ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรวิทยาลัยการอาชีพกลุ่มสถานศึกษาภาคกลาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การบริหารงานในสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพนั้น บุคลากรมีส่วนสำคัญและต้องอาศัยปัจจัยต่างๆ ช่วยส่งเสริม สนับบสนุนด้วย โดยการวิจัยนี้จัดเป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับปัจจัย ในการทำงานของบุคลากร 2) ระดับประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากร 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากร และ 4) แนวทางการพัฒนาการทำงานของบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ ตัวแปรต้น คือ ปัจจัยที่ส่งผล ได้แก่ 1) นโยบายวิสัยทัศน์ของสถานศึกษา 2) การมีส่วนร่วมและการทำงานเป็นทีม 3) บรรยากาศในการทำงาน 4) ความก้าวหน้าในการทำงานและ 5) ความผูกพันของบุคลากร ตัวแปรตาม คือ ประสิทธิภาพ การทำงานของบุคลากร ได้แก่ 1) ด้านคุณภาพของงาน 2) ด้านความทันเวลา และ 3) ด้านความสำเร็จของงาน ประชากร คือ บุคลากรวิทยาลัยการอาชีพ 540 คน ขนาดกลุ่มตัวอย่าง ใช้การสุ่มอย่างง่าย ได้ 226 คนเป็นผู้ตอบแบบสอบถาม และผู้ให้การสัมภาษณ์จำนวน 5 คน ได้แก่ ผู้บริหารหรือหัวหน้ากลุ่มงาน เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ด้วยการหาค่าความเชื่อมั่นตามวิธีการของครอนบาค ได้ค่าอัลฟา (Alpha) 0.92 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับปัจจัย ในการทำงานของบุคลากรโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับประสิทธิภาพ ในการทำงานของบุคลากร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน พบว่า มีปัจจัยทุกด้าน ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) แนวทางการพัฒนาการทำงานของบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ ผู้บริหาร ควรส่งเสริมให้การสนับแก่บุคลากรได้พัฒนาศักยภาพของตนเองด้วยการศึกษาต่อ มีการทำงานเป็นทีม มีส่วนร่วมกับหน่วยงานอื่น นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงาน จัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการทำงาน สร้างขวัญกำลังใจ กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ การทำวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของวิทยาลัยแสงธรรม ห้ามนำข้อความทั้งหมดไปตีพิมพ์ซ้ำ ยกเว้นได้รับอนุญาตจากวิทยาลัยแสงธรรม
- เนื้อหาและข้อคิดเห็นใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
References
จิตติมา อัครธิติพงศ์. (2556). เอกสารประกอบการสอนวิชาการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน (Efficiency Development). คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.
ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2544). การบริหารการศึกษา. ศูนย์สื่อเสริมกรุงทพ.
ชินโชติ นาไพรวัน. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยขอนแก่น [วิทยานิพนธ์ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบายสาธารณะ และการจัดการภาครัฐ]. มหาวิทยาลัยมหิดล.
ประวิทย์ ทิมครองธรรม. (2545). ปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงานฝ่ายผลิต โรงงานประกอบชิ้นส่วนรถยนต์เขตอุตสาหกรรมภาคตะวันออก [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี.
สถาพร ปิ่นเจริญ. (2547). การบริหาร: การสร้างแรงจูงใจในที่ทำงาน. วารสาร มฉก. วิชาการฉบับสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์, 45-50.
สมพิศ สุขแสน. (2556). เทคนิคการทำงานให้มีประสิทธิภาพ. https://bongkotsakorn word-press.com.
สมใจ ลักษณะ. (2544). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน (พิมพ์ครั้งที่ 3). ธนธัชการพิมพ์.
สุธี วรประดิษฐ์. (2553). การมีสวนร่วมของชุมชน. งานสารสนเทศสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดตราด. สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). แผนการพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560-2579. ม.ป.ท.
Gilmer, Von Haller B. (1967). Industrial psychology. Mc Graw-Hill.
Herzberg, F. (1979). The motivation to work (2nd ed). John Wiley & Sons.
McClelland, D.C. (1987). Human Motivation. Scott. Foresman & company.
Parker, Glenn M. (2008). Team Players and Teamwork : New strategies for Developing Successful Collaboration. CA : Jossey-Bass.
Putti, Joseph M. (1987). Management. A function approach. Mc Graw-Hill Book Company.
Second and Backman. (1964). High performance benchmarking-20 steps to success. Mc Graw-Hill.
Steers, R.M. and Porter, L.W. (1979). Motivation and Work Behavior (2nd ed.). Mc Graw- Hill.
Stringer, R. (2002). Leadership and Organization Climate. Person Education, Inc.