การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรุ่นวัยของนักศึกษาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์

Main Article Content

ดร.อัชฌา ชื่นบุญ
ดร.ชุติมา แสงดารารัตน์
ภาวดี ภาวดี
ศราวุธ มั่งสูงเนิน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรุ่นวัยของนักศึกษาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์ และ 2) เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างรุ่นวัยของนักศึกษาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์จำแนกตามการเคารพเชื่อฟัง ลักษณะของครอบครัว ลักษณะการอาศัยอยู่กับครอบครัว และหน้าที่บิดาและมารดาในการหาเลี้ยงครอบครัว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย นักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ จำนวน 288 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามความสัมพันธ์ระหว่างรุ่นวัย แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบแบบทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า
          1. ความสัมพันธ์ระหว่างรุ่นวัยของนักศึกษาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
          2. การเคารพเชื่อฟังแตกต่างกันส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างรุ่นวัยของนักศึกษาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ลักษณะของครอบครัวส่งผลต่อมิติฉันทามติระหว่างรุ่นวัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับลักษณะการอาศัยอยู่กับครอบครัว และบทบาทหน้าที่บิดาและมารดาในการหาเลี้ยงครอบครัว ไม่ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างรุ่นวัยของนักศึกษาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์

Article Details

How to Cite
ชื่นบุญ อ., แสงดารารัตน์ ช., ภาวดี ภ., & มั่งสูงเนิน ศ. (2023). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรุ่นวัยของนักศึกษาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์. วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม, 15(1), 134–153. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/scj/article/view/248886
บท
บทความวิจัย

References

ณัฏฐพงศ์ ทองภักดี. (2554). ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับสังคมไทย. ศูนย์ศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

ธีรศักดิ์ สุขสันติกมล. (2559). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมในโลกยุคทันสมัย. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 18(1), 81 – 90.

พรชัย พุทธรักษ์. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพในครอบครัวกับความคาดหวัง ความวิตกกังวลในการเรียน และการเผชิญปัญหาของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. รายงานวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

ปฐมดวง เชวงเดช. (2563). หัวข้อที่ 1 ช่องว่างระหว่างวัยในหน่วยงาน (Generation Gap in Organization). รายงานการวิจัยขนาดย่อย (Mini research) สำนักแผนและการพัฒนาการคุ้มครองผู้บริโภค.

หอมหวล บัวระภา, เกรียงเทพ วีระนันทนาพันธ์, เฉลิมเกียรติ มินา, เทพพร มังธานี, จิราวรรณ แท่นวัฒนกุล, พร้อมจิตร ห่อนบุญเหิม ปทุมรัตน์ ต่อวงศ์ และ นพรัตน์ รัตนประทุม. (2550). การเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและครอบครัวที่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างรุ่นวัย: กรณีศึกษาหมู่บ้านแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น. รายงานวิจัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อัชฌา ชื่นบุญ, ชุติมา แสงดารารัตน์, อภิสิทธิ์ กฤษเจริญ, ศรัญญู พงศ์ประเสริฐสิน และจิตร สิทธีอมร. (2563). คุณลักษณะของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาคาทอลิกในประเทศไทยตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก. วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม, 12(1), 164-181.

Best, J.W. (1981). Research in education. (4 th ed). Prentice Hall.