วิจัยสร้างสรรค์ การแสดงชุด “มรดกถิ่นเสียงสำเนียงโทนโคราช”

Main Article Content

รองศาสตราจารย์ ดร. ประจักษ์ ไม้เจริญ
ดร. ไกรลาส จิตร์กุล
อาจารย์อาทิตยา ผิวขำ

บทคัดย่อ

ผลงานวิจัยสร้างสรรค์มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของกลองโทนโคราช และสร้างสรรค์การแสดงชุด มรดกถิ่นเสียงสำเนียงโทนโคราช เป็นการวิจัยสร้างสรรค์เชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การวิพากย์จากผู้ทรงคุณวุฒิ และเสนอผลงานวิจัยสร้างสรรค์แบบพรรณนาวิเคราะห์ การศึกษาผลงานวิจัยสร้างสรรค์ พบว่า โทนโคราช เป็นเครื่องดนตรีเลียนแบบมาจากโทนของเขมร ใช้บรรเลงประกอบการแสดงในประเพณีของคนโคราช ปั้นมาจากดินของหมู่บ้านด่านเกวียน หน้าโทนจะใช้หนังงู หนังตะกวด หนังตัวเงินตัวทอง ขึงขึ้น หนังงูจะมีเสียงแหลม หนังตะกวดเสียงทุ้ม หนังตัวเงินตัวทองเสียงกังวานใส แนวคิดในการวิจัยสร้างสรรค์ เพื่อประชาสัมพันธ์ อนุรักษ์และส่งเสริมโทนโคราช ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น ชื่อการแสดงเป็นชื่อที่สื่อให้ทราบถึงโทนโคราช ดนตรีประกอบการแสดง เป็นดนตรีพื้นบ้านโคราชผสมผสานกับดนตรีพื้นบ้านอีสาน กระบวนท่ารำใช้ท่ารำแม่บทอีสาน ท่ารำแม่บทโคราชมาสร้างสรรค์ ได้ทั้งหมด 15 ท่า  มีรูปแบบการแปรแถว 15 รูปแบบ การแต่งกายสวมเสื้อแขนกระบอกและนุ่งโจงกระเบน สวมเครื่องประดับทอง แต่งหน้าสวยงาม ทรงผมดอกกระทุ่ม ทัดดอกสาทร ผู้แสดงเป็นผู้หญิง จำนวน 13 คน อุปกรณ์ในการแสดงคือโทนโคราชมีลักษณะใบเล็ก การแสดงชุดนี้จึงสามารถแสดงได้ในงานมงคลทั่วไป
งานสาธิตประกอบการเรียน การสอน เป็นต้น

Article Details

บท
Research Articles