![](https://so01.tci-thaijo.org/public/journals/427/homepageImage_th_TH.jpg)
วารสารศิลป์ปริทัศน์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ยินดีรับบทความวิจัย บทความวิชาการทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ โดยบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาจะต้องไม่เป็นบทความวิจัย บทความวิชาการที่เคยได้รับการเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน หรือ ไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ของวารสารอื่น บทความทุกบทความที่ลงในวารสารฉบับนี้จะต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่านต่อหนึ่งบทความ (โดยผลการพิจารณาจะต้อง ผ่าน ทั้ง 3 ท่าน) (ตั้งแต่ฉบับที่ 2 ปี พ.ศ.2565) (double blinded) โดยวารสารศิลป์ปริทัศน์ได้จัดทำวารสารเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Online) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2561) เป็นต้นไป กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับ และการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง ซึ่งวารสารศิลป์ปริทัศน์ จะนำไปเผยแพร่ในฐานข้อมูล Thai-Journal Citation Index Centre (TCI) กลุ่มที่ 2
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จึงขอประชาสัมพันธ์และเชิญชวนคณาจารย์และผู้สนใจ ร่วมส่งบทความวิจัยหรือบทความวิชาการ เพื่อเผยแพร่ในวารสารวิชาการ "วารสารศิลป์ปริทัศน์" (Online) ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน) โดยส่งบทความผ่านทางเว็บไซต์ได้ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2567
หมายเหตุ ผู้มีความประสงค์ลงบทความในวารสาร จะต้องพิจารณาข้อมูล เงื่อนไข ขอบเขต วารสาร ที่เมนูหัวข้อ เกี่ยวกับวารสาร (About the Journal) เพื่อพิจารณารายละเอียด นโยบาย เงื่อนไข ขอบเขต ของวารสาร และทางวารสารจะถือว่าท่านได้อ่านและตกลงตามข้อกำหนดและเงื่อนไขตามที่วารสารกำหนด
ฉบับปัจจุบัน
ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 (2024): กรกฎาคม - ธันวาคม
วารสารศิลป์ปริทัศน์ ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 ปี พ.ศ. 2567 ของคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาฉบับนี้ ประกอบด้วยบทความ จำนวน 15 เรื่อง การใช้กกพื้นถิ่นเพื่อออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เพื่อเพิ่มรูปแบบทักษะการผลิตในชุมชนตามแนวคิดเศรษฐกิจฐานราก, การสร้างสรรค์อัตลักษณ์ใหม่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบพื้นที่แสดงสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน, ความงามของสีในบรรยากาศธรรมชาติ, สัญลักษณ์แห่งพุทธศรัทธา, แนวทางการพัฒนาการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์อาคารสายสุทธานภดล ตำหนักพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา, การออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับสร้างสรรค์ศิลปะการปั้นปูนสด กรณีศึกษางานปั้นปูนสดสกุลช่างเพชรบุรี, โครงการการออกแบบสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์ และถ่ายทอดเรื่องราววัฒนธรรมของผ้าไหม ในจังหวัดจังหวัดบุรีรัมย์, ศิลปะบาติกและมัดย้อมผ้ารีไซเคิล จากสีธรรมชาติเปลือกแสมทะเลความงามแห่งความยั่งยืน: กรณีศึกษา ชุมชนบ้านทอนลิบง เกาะลันตา จังหวัดกระบี่, “The Capital: คุณเหลือหัวใจกี่ดวง”: การศึกษาการใช้เครื่องมือการละครประยุกต์เพื่อสื่อสารความสำคัญในการสร้างรัฐสวัสดิการภายใต้สังคมเสรีนิยมใหม่, การสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์จากฐานความเชื่อและความกลัว, การศึกษาเรื่องบุคลิกภาพของแบรนด์สินค้าฟุ่มเฟือยที่เหมาะสมกับแนวคิดจักรราศีตะวันตก, การวิเคราะห์องค์ประกอบศิลป์ และการใช้วัสดุเพื่อการเรียนการสอนในสาขาวิชาจิตรกรรมกรณีศึกษา ผลงานศาสตราจารย์เกียรติคุณวิโชค มุกดามณี, การออกแบบอัตลักษณ์ของวิสาหกิจชุมชนปลาย่างบ้านนาจังหวัดพิจิตร, RESEARCH ON THE DESIGN METHOD OF CULTURAL AND CREATIVE PRODUCTS IN ZHUSHA TRADITIONAL VILLAGES BASED ON IMAGE TRANSFORMATION, THE ORIGIN AND DEVELOPMENT OF CHINESE NATIONAL VOCAL MUSIC FOR TEACHING IN THE MODERN CHINA
สำหรับวารสารในปีที่ 13 ฉบับที่ 1 ปี พ.ศ. 2568 กำลังเปิดรับผลงานเพื่อตีพิมพ์ จึงขอเชิญผู้สนใจ นักวิจัย อาจารย์ และนักศึกษา ส่งผลงานในลักษณะของบทความวิชาการหรือบทความวิจัยมาตีพิมพ์ในวารสารนี้ โดยบทความจะได้รับการประเมินคุณภาพจากกองบรรณาธิการ และพิจารณากลั่นกรอง (Peer review) โดยผู้ทรงคุณวุฒิตามสาขาที่เกี่ยวข้องจากหลากหลายสถาบันจำนวน 3 ท่าน/บทความ บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารนี้จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาสาขาวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป
ในนามของกองบรรณาธิการ ขอกราบขอบพระคุณท่านอธิการบดี ท่านรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนา ท่านผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ท่านผู้ทรงคุณวุฒิ ท่านผู้นำเสนอบทความ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านที่ได้ให้การสนับสนุนวารสารศิลป์ปริทัศน์ฉบับนี้ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
เผยแพร่แล้ว: 2024-12-27