คุณธรรมที่สามเณรแสงธรรมได้รับการเสริมสร้างจากการเข้าร่วมพิธีกรรมทำวัตร

Main Article Content

รัฐพล งามอัชฌา
บาทหลวง ดร.ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย, เอส.เจ.
บาทหลวง ดร.สุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์
บาทหลวง ผศ.ดร.ชาติชาย พงษ์ศิริ
ผศ.ดร.ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณธรรมที่สามเณรแสงธรรมได้รับการเสริมสร้างจากการเข้าร่วมพิธีกรรมทำวัตร และ 2) ผลการนำคุณธรรมที่สามเณรแสงธรรมได้รับการเสริมสร้างจากการเข้าร่วมพิธีกรรมทำวัตรไปใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิตตามมิติการอบรม 4 ด้าน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ สามเณรแสงธรรม ชั้นปีที่ 1-7 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 34 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลส่วนตัวของผู้ให้ข้อมูลใช้ค่าความถี่ และค่าร้อยละ การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
          ผลการวิจัย พบว่า
         
1. คุณธรรมที่สามเณรแสงธรรมได้รับการเสริมสร้างจากการเข้าร่วมพิธีกรรมทำวัตร คือ คุณธรรมความเชื่อ ความหวัง และความรัก เป็นคุณธรรมที่สามเณรได้รับทีละเล็กทีละน้อย และได้ซึมซับลงไปในชีวิตของสามเณรทำให้ได้เติบโตในชีวิตที่มีความเชื่อและความสนิทสัมพันธ์กับพระเจ้าในทุกๆ วัน มีความรักใน พระเป็นเจ้าผู้ทรงมอบความเชื่อให้กับสามเณร และพร้อมเดินต่อไปด้วยความหวังว่าพระเจ้าจะอยู่เคียงข้างเสมอในการดำเนินชีวิตตามกระแสเรียก และพระองค์จะเสด็จมาอีกครั้งหนึ่ง การเข้าร่วมพิธีกรรมทำวัตรทำให้สามเณรได้รู้จักรักผู้อื่นและมีความเป็นหนึ่งเดียวกันในพระศาสนจักรผ่านทางการสวดภาวนาและเป็นการแสดงออกของความเชื่อ ความหวัง และความรักเราต่อพระเจ้าในรูปแบบหนึ่งอีกด้วย
          สำหรับคุณธรรมอื่นที่สามเณรได้รับจากการร่วมพิธีกรรมทำวัตร คือ คุณธรรมความซื่อสัตย์  ความรับผิดชอบ ความสุภาพถ่อมตน ความรอบคอบ ความยุติธรรม การรู้จักประมาณตน และความเสมอต้นเสมอปลายเหล่านี้ ล้วนมีส่วนช่วยให้สามเณรได้พัฒนาชีวิตในการฝึกฝนตนเองในด้านมิติต่างๆ ทั้งด้านความเป็นมนุษย์ ด้านชีวิตจิต ด้านสติปัญญา และด้านงานอภิบาล เพื่อเตรียมตัวเป็นบาทหลวงที่ดีในอนาคต
          2. ผลการนำคุณธรรมที่สามเณรแสงธรรมได้รับการเสริมสร้างจากการเข้าร่วมพิธีกรรมทำวัตรไปใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิตตามมิติการอบรม 4 ด้าน ได้แก่
          2.1 มิติด้านความเป็นมนุษย์ สามเณรสามารถนำคุณธรรมที่ได้รับมาใช้ในการดำเนินชีวิตในด้านมิติการเป็นมนุษย์ คือ ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายและในหน้าที่ต่างๆ ดีขึ้น สามเณรได้ฝึกฝนให้รู้จักควบคุมตนเอง ควบคุมอารมณ์ความรู้สึกของตนได้ดีมากขึ้น มีความเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น มีวุฒิภาวะในการจัดการเวลาส่วนตัว พัฒนาบุคลิกภาพ เสริมสร้างความเป็นหนึ่งเดียวในชีวิตหมู่คณะ สร้างระเบียบวินัยให้กับตนเอง มีความซื่อสัตย์ ต่อหน้าที่การงาน ซื่อสัตย์ต่อพระเจ้าและต่อเพื่อนพี่น้อง และมีความสุภาพต่อพระเจ้า สุภาพต่อผู้ให้การอบรมและสุภาพต่อเพื่อนพี่น้องอีกด้วย
          2.2 มิติด้านชีวิตจิต สามเณรนำคุณธรรมที่ได้รับมาส่งเสริมด้านชีวิตจิต ด้วยการมีความสนิทสัมพันธ์กับพระเจ้ามากขึ้นโดยเฉพาะการสวดส่วนตัว การมีความสนิทสัมพันธ์กับพระเจ้า ผ่านทางการรำพึงไตร่ตรองในบทสดุดีต่างๆ ในพิธีกรรมทำวัตรจะช่วยให้มีชีวิตสามเณรได้สนิทกับพระเจ้า
          2.3 มิติด้านสติปัญญา สามเณรได้นำคุณธรรมที่ได้รับมาใช้ในเรื่องของการใช้เหตุและผลการคิดวิเคราะห์ ไตร่ตรองมากขึ้น รู้จักคิดวิเคราะห์แยกแยะสิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้น ทำให้มีมโนธรรมที่เที่ยงตรงในตนเอง  ไม่ปล่อยตนเองไปตามอารมณ์ความรู้สึก ให้ความเชื่อนำมาสู่ภาคปฏิบัติ
          2.4 มิติด้านการอภิบาล สามเณรได้นำคุณธรรมที่ได้รับมาใช้ โดยการภาวนาเพื่อผู้อื่น อุทิศตนเพื่อผู้อื่น มีความรักต่อผู้อื่น รักและรับใช้อุทิศตน เสียสละตนเองเพื่อผู้อื่นได้มากขึ้น การร่วมพิธีกรรมทำวัตร ช่วยให้สามเณรได้สละตนเองเพื่อเป็นเครื่องมือในการสวดภาวนาเพื่อสัตบุรุษ เป็นเครื่องหมายภายนอกที่แสดงถึงชีวิตภาวนาภายในของสามเณรที่เกิดผลอย่างแท้จริง

Article Details

How to Cite
งามอัชฌา ร., สุกีโย ปิโตโย อ. ., ชุ่มศรีพันธุ์ ส. ., พงษ์ศิริ ช., & ประสูตร์แสงจันทร์ ล. (2024). คุณธรรมที่สามเณรแสงธรรมได้รับการเสริมสร้างจากการเข้าร่วมพิธีกรรมทำวัตร. วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม, 16(2), 185–204. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/scj/article/view/275045
บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกคริสตศาสนธรรม. (2019). คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก (Catechism of the Catholic Church) ภาค 2 การประกอบพีธีศีลศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมฉลองพระธรรมล้ำลึกปัสกา (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์อัสสัมชัญ.

คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกคริสตศาสนธรรม. (2019). ภาค 4 การอธิฐานภาวนาของคริสตชน (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์อัสสัมชัญ.

คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกคริสตศาสนธรรม. (2545). จริยศาสตร์เพื่อชีวิต. วิทยาลัยเซนต์หลุยส์.

คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพิธีกรรม. (2013). ระลึกถึงวาติกันที่ 2 สังฆธรรมนูญว่าด้วยพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์. โรงพิมพ์ดอนบอสโก.

คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อสามเณราลัยและกระแสเรียก. (2000). ธรรมนูญการอบรมสามเณรเล็ก ค.ศ. 2000. โรงพิมพ์อัสสัมชัญ.

คณะกรรมการที่ด้านกฎหมายพระศาสนจักรภายใต้สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย. (2000). ประมวลกฎหมายพระศาสนจักรบรรพ 2 ประชากรของพระเจ้า. โรงพิมพ์อัสสัมชัญ.

ชาญชัย ประทุมปี. (2561). คุณธรรมความนบนอบเชื่อฟังของพระนางมารีย์ แบบอย่างชีวิตจิตพระสงฆ์. วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม, 10(2), 87-100.

เชิดชัย เลิศจิตรเลขา, บาทหลวง. (2548). จริยศาสตร์พื้นฐาน. โรงพิมพ์ดอนบอสโก.

ทัศไนย์ คมกฤส, บาทหลวง. (2556). สมณกฤษฏีกาเรื่องการอบรมพระสงฆ์ (OPTATAM TOTIUS). วิทยาลัยแสงธรรม.

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม. (2564). พระพรแห่งกระแสเรียกการเป็นสงฆ์: เอกสารระบบพื้นฐานการอบรมพระสงฆ์. ปิติพานิช.

สำราญ วงศ์เสงี่ยม, บาทหลวง. (2535). พิธีกรรม 2 (พิมพ์ครั้งที่ 3). วิทยาลัยแสงธรรม.

หน่วยงานสามเณราลัย สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย. (1990). คู่มืออภิบาลสำหรับพระสงฆ์ในพระศาสจักรที่ขึ้นสังกัดต่อกระทรวงเผยแพร่พระวรสารสู่ปวงชน. ม.ป.ท.

อนุสรณ์ แก้วขจร, บาทหลวง. (2564). พิธีกรรมทำวัตร. วิทยาลัยแสงธรรม.

Casiaro, J. M. (2005). The Psalms and the song of Solsmon. scepter publishers.

Cronbach Lee J. (1971). Essentials of psychological testing (4th ed). Harper & Row.

Titus H.H. (1936). Ethics for Today. American Book.