งานจิตรกรรมแบบเหมือนจริงในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อมุ่งเน้นศึกษาวิวัฒนาการของงานจิตรกรรมแบบเหมือนจริงในประเทศไทยที่มีรากฐานการกำเนิดมาจากทวีปยุโรป ซึ่งได้รับอิทธิพลแนวทางการสร้างงานจิตรกรรมแบบเหมือนจริง ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เนื่องจากในช่วงรัชสมัยดังกล่าวมีการปรับเปลี่ยนระบบการศึกษาให้สอดคล้องตามแบบอย่างของประเทศที่มีวิวัฒนาการทางด้านงานศิลปะอย่างโดดเด่น เพื่อให้ทัดเทียมและเข้ากับยุคสมัย แต่ด้วยประเทศไทยมีแนวทางการสร้างงานจิตรกรรมของตนเองอยู่ก่อน ดังนั้นการรับวิธีการสร้างสรรค์งานจิตรกรรมแบบเหมือนจริง ในช่วงแรกจึงมีลักษณะความเป็นลวดลายแบบไทย ๆ ไม่ละทิ้งรูปแบบประเพณีของตนเอง วิวัฒนาการจิตรกรรมแบบเหมือนจริงจึงเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป มีเอกลักษณ์เป็นของตนเองกลมกลืนไปกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน วัฒนธรรมแบบดั้งเดิม ไม่มีความขัดแย้งกับแนวคิดทางการสร้างสรรค์งานศิลปะด้านอื่น ๆ และทำให้งานจิตรกรรมแบบเหมือนจริงในประเทศไทยได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
Article Details
* กองบรรณาธิการทรงไว้ซึ่งสิทธิในการพิจารณาและตัดสินการลงตีพิมพ์ในวารสาร
** ทัศนะและข้อคิดเห็นที่ปรากฎในบทความต่าง ๆ ของวารสารเป็นของผู้เขียน มิใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ
และมิใช่ความรับผิดชอบของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่