ประสิทธิผลของกลยุทธ์ช่วยจำในการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

วัชรีพร เวียงสมุทร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิตติมา กาวีระ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ด้านคำศัพท์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกลยุทธ์ช่วยจำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2) ศึกษา  ความคิดเห็นของผู้เรียนต่อการการเรียนโดยใช้กลยุทธ์ช่วยจำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 16 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ระยะเวลาในการทดลอง 4 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลยุทธ์ช่วยจำ 2) แบบทดสอบความรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ 3) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ .05 2) ผลการสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้เรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้กลยุทธ์ช่วยจำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบประเด็นความรู้สึก 6 ประเด็นคือ นักเรียนรู้สึกสนุกสนาน นักเรียนจดจำคำศัพท์ได้ นักเรียนรู้สึกความสุข นักเรียนรู้สึกแปลกใหม่ นักเรียนรู้สึกชอบ และนักเรียนเข้าใจง่าย และกลยุทธ์ช่วยจำแบบร่างกาย (Physical Mnemonics) ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดในการเรียนรู้คำศัพท์โดยกลยุทธ์ช่วยจำ นอกจากนี้นักเรียนยังสามารถนำกลยุทธ์ช่วยจำแบบต่าง ๆ ประยุกต์ใช้ในการจดจำคำศัพท์และเนื้อหาในรายวิชาอื่น คือ ภาษาไทย สังคมศึกษา คอมพิวเตอร์ และประวัติศาสตร์ และสุดท้ายนักเรียนได้เรียนรู้ทักษะเพิ่มเติมคือ ทักษะการอ่าน ทักษะการฟัง ทักษะการพูด และความมั่นใจ

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2565. เข้าถึงจาก https://www.plan.bru.ac.th.

กันต์กมล พรมประกอบ, ประภาส ปานเจี้ยง, ชุติมา ทัศโร, และเก๊ตถวา บุญปราการ. (2562). ผลของการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้แบบกลวิธีช่วยจำคำศัพท์ภาษาจีนขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 16. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 11 (หน้า 1395-1403). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ธีร์วรา ปลาตะเพียนทอง. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ด้านคำศัพท์และความคงทน โดยใช้เทคนิคช่วยจำร่วมกับสมุดภาพคำศัพท์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลนครปฐม. (การค้นคว้าอิสระ, หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, ภาควิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ธีร์วรา ปลาตะเพียนทอง และภัทร์ธีรา เทียนเพิ่มพูล. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ด้านคำศัพท์และความคงทน โดยใช้เทคนิคช่วยจำร่วมกับสมุดภาพคำศัพท์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลนครปฐม. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(3), 533-547.

ซี่เลี่ยง มารีณีย์. (2565). สื่อและกลวิธีในการสอนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กประถมศึกษา. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(1), 404-416.

พิรมลักษณ์ ตันปาน. (2561). การพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ในการจัดการเรียนรู้ตามแนวภาษาเพื่อการสื่อสาร ประกอบเทคนิคนีมโมนิคส์. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).

สายสมร นรสิงหเริงฤทธ์. (2559). ผลของการใช้กลวิธีช่วยจำที่มีต่อการเรียนรู้และความคงทนในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเฉลิมช่วงวิทยาทาน จังหวัดฉะเชิงเทรา. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์).

สอนประจักษ์ เสียงเย็น. (2564). ผลของการใช้การเสริมแรงทางบวกเพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านดอนอุดม (เนยอุปถัมภ์). วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์, 7 (3), 15-26.

ศุภนิช มั่งมีศรี. (2560). การพัฒนาความสามารถด้านการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยใช้นิทานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. ใน รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์(หน้า 808). มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

Azmi, M., Najmi, M., and Rouyan, N. (2016). A case study on the effects of mnemonics on English vocabulary. International Journal of Applied Linguistics & English Literature, 5(7), 178-185. http://dx.doi.org/10.7575/aiac.ijalel.v.5n.7p.178

Akpan, J., Notar, C.E., and Beard, L. (2021). The impact of mnemonics as instructional tool. Journal of Education and Human Development, 10(3), 20-28.

Costuchen, A., Vaya, R., and Dimitrova, D. (2022). Roman palace: a videogame for foreign language vocabulary retention. International Journal of Emerging Technologies in learning (iJET), 17(5), 87-101. https://doi.org/10.3991/ijet.v17i05.27621

Drumm, M. (N.D). 4 types of mnemonic devices and how to use them. Retrieved from https://www.tckpublishing.com/mnemonic-devices/

Holden, William R. (1999). Learning to Learn: 15 Vocabulary Acquisition Activities, Tips and Hints. In Modern English Teacher, 8(2), 42-47.

Honeyfield, J. (1977). Word frequency and the importance of context in vocabulary learning. Psychological Science, 8(2), 816–825.

Hunt, R. R. (2011). Mnemonology: Mnemonics for the 21st Century. New York: London: Psycology press.

Lado, R. (1988). Language teaching: Teaching English across culture. New York: Mc GrawHill.

Mukhtoraliyevna, Z., and Madaminkhonqizi, S. (2022). Methods of mnemonics in pedagogical work with elementary school students. International Journal of Culture and Modernity, 20(13), 44-52.

Thompson, L. (2007). Vocabulary learning strategies. Retrieved from http://www.public.asu.edu/ickpl/learningvocab.htm