การประเมินความอ่อนไหวต่อการเกิดน้ำท่วมด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และแบบจำลองดัชนีทางสถิติในลุ่มน้ำแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

วรวิทย์ ศุภวิมุติ
บรมศักดิ์ กลั่นเรืองแสง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินพื้นที่อ่อนไหวต่อการเกิดน้ำท่วมในลุ่มน้ำแม่วาง และเพื่อประเมินประสิทธิภาพของแบบจำลองด้วยวิธีการวิเคราะห์พื้นที่ใต้เส้นโค้ง ศึกษาโดยใช้ข้อมูลพื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมในอดีตมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดน้ำท่วมจำนวน 10 ปัจจัย  ประกอบด้วย ความสูงภูมิประเทศ ความลาดชัน ทิศทางด้านลาด ดัชนีความแตกต่างพืชพรรณแบบนอร์มอลไลน์ดัชนีความชื้นภูมิประเทศ ปริมาณน้ำฝน การระบายน้ำของดิน ความหนาแน่นทางน้ำ ความหนาแน่นถนน และการใช้ที่ดิน ข้อมูลพื้นที่เกิดน้ำท่วมในอดีตนำมาสุ่มจำแนกเป็น ข้อมูลเรียนรู้ ร้อยละ 70 และ ข้อมูลทดสอบ ร้อยละ 30 ข้อมูลเรียนรู้นำมาซ้อนทับกับทั้ง 10 ปัจจัยเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ค่าดัชนีทางสถิติ และนำไปใช้ในการกำหนดค่าคะแนนความอ่อนไหวต่อการเกิดน้ำท่วมของแต่ละปัจจัย ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีค่าดัชนีความอ่อนไหวสูงสุด คือ  พื้นที่ที่การระบายน้ำเลว รองลงมา คือ ปัจจัยย่อยความหนาแน่นถนนช่วง 5.31 - 7.34 กิโลเมตรต่อตารางกิโลเมตร ผลการวิเคราะห์ด้วยการซ้อนทับข้อมูลพบว่าพื้นที่ลุ่มน้ำแม่วาง มีพื้นที่อ่อนไหวต่อการเกิดน้ำท่วมในระดับสูงมาก 65.11 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 11.42 ของพื้นที่ศึกษา ส่วนใหญ่อยู่บริเวณที่ราบทางตะวันออกของพื้นที่ โดยเฉพาะในตำบลยางคราม ตำบลสันติสุข และตำบลบ้านกาด ผลการประเมินประสิทธิภาพของแบบจำลองด้วยวิธีหาพื้นที่ใต้เส้นโค้ง พบว่า มีค่าอัตราความสำเร็จคิดเป็นร้อยละ 94.84 และอัตราการทำนาย คิดเป็นร้อยละ 94.85

Article Details

บท
บทความวิจัย