การประเมินพื้นที่เปราะบางต่อการเกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ กรณีศึกษา: อำเภอเมืองเชียงใหม่

Main Article Content

บรมศักดิ์ กลั่นเรืองแสง และ ดร. รัชพล สัมพุทธานนท์

บทคัดย่อ

 


การวิจัยเรื่อง “การประเมินพื้นที่เปราะบางต่อการเกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ กรณีศึกษา: อำเภอเมืองเชียงใหม่”  มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการกระจายของฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน และ 3) เพื่อวิเคราะห์หาพื้นที่เปราะบางต่อการเกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอนในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ โดยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบตัดขวาง ผลการศึกษาการกระจายของฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน พบว่า ช่วงเวลา 09:01-12:00 น. เป็นช่วงเวลาที่มีความเข้มของฝุ่นละอองมากที่สุด ในช่วงฤดูร้อนโดยเฉพาะเดือนมีนาคมเป็นช่วงที่มีคุณภาพของอากาศต่ำที่สุด โดยปริมาณฝนเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดฝุ่นละอองมากที่สุดซึ่งมีความสัมพันธ์แบบผกผัน เมื่อนำปัจจัยความเข้มข้นของฝุ่นละออง อุณหภูมิ ปริมาณฝน ความหนาแน่นของประชากร การใช้ประโยชน์ที่ดิน และประเภทของถนนมาประเมินพื้นที่เปราะบางต่อการเกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน พบว่า ในฤดูร้อนมีความเปราะบางมากที่สุดในเขตชุมชนและพาณิชยกรรม เมื่อพิจารณาระยะ ทิศทาง และตำแหน่ง พบว่า ระยะที่เพิ่มขึ้นจากเขตศูนย์กลางเมืองไปทางทิศตะวันตกของพื้นที่ศึกษาจะมีความเปราะบางต่อ  การเกิดฝุ่นละออง
ลดต่ำลงอันเนื่องมาจากปัจจัยการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทพื้นที่ป่า

Article Details

บท
Research Articles