การศึกษาทักษะด้านการฟังคำศัพท์ภาษาจีนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGTร่วมกับเกมมิฟิเคชั่น ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะด้านการฟังระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับเกมมิฟิเคชั่น (2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับเกมมิฟิเคชั่น โดยกลุ่มตัวอย่างในครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพัทลุง จำนวน 4 ห้องเรียน ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2565 โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่มโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบไปด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบแบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับเกมมิฟิเคชั่น จำนวน 3 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ด้านการฟังภาษาจีน และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับเกมมิฟิเคชั่น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่า t-test แบบ dependent และ independent ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับเกมมิฟิเคชั่น มีผลสัมฤทธิ์การฟังภาษาจีนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .01 (2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับเกมมิฟิเคชั่น ในด้านการฟังคำศัพท์ภาษาจีนในระดับมาก (= 4.44)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของวิทยาลัยแสงธรรม ห้ามนำข้อความทั้งหมดไปตีพิมพ์ซ้ำ ยกเว้นได้รับอนุญาตจากวิทยาลัยแสงธรรม
- เนื้อหาและข้อคิดเห็นใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ปิยะพงษ์ วงศ์ขุมเงิน. (2556). การพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาจีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบ 4 MAT. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 36(4), 53
จุฑามาศ มีสุข. (2558). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของนักเรียนโดยใช้เทคนิคเกมิฟิเคชั่น สำหรับนักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุกูลนารี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
มัณฑนา ชินนาพันธ์. (2562). การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงสัทอักษร(พินอิน) โดยใช้สื่อมัลติมิเดีย สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านคลองนามิตรภาพที่ 201 อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฏร์ธานี. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฏร์ธานี เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
อิสระพงศ์ โสภาใฮ. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม โดยใช้การเรียนรู้เทคนิค TGT สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมหาวิชานุกูล [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชฏัฎมหาสารคาม.
สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560, 17 มีนาคม). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๗๙. http://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/1540-file.pdf
Slavin, Rober E. (1990). Cooperative Learning : Theory, Research and Practices. Prentice Hall.