การสื่อสารทางการเมืองเพื่อการรักษาอำนาจทางการเมืองของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ผู้แต่ง

  • นนทวัตร ผาติเสนะ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • สมิหรา จิตตลดากร อาจารย์, วิทยาลัยการบริหารแห่งรัฐ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาสารที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้สื่อสารผ่านรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” และ “ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ระหว่างพ.ศ. 2557 – 2562 เพื่อรักษาอำนาจทางการเมืองของรัฐบาลของตน โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบเชิงคุณภาพ  โดยการวิเคราะห์เนื้อหาของเอกสารหลักฐานต่างๆ และหาความสอดคล้องในประเด็นต่างๆ ตามวัตถุประสงค์

           จากการศึกษาพบว่าเนื้อหาสารที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้สื่อสารผ่านรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” และ “ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ระหว่าง พ.ศ. 2557 – 2562 จำแนกเป็น 3 มิติ ได้แก่ 1) มิติทางเศรษฐกิจ  ได้แก่ การสร้างความเชื่อมั่นต่อนักลงทุน การรายงานผลการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ การนำเสนอนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจ และการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก 2) มิติทางการเมือง ได้แก่ การปฏิรูปการเมือง การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง การสนับสนุนธรรมาภิบาล และการรณรงค์การลงประชามติและการเลือกตั้ง และ 3) มิติทางสังคม ได้แก่ การเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ การเชิดชูบุคคลที่ทำประโยชน์ให้แก่สังคม  การยกย่องคนไทยจากการชนะการแข่งขันในระดับนานาชาติ และการจัดระเบียบทางสังคม ซึ่งการสื่อสารในประเด็นต่างๆ ก็เพื่อใช้อ้างความชอบธรรมในการรักษาอำนาจทางการเมืองของรัฐบาลตนที่มาจากการรัฐประหาร

Downloads

Download data is not yet available.

References

ภาษาไทย

ธันยพร บัวทอง. (2557). ถอดรหัส “ลีลาวาทะ” นายกฯไทย จนถึงสมัย “พล.อ.ประยุทธ์”. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2563 จาก http://news.thaipbs.or.th/content/ถอดรหัสลีลาวาทะนายกฯไทย-จนถึงสมัย-พลอประยุทธ์.

นันทนา นันทวโรภาส. (2558). “ดร.นันทนา” วิพากษ์สื่อสารการเมืองของผู้นำ จากยุคทักษิณ ถึงนายกฯ ประยุทธ์. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2563 จาก http://www.isranews.org/isranews/item/37935-interview_580415.html.

วัลลภ ลำพาย. (2551). แนวคิดและกระบวนการสื่อสารทางการเมือง. นนทบุรี:

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สฤษฎ์รัฐ แจ้งสมบูรณ์. (2542). ความสัมพันธ์ระหว่างช่องทางการสื่อสารกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ภาษาอังกฤษ

Almond, G.A. and Powell, G.B. (1966). Comparative Politic: A Developmental Approach. Boston and Toronto : Little, Brown & Company.

Berlo, D.K. (1960). Process of Communication: An Introduction to Theory and Practice. New York : Holt, Rinehart and Winston.

Daft, R. L. (1994). Management. 3rd ed. Fort Worth: The Dryden Press.

Dainton, M and Zelley, E.D. (2005). Applying Communication Theory for Professional Life : A

Practical Introduction. California: SAGE.

Deutsch, K.W. (1953). Nationalism and Social Communication. Cambridge, Massachusetts:

MIT Press.

Yukl, G.A. (1989). Leadership in Organizations. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.

Translated References

Buathong, T. (2010). Coding Translation “Leela Vatha” Thai Prime-minister until

“General Prayuth”. Retrieved February 8, 2020, from http://news.thaipbs.or.th/content/

Jangsomboon, S. (1999). Relationship between Communication Chanel and Political

Participation in Chiangmai. Thesis of Master degree of Political Science, Chiangmai University.

Nanthawaropat, N. (2011). “Dr. Nanthana” Political Communication Critics of Leader

from Thaksin to Prayuth. Retrieved February 8, 2020, from

http://www.isranews.org/isranews/item/37935-interview_580415.html.

Lampai, W. (2008). Concept and Process of Political Communication. Nontha Buri:

Sukhothai Thammathirat Open University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-25