การพัฒนาคลังข้อมูลสรรพวิทยาท้องถิ่น : 100 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ด้วย AtoM
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและพัฒนาคลังข้อมูลสรรพวิทยาท้องถิ่น : 100 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ด้วย AtoM 2) เพื่อประเมินคุณภาพ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ ซึ่งเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพและแบบประเมินความพึงใจที่มีต่อคลังข้อมูลสรรพวิทยาท้องถิ่น : 100 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ทุกด้านมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการออกแบบและด้านการนำไปใช้ประโยชน์ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.00 และการประเมินความพึงพอใจ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.61 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านมีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการนำไปใช้ประโยชน์ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.64
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
* กองบรรณาธิการทรงไว้ซึ่งสิทธิในการพิจารณาและตัดสินการลงตีพิมพ์ในวารสาร
** ทัศนะและข้อคิดเห็นที่ปรากฎในบทความต่าง ๆ ของวารสารเป็นของผู้เขียน มิใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ
และมิใช่ความรับผิดชอบของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
References
จุฑามาศ ถึงนาค, นพดล เอกผาชัยสวัสดิ์, สุนิศา รอดจินดา และดารารัตน์ จุฬาพันธุ์. (2562). การพัฒนาและการจัดการคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยศิลปากร. Humanities, Social Sciences and arts, 12(1), 63-619.
ชัณษา สีแดง ธนพรรณ กุลจันทร์ และอังสนา ธงไชย. (2565). การพัฒนาคลังสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน คณะมนุษยศาสตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม โดยใชแนวคิดการออกแบบบริการ. มนุษยศาสตร์สาร, 23(2), 50-66.
ธิติพร ชาญศิริวัฒน์, ธีระ สาธุพันธ์, ธัญญะลักษณ์ มากดี และยุทธศักดิ์ ทองแสน. (2560). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น ลายต้นเทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารราชภัฏร้อยเอ็ด, 11(2), 69-79.
ธันวดี สุขประเสริฐ. (2560). การจัดการจดหมายเหตุส่วนบุคคลด้วยระบบ ISAD(G) ประสบการณ์ การจัดการบันทึกภาคสนาม ฐานข้อมูลจดหมายเหตุมานุษยวิทยา. สืบค้นจาก https://www.sac.or.th/databases/anthroarchive/article.php
นาริสา ทับทิม, ศศิพิมล ประพินพงศกร และแววตา เตชาทวีวรรณ. (2565). การพัฒนาคลังจดหมายเหตุดิจิทัลส่วนบุคคลของศาสตราจารย์ศิลป์พีระศรี. วารสารบรรณศาสตร์ มศว, 15(2), 1-15.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พัฒนา สุขประเสริฐ. (2558). ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการส่งเสริมการเกษตร. กรุงเทพฯ: ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. (2566). ประวัติความเป็นมา. สืบค้นจาก https://www.psru.ac.th/2023/?page_id=58
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2560). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ System analysis and design. (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.