แรงจูงใจภายในของผู้เรียนในการเรียนออนไลน์ตามทฤษฎีการประเมินการรู้คิด: กรณีศึกษารายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับธุรกิจการบิน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

Main Article Content

Pittaya Yamo
กุลรวี กลิ่นกลั่น

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจภายในของผู้เรียนในการเรียนออนไลน์ตามทฤษฎีการประเมินการรู้คิด เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา มีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 10 คน ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับธุรกิจการบิน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง โดยใช้วิธีวิทยาการวิเคราะห์แก่นสาระ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้ด้านความต้องการเป็นคนที่มีทักษะหรือความสามารถ และการรับรู้ด้านความต้องการอิสระในการตัดสินใจด้วยตนเอง ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ ปัจจัยด้านสังคม และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้ด้านความต้องการเป็นคนที่มีทักษะหรือความสามารถมี 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านสังคม ประกอบด้วย ตัวผู้เรียน อาจารย์ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียน และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย การเรียนออนไลน์ บรรยากาศในชั้นเรียน อุปกรณ์การเรียนและการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และกิจกรรมการเรียนรู้ ส่วนปัจจัยด้านการรับรู้ด้านความต้องการอิสระในการตัดสินใจด้วยตนเองมี 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านสังคมประกอบด้วย บุคคลรอบข้าง/ครอบครัว ตัวผู้เรียน อาจารย์ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียน และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมประกอบด้วย การใช้เครื่องมือในการเรียนออนไลน์ สิ่งรบกวนในการเรียน และการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ COVID-19

Article Details

บท
บทความวิจัย