วิธีประเมินวิธีจัดสรรหลักทรัพย์ในการลงทุนระดับดุลยภาพ ภายใต้แนวคิด Markowitz เปรียบเทียบกับภายใต้ตัวแบบ Sharpe Index Model.

Main Article Content

ณัฐณิชา กลีบบัวบาน
สวงค์ เศวตวัฒนา

บทคัดย่อ

               งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การจัดสรรหลักทรัพย์ (Asset Allocation) ภายใต้แนวคิด Markowitz และตัวแบบ Index ของ Sharpe และเพื่อประเมินผลว่าการคัดสรรหลักทรัพย์จากหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศไทย จำแนกเป็น  asset allocation  ประเภทใด เชิงบูรณาการ  การจัดสรรหลักทรัพย์เชิงกลยุทธ์ การจัดสรรหลักทรัพย์ประเภท tactical หรือประเภท insured asset allocation (momentum allocation) วิธีการวิจัยประยุกต์ใช้ optimization calculus ซึ่งประยุกต์ใช้กับแนวคิด Markowitz ลักษณะหนึ่ง และกับตัวแบบของ Sharpe อีกลักษณะหนึ่ง รวมกลุ่มหลักทรัพย์ตัวอย่าง 15 กลุ่ม กลุ่มละ 3 หลักทรัพย์


                ผลการวิจัย การจัดสรรหลักทรัพย์ของกลุ่มหลักทรัพย์ 15 กลุ่มหลักทรัพย์ ที่ประกอบด้วย หุ้นสามัญจากหลากหลายภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม ทั้งภายใต้แนวคิด Markowitz และตัวแบบ Sharpe Index model ผลการวิเคราะห์เชิงประจักษ์พบว่า การจัดสรรหลักทรัพย์โดย รูปแบบและสัดส่วนของเงินลงทุนในแต่ละหลักทรัพย์ในกลุ่มหลักทรัพย์ ที่ประกอบด้วย 3 หลักทรัพย์มีลักษณะคล้ายคลึงกัน แทบไม่มีข้อแตกต่างกับอย่างมีนัยสำคัญ จากวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ 3 คำตอบคือ การจัดสรรหลักทรัพย์ในประเทศไทยควรจะเป็นการจัดสรรหลักทรัพย์ประเภท insured asset allocation หรือ Momentum TAA ทั้งนี้เพราะสัดส่วนของเงินลงทุนระหว่างหลักทรัพย์ต่างๆในกลุ่มการลงทุน ทั้งภายใต้แนวคิด Markowitz efficient frontier และภายใต้ตัวแบบ Index ของ Sharpe มีรูปแบบและค่าของสัมประสิทธิ์ที่ใกล้เคียงกันอย่างมีนัยสำคัญ

Article Details

บท
บทความวิจัย