เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติทางการเรียนของวิชาภาษาไทย ด้วยวิธีการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน กับการเรียนรู้ตามคู่มือครู ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด ด้วยวิธีการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐานกับการเรียนรู้ตามคู่มือครู และเพื่อศึกษาเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด ด้วยวิธีการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน กับการเรียนรู้ตามคู่มือครูของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเซนต์โยเซฟ บางนา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 2 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบไปด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน กับการเรียนรู้ตามคู่มือครู เรื่อง มาตราตัวสะกด จำนวน 3 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย และแบบวัดเจตคติต่อวิชาภาษาไทย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลโดยสถิติการทคสอบที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองกับ กลุ่มควบคุม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลอง ด้วยวิธีการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ก่อนและหลังการทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มควบคุม การเรียนรู้ตามคู่มือครู ก่อนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เจตคติต่อการเรียนภาษาไทยของนักเรียนกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของวิทยาลัยแสงธรรม ห้ามนำข้อความทั้งหมดไปตีพิมพ์ซ้ำ ยกเว้นได้รับอนุญาตจากวิทยาลัยแสงธรรม
- เนื้อหาและข้อคิดเห็นใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
References
ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 21). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปาลิดา อิธิตา. (2565). การสร้างแบบฝึกทักษะ การอ่านและการเขียนมาตราตัวสะกดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านมูเซอ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1. วารสารวิจยวิชาการ, 5(1), 217–230.
พิสมัย ลาภมาก. (2553). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำยาก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองโนอีดำ สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามหาสารคาม เขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ไพศาล สุวรรณน้อย. (2559). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหา เป็นฐาน (Problem–based Learning:PBL). คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. https://ph.kku.ac.th/thai/images/file/km/pbl-he-58-1.pdf
ธีรพงษ์ แสงประดิษฐ์. (2561). ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานแบบเรียนรู้ร่วมกัน ต่อทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. Veridian E-Journal, Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(1), 1157-1174.
นันตา บรรณวรรณ. (2561). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่องมาตราตัวสะกดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดพรหมสาคร ที่ได้รับการสอนโดยการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิค TGT กับการสอนแบบปกติ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นันทนา ฐานวิเศษ และ วาสนา กีรติจำเริญ. (2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้งานและพลังงาน และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 29(2), 43-50.
วิจิตร หลานวงค์. (2563). กระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเจตคติของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนวิชาภาษาไทย : กรณีศึกษาโรงเรียนเทศบาลสวนสนุก. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาจุฬาขอนแก่น, 7(2), 73-86.
วิชุดา วงศ์เจริญ. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคโนโลยีเสมือนจริง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และทักษะการคิดแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. มูลนิธิสดศรี- สฤษดิ์วงศ์.
วิทยา ทองดี. (2661). การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem–based Learning) MANAGEMENT OF PROBLEM-BASED LEARNING. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(1), 967-976.
ศศิธร ปักกาโล. (2558). การใช้ปัญหาเป็นฐานพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่องระบบต่อมไร้ท่อ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน.
ศิริวรรณ โพธิ์สิงห์. (2564). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 วิชาภาษาไทย เรื่องมาตราตัวสะกด. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
อิทธิเดช น้อยไม้. (2560). หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา. บริษัท โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.
อาณัติ ขันทจันทร์. (2561). ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานแบบเรียนรู้ ร่วมกันต่อทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.