พฤติกรรมการอ่านของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Main Article Content

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชโรชีนีย์ ชัยมินทร์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุรชาติ พุทธิมา
ฐิตารีย์ ตาแก้ว
เสาวลักษณ์ สุรินต๊ะ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ที่มุ่งศึกษาพฤติกรรมการอ่านและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการอ่านของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 375 คน ได้รับแบบสอบถามกลับมาทั้งสิ้น 301 ชุด (ร้อยละ 80.27) สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ในการอ่านเพื่อค้นคว้าข้อมูลประกอบการเรียน (ร้อยละ 64.78) โดยส่วนใหญ่อ่านในช่วงเวลา 16.00-19.59 น. (ร้อยละ 51.83) และใช้ระยะเวลาในการอ่าน 16-30 นาทีต่อครั้ง (ร้อยละ 45.85) มีความถี่ คือ อ่านนาน ๆ ครั้ง (ร้อยละ 29.90) สถานที่ที่ใช้อ่าน คือ ที่บ้าน (ร้อยละ 52.82) เนื้อหาที่อ่านส่วนใหญ่เป็นความรู้ทั่วไป (ร้อยละ 64.45) สื่อสิ่งพิมพ์ที่อ่านคือ พจนานุกรม (ร้อยละ 60.13) สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่อ่านคือ สื่อการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ คือ พาวเวอร์พอยต์ (ร้อยละ 59.80) และสื่อสังคมออนไลน์ที่อ่าน คือ เฟซบุ๊ก (ร้อยละ84.72)โดยส่วนใหญ่จะอ่านสื่อสิ่งพิมพ์ที่ยืมจากห้องสมุด (ร้อยละ 51.50) ส่วนสื่ออิเล็กทรอนิกส์จะอ่านโดยการอ่านฟรีหรือดาวน์โหลดฟรีผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ร้อยละ 76.41) ซึ่งปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการอ่าน ได้แก่ ปัจจัยแรงจูงใจในการอ่านภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.67, SD.=0.87)  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า หัวข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านส่วนบุคคล ( =3.87, SD.=0.83)  รองลงมา คือ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา ( = 3.80, SD.=0.85)  และปัจจัยด้านครอบครัว ( =3.68, SD.=0.83)  ส่วนปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ปัจจัยด้านเพื่อน ( =3.32, SD.=1.02)  ในทางตรงกันข้ามปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการอ่าน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =3.37, SD.=1.03)  พบว่า หัวข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านเพื่อน ( =3.70, SD.=1.02)  รองลงมา คือ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา ( =3.68, SD.=0.91)  และปัจจัยด้านส่วนบุคคล ( =3.58, SD.=1.01)   ส่วนปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ปัจจัยด้านครอบครัว ( =2.53, SD.=1.29)   

Article Details

บท
บทความวิจัย