ความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเป็นหน่วยรับงบประมาณตรง จากสำนักงบประมาณ กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดในพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง

ผู้แต่ง

  • กิรทัศน์ ในริกูล หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม ผู้ช่วยศาสตราจารย์, วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การปรับเปลี่ยนองค์กร; คำของบประมาณตรง; องค์การบริหารส่วนจังหวัด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพร้อมขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ในการเป็นหน่วยรับงบประมาณโดยตรงและเพื่อเสนอแนะแนวทางในการเตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นหน่วยรับงบประมาณตรงในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือในวิจัยครั้งนี้ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง เพื่อสอบถามประเด็นความพร้อมและแนวทางในการเตรียมความพร้อมในการจัดทำคำของบประมาณ โดยใช้วิธีคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากข้าราชการในองค์การบริหารส่วนจังหวัดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางที่มีประสบการณ์ในแต่ละระดับ และมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดทำคำขอรับเงินอุดหนุนต่อสำนักงบประมาณ จำนวน 16 คน ประกอบด้วย 1) ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด 4 คน             2) ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และงบประมาณ หรือผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และงบประมาณ 4 คน และ 3) นักวิเคราะห์นโยบายและแผน 8 คน และนำมาวิเคราะห์ด้วยกระบวนการค้นหาแก่นสาระ ทำการจัดลำดับความสำคัญและความหนาแน่นของข้อมูลแล้วเขียนอธิบายตามข้อค้นพบ ผลการศึกษา พบว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางยังต้องการความพร้อมสำหรับการจัดทำคำของบประมาณตรง โดยเฉพาะความเข้าใจในระเบียบ วิธีการตามกฎหมาย ทักษะในการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อจัดทำคำของบประมาณ นอกจากนี้ยังพบว่าเจ้าหน้าที่มีความกดดันจากการสื่อสารภายในองค์กร และมีข้อกังวลจากการชี้แจงงบประมาณต่อสำนักงบประมาณตามขั้นตอนการของบประมาณโดยตรง อย่างไรก็ตามในด้านภาวะผู้นำ พบว่าผู้บริหารมีความกระตือรือร้น ให้ความสำคัญและยอมรับต่อกระบวนการงบประมาณแบบใหม่ เนื่องจากมีอิสระและการควบคุมจากส่วนกลางลดลง อีกทั้งยังเป็นการสร้างโอกาสให้ท้องถิ่นได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านการงบประมาณซึ่งถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

กิรทัศน์ ในริกูล, หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม, ผู้ช่วยศาสตราจารย์, วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้ช่วยศาสตราจารย์, วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น

References

ภาษาไทย

บุษกร เชียวจินดาการนต์. (2562). เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา. วารสารศิลปะศาสตร์ปริทัศน์, 13(25), 103-117

รงค์ บุญสวยขวัญ, (2561). การบริหารการเปลี่ยนแปลง : กรอบแนวคิดเพื่อการวิจัย. วารสารสารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์, 17(1), 39-62

วิทยา จิตนุพงศ์. (2565). การบริหารงานคลังส่วนท้องถิ่น พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง

สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ. (2559). ข้อเสนอแนะเพื่อการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 31 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. ค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2566, จากhttps://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/download/usergroup_disaster/2-12.pdf

สันติสุข แก่นดำ และภิรดา ชัยรัตน์. (2565). ความพร้อมในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เทศบาลนครและเทศบาลเมืองเพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณ. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 15(2), 139-162

สำนักงบประมาณ. (2565). เอกสารงบประมาณฉบับที่ 1 รายรับรายจ่ายเปรียบเทียบ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. ค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2566, จากhttps://www.bb.go.th/topic-detail.php?id=15166&mid=545&catID=0

สำนักงบประมาณของรัฐสภา. (2562). รายงานวิชาการสำนักงบประมาณรัฐสภา การศึกษาผลกระทบของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 ที่มีต่อรูปแบบและวิธีการขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. ค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2566, จาก

https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parbudget/ewt_dl_link.php?nid=664

สำนักงบประมาณของรัฐสภา. (2563). รายงานวิเคราะห์งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. ค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2566, จากhttps://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parbudget/download/article/article_20200826094833.pdf

Translate References

Boonsuaykhwan, R (2018). Change Management: Conceptual Framework. Walailak Abode of Culture Journal, 17(1), 39-62 (in Thai)

Budget Bureau. (2022). Budget document No.1: comparison of income and expense, Fiscal year B.E.2566 (2023). Retrieved Form https://www.bb.go.th/topic-detail.php?id=15166&mid=545&catID=0

Cheawjindakarn, B. (2019). Qualitative Case Study Research Techniques. LIBERAL ARTS REVIEW,13(25), 103-117. (in Thai)

Jitnupong, W (2022). Local Public Finance. 2nd edition. Bangkok: Ramkhamhaeng University Press. (in Thai)

Kaendum, S. & Chairatana, P. (2022). Readiness of City Municipalities and Town Municipalities Officers for Requesting Budget Allocation. Local Administration Journal, 15(2), 139-162. (in Thai)

National Reform Steering Assembly. (2016). Recommendation for Nation’s Reformation Movement under section 31 of the Constitution of the Kingdom Of Thailand. Retrieved Form https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/download/usergroup_disaster/2-12.pdf

Parliamentary Budget Office. (2019). Academic report of the Parliament’s Budget Bureau; a study on the effect of the Budgetary Procedure Act,B.E. 2561 (2018) impacting on form and method of submitting annual appropriation to subsidize local government organization. Retrieved Form https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parbudget/ewt_dl_link.php?nid=664

Parliamentary Budget Office. (2020). Budget analysis report for fiscal year 2021 Local administrative organization. Retrieved Form https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parbudget/download/article/article_20200826094833.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-14