การพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 ด้านการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียน โรงเรียนพระแม่มารีสาทร กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ประภาพร บวกหาร
รศ.ดร.กาญจนา บุญส่ง
รศ.ดร.มณฑา จำปาเหลือง

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 ด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียน โรงเรียนพระแม่มารีสาทร กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 ด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียน โรงเรียนพระแม่มารีสาทร กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2-3 ในรายวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ จำนวน 5 คน  ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ โปรแกรมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินสมรรถนะครูด้านการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียน และแบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์บนพื้นฐาน 5 วิชา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และค่า t – test โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้
          1. ผลการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 ด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียน โรงเรียนพระแม่มารีสาทร กรุงเทพมหานคร พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีคะแนนเฉลี่ยหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน โรงเรียนพระแม่มารีสาทร กรุงเทพมหานคร
          2. การศึกษาผลของการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 ด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียน โรงเรียนพระแม่มารีสาทร กรุงเทพมหานคร พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.35 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.47 เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดของผู้เรียนมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.43 รองลงมาคือ ความสามารถในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.37 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.48 และความสามารถในการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดของผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.31 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.46 ตามลำดับ ก่อนฝึกได้คะแนนรวมเฉลี่ย 2.67 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 53.40 หลังฝึกได้คะแนนรวมเฉลี่ย 4.66 คะแนนคิดเป็นร้อยละ 93.20

Article Details

How to Cite
บวกหาร ป., บุญส่ง ก., & จำปาเหลือง ม. (2024). การพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 ด้านการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียน โรงเรียนพระแม่มารีสาทร กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม, 16(2), 96–118. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/scj/article/view/265648
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. คุรุสภาลาดพร้าว.

กฤษดากร พลมณี. (2561). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จันจิรา อินต๊ะเสาร์. (2550). การบริหารงานบุคลากรในสถานศึกษาสังกัดเทศบาลนครเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2554). การฝึกอบรมบุคลากรในองค์การ (พิมพ์ครั้งที่ 7). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชฎาพร สีหาวงค์. (2560). การพัฒนาแนวทางเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

โชติชวัล ฟูกิจกาญจน์. (2559). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: เลี่ยงเชียง.

ดุสิต ขาวเหลือง. (2554). การฝึกอบรมที่มีประสิทธิภาพและสมรรถนะ. วรสารการศึกษาและพัฒนาสังคม, 7(1), 18-32.

ทัดดาว โยงไทยสง. (2560). การพัฒนาแนวทางเสริมสร้างสมรรถนะครูในการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2556). การพัฒนาการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 8). 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

น้ำฝน ชื่นชม. (2560). การพัฒนาแนวทางเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2549). หลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการครูฯ ให้มีหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษและเชี่ยวชาญ. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สภาการศึกษาคาทอลิก. (2556). ก้าวไปข้างหน้าด้วยอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก. โรงพิมพ์อัสสัมชัญ.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2554). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิหาร พละพระ. (2555). การวิจัยและพัฒนาเพื่อพัฒนาทักษะการคิด (Research and Development for Thinking Skills). วิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี, 1(1), 94-101.

วิชัย ตันศิริ. (2549). อุดมการณ์ทางการศึกษา: ทฤษฎีและภาคปฏิบัติ. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2562). การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์. ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2563). สมรรถนะเด็กไทยในยุคโลกพลิกผัน (VUCA World). คุรุสภาวิทยาจารย์, 1(1), 14-17.

อังคณา อ่อนธานี. (2564). การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิดขั้นสูง สำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 23(4), 406-418.

อัญชลี สุขในสิทธิ์. (2560). การประเมินความต้องการจำเป็น ในการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 20(20), 342-354.

Fitts, P. M., & Posner. M. I. (1967). Human performance. Brooks and Cole.

Lisa M. S., & Valle, B. E. (2013). Social constructivist teaching strategies in the small group classroom. Small Group Research, 44(4), 395-411.

Maskey, Cynthia L. (2009). Cognitive coaching has an exciting place in nursing education. Teaching and Learning in Nursing, 4(2), 63-65.

Spec, M. (1996). Professional values & practice for teachers and student teachers. Powell and Kalina.

Vanich watanaworachai, S. (2015). General teaching. Faculty of Education, Silpakorn University.