สิทธา พินิจภูวดล และนิตยา กาญจนะวรรณ. (2520). ความรู้ทั่วไปทางวรรณกรรมไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ดวงกมล.

สืบพงศ์ ธรรมชาติ. (2542). วรรณคดีชาดก. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

เสาวลักษณ์ อนันตศานต์. (2538). วรรณกรรมพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.