เจตคติของนักศึกษาต่อการบริหารงานกิจการนักศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ในยุค Thailand 4.0
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเจตคติของนักศึกษาต่อการบริหารงานกิจการนักศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ในยุค Thailand 4.0 และ 2) เปรียบเทียบเจตคติของนักศึกษาต่อการบริหารงานกิจการนักศึกษา ระหว่างนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิตกับหลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฺฑิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2567 จำนวน 156 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต จำนวน 100 คน และหลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตร บัณฺฑิต จำนวน 56 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเจตคติในรูปแบบมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (Independent Sample t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษามีเจตคติต่อการบริหารงานกิจการนักศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณารายด้านสามารถเรียงตามลำดับ คือ เจตคติต่อด้านงานแนะแนวการศึกษาต่อและอาชีพมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านงานกิจกรรมนักศึกษาและพัฒนาวินัย ด้านงานสวัสดิการและศิษย์เก่าสัมพันธ์ และด้านงานศิลปวัฒนธรรม ตามลำดับ 2) เจตคติของนักศึกษาต่อการบริหารงานกิจการนักศึกษา ระหว่างนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิตกับหลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฺฑิตไม่แตกต่างกัน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของวิทยาลัยแสงธรรม ห้ามนำข้อความทั้งหมดไปตีพิมพ์ซ้ำ ยกเว้นได้รับอนุญาตจากวิทยาลัยแสงธรรม
- เนื้อหาและข้อคิดเห็นใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
References
ชญารัตน์ บุญพุฒิกร. (2018). การพัฒนามาตรวัดเจตคติด้านพฤติกรรมตามจรรยาบรรณวิชาชีพ สําหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. RMUTSB Acad. J. (HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES), 3(2), 177-190.
นันทพงศ์ หมิแหละหมัน, นรรถสรรพ เล็กสู่, เฉลิมชาติ เมฆแดง และวัฒนา จินดาวัฒน์. (2563). การใช้กิจกรรมนักศึกษาเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงคของบัณฑิตไทย. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 6(2), 559-567.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. (พิมพ์ครั้งที่10). บริษัท สุวีริยาสาส์น จำกัด.
ประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. การแบ่งส่วนงานภายในส่วนราชการของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ พ.ศ. 2566. (23 มิถุนายน 2566). การประชุมสภามหาวิทยาลัย. ครั้งที่พิเศษ 3/2566 หน้า 20.
ธรัช อารีราษฎร และวรปภา อารีราษฎร. (2562). รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรคเชิงนวัตกรรม สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตามกรอบแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 สู่การจัดการศกึษา 4.0. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 15).บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
เมลดา กลิ่นมาลี. (2559). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการให้บริการงานกิจการนักศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 7(2), 81-90.
รมย์รัมภา ณัฐธัญอติรุจ และประเสริฐ อินทร์รักษ์. (2562). แนวทางการบริหารกิจการนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(2), 898-906.
รุ่งรัตน์ มีทรัพย์ และ เตือนใจ ดลประสิทธิ์. (2560). การบริหารกิจการนักศึกษาคณะแพทย์ศาสตร์ สังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 7(3), 59-69.
สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561). แผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี พ.ศ. 2561 – 2580. บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2558). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557. ภาพพิมพ์.
Polit, D. F., & Beck, C. T. (2008). Nursing research: Generating and assessing evidence for nursing practice (8th ed). Lippincott Williams & Wilkins.