ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาของครูใหม่โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ โดยระบบพี่เลี้ยง

Main Article Content

เกศแก้ว พรรณเชษฐ์
รศ.ดร.ทิวัตถ์ มณีโชติ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาของครูใหม่โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ โดยระบบพี่เลี้ยงจำนวน 5 ด้านได้แก่ ด้านการเป็นพี่เลี้ยง ด้านการเป็นแบบอย่าง ด้านการสอนแนะ ด้านการนิเทศด้านการให้คำปรึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูใหม่โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ ในปีการศึกษา 2560–2562 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .988 สภาพปัจจุบัน 0.979 และสภาพที่พึงประสงค์ 0.988 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) ผลการวิจัย พบว่า  1. สภาพปัจจุบันในการพัฒนาของครูใหม่โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ โดยระบบพี่เลี้ยงภาพรวมมีการปฏิบัติในระดับมากที่สุด โดยด้านการเป็นแบบอย่างและด้านการนิเทศ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองมาคือ ด้านการสอนแนะและด้านการให้คำปรึกษาตามลำดับ ส่วนด้านการเป็นพี่เลี้ยงมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2. สภาพที่พึงประสงค์ในการพัฒนาของครูใหม่โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ โดยระบบพี่เลี้ยง ภาพรวมสภาพพึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านการสอนแนะและด้านการนิเทศ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการเป็นพี่เลี้ยงและการเป็นแบบอย่างตามลำดับ ส่วนด้านการให้คำปรึกษามีค่าเฉลี่ยต่ำสุด  3. ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาของครูใหม่โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ โดยระบบพี่เลี้ยง เรียงลำดับตามความสำคัญ ดังนี้ ด้านการสอนแนะ รองลงมาคือ ด้านการเป็นพี่เลี้ยง ด้านการนิเทศ ด้านการให้คำปรึกษา และด้านการเป็นแบบอย่าง ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
พรรณเชษฐ์ เ., & มณีโชติ ท. (2022). ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาของครูใหม่โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ โดยระบบพี่เลี้ยง. วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม, 14(1), 145–159. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/scj/article/view/259913
บท
บทความวิจัย

References

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์การ. บริษัท วี พริ้นท์.

ทัศนีย์ ศรีจันทร์. (2557). การศึกษาแนวทางในการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนด้านระบบพี่เลี้ยงในมหาวิทยาลัยทักษิณ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล.

พรสุดา ฮวบอินทร์. (2559). ผลการพัฒนาครูตามโครงการพัฒนาครูด้วยการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and mentoring ที่มีต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาตามการรับรู้ของครู: กรณีศึกษาสถานศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดปทุมธานี [ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์. (2562). คู่มือครูโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์. เอกสารอัดสำเนา.

โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์. (2562). ใบแสดงลักษณะงาน. เอกสารอัดสำเนา.

โรงเรียนเซนต์โยเซพคอนเวนต์. (2562). แผนพัฒนาการจัดการศึกษา ปี 2562-2564. เอกสารอัดสำเนา

วชิรา เครือคำอ้าย และ ชวลิต ขอดศิริ. (2561). การพัฒนารูปแบบการนิเทศโดยใช้กระบวนการชี้แนะและระบบพี่เลี้ยง เพื่อส่งเสริมศักยภาพการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดเชียงใหม่. สืบค้นจาก http://www.ar.or.th/ImageData/Magazine/20052/DL_10470.pdf?t=637068573406086507

วิจารณ์ พาณิช. (2556). วิถีการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. http://www.noppawan.sskru.ac.th/data/learn_c21.pdf

อัญชุลี อุดรกิจ และ พงษ์ธร สิงห์พันธ์. (2559). สภาพและปัญหาในการปฏิบัติงานของครูผู้ช่วยในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. https://www.tci-thaijo.org/index.php/buajead-ubru/article/view/64187/52660.

Bryk, A.S., Lee, V. E., & Holland, P. B. (1993). Catholic schools and the common good. Cambridge. Harvard University Press.

Earley, P., Weindling, D., Bubb, S. & Glenn, M. (2009). Future leaders: The way forward?. In School Leadership & Management, 29(3), 295-306.

Gaskill, L. R. (1993). A conceptual framework for the development, implementation and evaluation of formal mentoring programs. Journal of Career Development, 20(2), 147-160.

Glickman, C. D. (2004). Supervision and Instructional Leadership: A Develop mental Approach. Allyn & Bacon.

Good, Carter V. (1973). The theory and practice of supervision. Prentice-Hall.

Gopee, N. (2008). Mentoring and Supervision in Healthcare. Sage.

Grace, G. (1995). School Leadership: Beyond Educational Management. Falmer Press.

Harris, B. M. (1985). Supervision in Education. University of Texas Press.

Ingersoll, R. & Smith, T. (2003). The wrong solution to the teacher shortage. Educational Leadership, 60(8), 30-33.

Kurtts, S. A., & Levin, B. B. (2000). Using peer coaching with preservice teachers to develop reflective practice and collegial support. Journal Teaching Education, 11(3), 297-310.

Plamondon, K. & CCGHR Capacity Building Task Group. (2007). Capacity Building Task Group. http://www.inclentrust.org/uploadedbyfck/file/compile%20 resourse/new-resourse-dr_-vishal/Mentoring_Module2_e.pdf

Riggs, I. M., & Sandlin, R.A. (2000). Teaching portfolios for support of teacher’s professional growth. NASSP Bulletin, 84(618), 22-27.

Simkins, T., Close, P. & Smith, R. (2009). Work-shadowing as a process for facilitating leadership succession in primary schools. School Leadership & Management: Formerly School Organization, 29(3), 239-251.