การพัฒนาการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อแอปพลิเคชัน TikTok ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การพูดภาษาอังกฤษก่อนและหลังเรียนโดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้สื่อแอปพลิเคชัน TikTok (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การพูดภาษาอังกฤษโดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้สื่อแอปพลิเคชัน TikTok กับ วิธีสอนตามคู่มือครู และ (3) เพื่อศึกษาเจตคติต่อการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้สื่อแอปพลิเคชัน TikTok ในการพูดภาษาอังกฤษ โดยกลุ่มตัวอย่างในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลวัดไทรอารีรักษ์ (มณีวิทยา) จำนวน 2 ห้องเรียน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับฉลาก เป็นกลุ่มทดลอง 35 คน และกลุ่มควบคุม 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบไปด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้สื่อแอปพลิเคชัน TikTok จำนวน 3 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านการพูดภาษาอังกฤษ และแบบวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้สื่อแอปพลิเคชัน TikTok สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่า t-test แบบ dependent และ independent
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ด้านการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้สื่อ TikTok สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .00 2) ผลสัมฤทธิ์ด้านการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้สื่อ TikTok สูงกว่า นักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการสอนแบบคู่มือครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .00 3) เจตคติต่อการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้สื่อแอปพลิเคชัน TikTok ในการพูดภาษาอังกฤษในระดับมาก ( = 3.76, S.D. = 1.01)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของวิทยาลัยแสงธรรม ห้ามนำข้อความทั้งหมดไปตีพิมพ์ซ้ำ ยกเว้นได้รับอนุญาตจากวิทยาลัยแสงธรรม
- เนื้อหาและข้อคิดเห็นใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
References
กัลยา โสภณพนิช. (2565, 13 มิถุนายน). Coding แบบไม่ต้องเสียบปลั๊ก วิธีคิด "เด็กไทย" ใน "โลกผันผวน. กรุงเทพธุรกิจ. https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/1009568
คณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างประเทศ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. https://drive.google.com/file/d/0B9t56k6dmUe5a1l3eVFpUFpmM0U/view?resourcekey=0-UBYxbltI7N6A3cEoMigXJQ
จันทิมา ชุวานนท์, ธัญวรรณ ก๋าคำ และ ชมพูนุท ถาวรวงศ์. (2562). เจตคติและพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาต่อการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษ เพื่ออุตสาหกรรมบริการ. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
ณัฏฐ์นรี ฤทธิรัตน์ และ ธัญภา ชิระมณี. (2557). ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาไทย. มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ตรีนุช อิงคุทานนท์. (2564, 23 พฤศจิกายน). ทักษะภาษาอังกฤษของคนไทยอยู่อันดับ 100 จาก 112 ประเทศ และต่ำที่สุดในอาเซียน. https://plus.thairath.co.th/topic/politics&society/100737
ประมวล พฤฑฒิกุล. (2565, 10 กุมภาพันธ์). พันธกิจและเป้าหมายโรงเรียนวัดไทรอารีรักษ์ (มณีวิทยา). โรงเรียนวัดไทรอารีรักษ์ (มณีวิทยา). http://tetsabanwatsaischool.ac.th/datashow_69098
พนิตพรรณ เอี่ยมนนท์. (2564, 16 พฤศจิกายน). ENGNOW เปิดผลสำรวจปัญหาการใช้ภาษาอังกฤษของผู้เรียน พร้อมวิเคราะห์แนวทางแผนการเรียนเพื่อแก้ปัญหาให้ตรงจุด. ผู้จัดการออนไลน์. https://mgronline.com/entertainment/detail/9640000113614
พิศิษพงษ์ นาคภู่. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องคำภาษาต่างประเทศในภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับแอพพลิเคชั่นสำหรับเรียนรู้ผ่านแบบมีปฏิสัมพันธ์ (Edpuzzle) [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ภัทราทิพย์ ธงวาส. (2562). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกับกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน เพื่อพัฒนาการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ลักศมี จง. (2563, 11 พฤศจิกายน). ปล่อยแคมเปญ #TikTokUni หนุนสร้างคอนเทนต์การศึกษา. ฐานเศรษฐกิจ. https://www.thansettakij.com/tech/433820
วิจารณ์ พานิช. (2556). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). ฝ่ายโรงพิมพ์ บริษัท ตถาตาพับลิเคชั่น.
สหรัฐ ลักษณะสุต. (2565). ผลการใช้แอปพลิเคชัน TikTok เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของผู้เรียนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี, 2(1), 61-71. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JLIT/article/download/255379/173266.
Jenni Ferstephanie and Theodesia Lady Pratiwi. (2021). TikTok Effect to Develop Students’ Motivation in Speaking Ability. English Journal for Teaching and Learning, 9(2), 163-178.
Phimonwan. (2562, 5 ธันวาคม). การใช้สื่อดิจิทัลในการเรียนภาษาอังกฤษ. https://phimonwans.blogspot.com/2019/12/blog-post.html
Sorn Potsathorn. (ม.ป.ป.). English for All - ภาษาอังกฤษกับอนาคตของเด็กรุ่นใหม่. https://www.disruptignite.com/blog/english-for-all-phaasaa-angkrskab-naakhtkh-ngedkrunaihm
Zaitun Zaitun, Muhammad Sofian Hadi and Emma Dwi Indriani (2021). TikTok as a Media to Enhancing the Speaking Skills of EFL Student’s. Jurnal Studi Guru dan Pembelajaran, 4(1), 89-94. https://e-journal.my.id/jsgp/article/view/525/434