การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัวของหน่วยงานทางการศึกษาระดับจังหวัด

Main Article Content

สุธินันท์ พูลสมบัติ
ผศ.ดร.นุชนรา รัตนศิระประภา

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อทราบองค์ประกอบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัวของหน่วยงานทางการศึกษาระดับจังหวัด และ2) เพื่อทราบผลการยืนยันองค์ประกอบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัวของหน่วยงานทางการศึกษาระดับจังหวัด  กลุ่มตัวอย่าง คือ หน่วยงานทางการศึกษาระดับจังหวัด จำนวน  66 หน่วย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางประมาณการขนาดกลุ่มของเครจซี่และมอร์แกน และผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างตามโอกาสทางสถิติ โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง ด้วยการสุ่มแบบแบ่งประเภท จำแนกตามภูมิภาค  เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถามความคิดเห็น และแบบสอบถามเพื่อยืนยันองค์ประกอบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของหน่วยงานทางการศึกษาระดับจังหวัด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์เนื้อหา
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. องค์ประกอบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัวของหน่วยงานทางการศึกษาระดับจังหวัด ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ คือ (1) การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ (2) การกำหนดหน้าที่ ความรับผิดชอบ (3) การอำนวยการ (4) การส่งเสริมมีส่วนร่วม (5) การสร้างเครือข่าย (6) การส่งเสริมการเรียนรู้ (7) การนิเทศและติดตาม และ (8) การประชาสัมพันธ์
          2. ผลการยืนยันองค์ประกอบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัวของหน่วยงานทางการศึกษาระดับจังหวัด พบว่า มีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์

Article Details

How to Cite
พูลสมบัติ ส., & รัตนศิระประภา น. (2023). การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัวของหน่วยงานทางการศึกษาระดับจังหวัด. วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม, 15(1), 5–27. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/scj/article/view/247976
บท
บทความวิจัย

References

จันทนา อุดม. (2560). การพัฒนายุทธศาสตร์องค์กรแห่งการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 3(2). 204-212.

น้ำผึ้ง มีศีล. (2559). การจัดการศึกษาโดยครอบครัวแบบเสริมสร้างทักษะชีวิตและการทำงานในศตวรรษที่ 21. [ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต].

พิชัย เวชยานันท์ และคณะ. (2560). ยุทธศาสตร์การบริหารการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัวที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2(1). 135-144.

รัชนีย์ ธงชัย. (2557, 6 พฤษภาคม). ซัมเมอร์ฮิลล์' ต้นแบบโฮมสคูลแห่งแรกของประเทศไทย. ไทยรัฐออนไลน์. 6 พ.ค. 2557 https://www.thairath.co.th/content/419307.

วราภรณ์ อนุวรรัตน์. (2554). อุดมการณ์และการจัดการศึกษาโดยครอบครัวในจังหวัดเชียงใหม่. [ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิศิษฐ์ วังวิญญู. (2558). โรงเรียนทำเอง Home-made School. ฟรีมายด์พับลิชชิ่ง จำกัด.

สุภางค์ จันทวานิช. (2557). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 22). ด่านสุทธาการพิมพ์.

สุมาลี มีพงษ์. (2559). การเชื่อมโยงการศึกษาโดยครอบครัวกับโรงเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน, วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 5(2), 1.

โสวริทธิ์ธร จันทร์แสงศรี. (2559). การถ่ายทอดทางสังคมของกลุ่มบ้านเรียนโฮมสคูล : กรณีศึกษากลุ่มบ้านเรียนแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 5(2) 1.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาสภาพและความพร้อมการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว. สำนักพัฒนานวัตกรรมการศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). การถอดบทเรียนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว. โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). บ้านเรียน Home School แนวทางการดำเนินงานการจัดการศึกษาทางเลือก. โรงพิมพ์อักษรไทย.

อุรสา พรหมทาและจำเนียร พลหาญ. (2557). การจัดการศึกษาโดยครอบครัว, วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม, 1(2), 32.

Kaiser quoted in Barbara G.Tabachink, and Linda S.Fidell. (1983). Using Multivariate Statistics. New York Haper & Ro.

Rensis Likert. (1961). The Human Organization. McGraw-Hill.

Robert V. Krejcie and Daryle W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities, Journal for Education and Psychological Measurement, 3, 608.

Weller. Chris. (2020). Homeschooling is the smartest way to teach kids in the 21st century. https://www.busines-sinsider.com/why-kids-should-get-home-schooled-2016-8.