แนวโน้มพฤติกรรมของผู้เรียนที่มีผู้ปกครองเกี่ยวข้อง กับยาบ้า (เมทแอมเฟตามีน) : การศึกษารายกรณี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มพฤติกรรมของผู้เรียนที่มีผู้ปกครองเกี่ยวข้องกับยาบ้า (เมทแอมเฟตามีน) โดยทำการศึกษาเป็นรายกรณีกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มีจำนวน 2 คน คือ ผู้เรียนที่มีผู้ปกครองเกี่ยวข้องกับยาบ้า และสมัครใจในการให้ข้อมูล ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษาในการศึกษาแนวโน้มพฤติกรรมของผู้เรียนที่มีผู้ปกครองเกี่ยวข้องกับยาบ้า เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลการสัมภาษณ์ส่วนบุคคล 2) แนวคำถามการสัมภาษณ์เชิงลึก 3) แบบบันทึกภาคสนาม และ 4) เครื่องบันทึกเสียง การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยการศึกษาแนวโน้มพฤติกรรมของผู้เรียนที่มีผู้ปกครองเกี่ยวข้องกับยาบ้า โดยทำเป็นรายกรณี พบว่า ผู้เรียนที่เป็นกรณีศึกษาไม่ได้มีแนวโน้มพฤติกรรมที่จะเกี่ยวข้องกับยาเสพติด แต่อย่างไรก็ตามการที่ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีผู้ปกครองเกี่ยวข้องกับยาบ้า และสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยงตามทฤษฎีระบบ เชิงนิเวศวิทยา เช่น มีชุมชนติดกับประเทศเพื่อนบ้านและเป็นพื้นที่ระบาดของยาเสพติด คนในสังคมรอบตัวของผู้เรียนมีความเกี่ยวข้องกับยาบ้า ผู้เรียนก็ยังคงมีแนวโน้มพฤติกรรมที่จะเกี่ยวข้องกับยาบ้า
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
* กองบรรณาธิการทรงไว้ซึ่งสิทธิในการพิจารณาและตัดสินการลงตีพิมพ์ในวารสาร
** ทัศนะและข้อคิดเห็นที่ปรากฎในบทความต่าง ๆ ของวารสารเป็นของผู้เขียน มิใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ
และมิใช่ความรับผิดชอบของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
References
กองควบคุมวัตถุเสพติด. (2566). ยาบ้า (Metamphetamine). สืบค้นจาก https:// narcotic.fda.moph.go.th/information-about-drugs/metamphetamine
จิรวัฒน์ มูลศาสตร์. (2545). พฤติกรรมการใช้สารเสพติดในนักเรียนมัธยม: กรณีศึกษาในโรงเรียน มัธยมแห่งหนึ่งของ จ.อุบลราชธานี. สืบค้นจาก https://suicide. dmh.go.th/abstract/details.asp?id=606
ชนิดา พลานุช, วิไล ชินเวชกิจวานิชย์, สมชาย อิสระวาณิชย์ และอนุสรณ์ รังสีโยธิน. (2544). การศึกษาการออกฤทธิ์ของยาบ้าและยาอี. วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์, 15(2), 95-107.
บัญชา จำปารักษ์. (2549). เอกสารประกอบการสอน รายวิชา มนุษย์กับสังคม. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี.
ประภาพรรณ จูเจริญ. (2554). บทบรรณาธิการ ครอบครัวและชุมชนกับการป้องกันสิ่งเสพติด. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา, 9(1), 5-6.
พัชชา วงค์สวรรค์. (2552). พฤติกรรมการเสพยาบ้าของวัยรุ่น: การศึกษารายกรณี. สืบค้นจาก http://thesis.swu.ac.th/swuthesis /Gui_Cou_Psy/Patcha_W.pdf
พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์. (2542). ยาบ้าและการรักษา. วารสารสวนปรุง, 15(12), 37-51.
พวงทอง ป้องภัย. (2540). พฤติกรรมศาสตร์เบื้องต้น. ปัตตานี: ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แนวทางการพัฒนาหลักสูตรและรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมสมรรถนะในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในโรงเรียนพื้นที่สูง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรไทย.
Boon, H. J. (2006). Students at-risk: A bioecological investigation. [Doctoral dissertation]. James Cook University.
Bronfenbrenner, U. (1995). Developmental ecology through space and time: A future perspective. In P. Moen, G. H. Elder, & K. Jr. Lüscher (Eds.), Examining lives in context: Perspectives on the ecology of human development (pp.619-647). American Psychological Association. https://doi.org/10.1037/10176-018