การใช้วัฒนธรรมในการต่อรองกับนโยบายการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของรัฐ กรณีศึกษา : ชุมชนแม่ลานคำ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดพื้นที่ให้ชาวกะเหรี่ยงบ้านแม่ลานคำได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของรัฐ และเพื่อศึกษาการนำวัฒนธรรมของชาวกะเหรี่ยงมาเป็นเครื่องมือในการต่อรอง ผู้วิจัยเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่าชาวบ้านแม่ลานคำมีการเคลื่อนไหวเพื่อเป็นการต่อรองและต่อสู้กับหน่วยงานรัฐผ่านกลไกของการใช้วัฒนธรรมของชุมชนและการเตรียมประกาศเขตพื้นที่วัฒนธรรมพิเศษ ตามมติคณะรัฐมนตรี 3 สิงหาคม 2553 ว่าด้วยแนวนโยบายฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง ซึ่งมีหลักหรือจุดเด่นที่ใช้เป็นเครื่องมืออยู่ 3 ประการ คือ 1. วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ 2. ประโยชน์ของการทำไร่หมุนเวียนและ 3. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
คำสำคัญ: วัฒนธรรมกะเหรี่ยง, นโยบายการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ, พื้นที่เขตวัฒนธรรมพิเศษ, สิทธิชุมชน, การต่อรอง
Article Details
* กองบรรณาธิการทรงไว้ซึ่งสิทธิในการพิจารณาและตัดสินการลงตีพิมพ์ในวารสาร
** ทัศนะและข้อคิดเห็นที่ปรากฎในบทความต่าง ๆ ของวารสารเป็นของผู้เขียน มิใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ
และมิใช่ความรับผิดชอบของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่