การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ด้านสุขภาพด้วยการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ

Main Article Content

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรชาติ พุทธิมา

บทคัดย่อ

จากสถิติจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยกำลังจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ และมีแนวโน้มว่าจะเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ในที่สุด ดังนั้น ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจึงต้องกำหนดนโยบายและมาตรการรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต กิจกรรมการเรียนรู้ด้านสุขภาพด้วยการออกกำลังกายของผู้สูงอายุเป็นหนึ่งในกิจกรรมการศึกษานอกระบบเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่มีจุดมุ่งหมายในการเสริมสร้างพลังอำนาจทางสุขภาพของผู้สูงอายุตามแนวคิดพฤฒพลัง เพื่อทำให้ผู้สูงอายุตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพ และมีความรู้ในการดูแลสุขภาวะ รวมทั้งใช้การออกกำลังกายเป็นวิธีหนึ่งในการสร้างเสริมสุขภาพของตนเอง ทั้งนี้ การออกแบบกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านสุขภาพด้วยการออกกำลังกายของผู้สูงอายุประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ การวางแผนดำเนินโครงการ การลงมือปฏิบัติ และการประเมินผลการดำเนินงาน ซึ่งการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนผู้ออกแบบกิจกรรมต้องคำนึงถึงทฤษฎีและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุ เช่น ปรัชญามนุษยนิยม ปรัชญาพิพัฒนาการนิยม แนวคิดการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ แนวคิดการเรียนรู้แบบชี้นำตนเอง ฯ เพื่อให้สามารถจัดกิจกรรมได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564). สังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันและเศรษฐกิจในประเทศไทย. สืบค้นจาก https://dop.go.th/th/know/15/926

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2565). สถิติผู้สูงอายุ. สืบค้นจาก https://www.dop.go.th/th /know/side/1/1/1159

กรมพลศึกษา. (2563). แผนปฏิบัติการด้านนันทนาการ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2563 -2565). กรุงเทพฯ: กรมพลศึกษากระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กรมสุขภาพจิต. (2563). 93 วันสู่สังคม"คนชรา" 5 จังหวัด? คนแก่เยอะสุด-น้อยสุด. สืบค้นจาก https://www.dmh.go.th

กุนนที พุ่มสงวน. (2557). การสร้างเสริมพลังอำนาจทางสุขภาพ: บทบาทที่สำคัญของพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 86-90.

คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ. (2561). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545 – 2564) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานผู้สูงอายุแห่งชาติ. (2552). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552. สืบค้นจาก https://www.dop.go.th/th/laws/1/28/766

โครงการสุขภาพคนไทย. (2562). ผู้สูงอายุ. ใน สุขภาพคนไทย 2562(น. 32-33). นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ชนกนารถ บุญวัฒนะกุล. (2561). จิตวิทยาการเรียนรู้กับการศึกษานอกระบบ. ใน จิตวิทยาและวิทยาการการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 4). นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชลธิชา จันทคีรี. (2559). การส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายในผู้สูงอายุที่เปราะบาง. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 24(2), 1-13.

ธนัมพร ทองลอง และเพียงเพ็ญ บุษมงคล. (2565). การพัฒนารูปแบบการออกกำลังกายด้วยการรำเซิ้งกระติ๊บเพื่อส่งเสริมภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 29(2), 78-92.

นงนุช เพ็ชร์ร่วง และธิติมาส หอมเทศ. (2554). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการออกกำลังกายแบบมีส่วนร่วมต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในชนบท. วารสารพยาบาลทหารบก, 12(2), 7-13.

บวรศม ลีระพันธุ์ และคณะ. (2559). แนวคิดและแนวทางปฏิบัติเพื่อตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพของประชากรกลุ่มเปราะบางในประเทศไทย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 10(4), 442-464.

ปิยะวัฒน์ โกมลมิศร์ และประเดิมชัย คงคํา. (2549). การดูแลผู้ป่วยตับแข็งในลักษณะผู้ป่วยนอก. ใน โรคทางเดินอาหารและการรักษา. กรุงเทพ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เพ็ญ สุขมาก. (2561). สุขภาพ และปัจจัยกำหนดสุขภาพ. ใน หลักคิด : สุขภาพ สุขภาวะ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพ เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ: การประเมินผลงานสร้างเสริมสุขภาพ เครือข่ายนักประเมินผลงานสร้างเสริมสุขภาพภาคเหนือ.สืบค้นจาก https://mehealthpromotion.com /upload/forum/paper_ch3.pdf

ฤทัยรัตน์ หมู่หนอง, สุนีย์ ละกำปั่น และทัศนีย์ รวิวรกุล. (2565). ผลของโปรแกรมส่งเสริมความสามารถตนเองในการป้องกันการหกล้มด้วยการออกกำลังกายไทชิสำหรับผู้สูงอายุในชุมชนอาคารสูง. วารสารพยาบาลทหารบก, 23(1), 255-264.

วณัฐพงศ์ เบญจพงศ์, กฤชญา พุ่มพิน และวิมลมาลย์ สมคะเน. (2564). การออกแบบการส่งเสริมสุขภาพทางกายสำหรับผู้สูงอายุยุคความปกติใหม่ : กรณีศึกษาจากกิจกรรมตรวจสุขภาพทางกายภายใต้งานบริการวิชาการแก่ชุมชนปิ่นเจริญ 1-2 และชุมชนสินวงษ์. Journal of Roi Kaensarn Academic, 6(11), 147-164.

วิพุธ พูลเจริญ. (2544). สุขภาพ :อุดมการณ์และยุทธศาสตร์ทางสังคม รายงานการศึกษาประกอบการปฏิรูประบบสุขภาพและการร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

ศิโรช แท่นรัตนกุล และศุภณิช จันทร์สอง. (2564). นวัตกรรมการสื่อสารเพื่อขับเคลื่อนกระบวนการยุติธรรมสำหรับผู้สูงอายุในยุคดิจิทัล. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สุมาลี สังข์ศรี. (2562). การจัดการศึกษานอกระบบสำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ. ใน การจัดการศึกษานอกระบบ(น.1-35). (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. สืบค้นจาก http://www.ystpeo.moe.go.th/download/oit_06/oit-06-03-05.pdf

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). ดัชนีพฤฒพลังผู้สูงอายุไทย (Active Ageing Index of Thai Elderly). กรุงเทพ: เท็กซ์แอนด์เจอร์นัลพับลิเคชั่น.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 "พลิกโฉมประเทศไทยสู่สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน". สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/download /document/Yearend/2021/plan13.pdf

หทัยชนก หมากผิน. (2563). ผลของการออกกำลังกายแบบฟ้อนไทยทรงดำประยุกต์ต่อ คุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุที่มีโรคความดันโลหิตสูงและเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 26(1), 28-41.

อมร สุวรรณนิมิต. (2553). การพยาบาลปฐมภูมิกับการเสริมสร้างพลังอำนาจชุมชน. มหาสารคาม: อภิชาตการพิมพ์.

อัมภิชา นาไวย์และคณะ. (2563). การพัฒนารูปแบบการออกกําลังกายแบบฟ้อนเจิงเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพทางด้านร่างกายและจิตใจของผู้สูงอายุในชุมชนที่มีอาการปวดข้อเข่า. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(3), 266-285.

American College of Sports Medicine. (2000). ACSM’s resource manual for guidelines for exercise testing and prescription (6th ed.). Philadelphia: Lippincott William & Wilkins.

Elias J. E. & Meriam, S. B. (2005). Philosophical Foundations of Adult Education. (3rd ed.). Florida: Krieger Publishing Company.

Knowles, M. (1984). The Adult Learner: A Neglected Species. (3rd ed.). Houston, TX: Gulf Publishing.

Thanathiti, T. (2019). Empowerment: Mechanism to Develop Life Quality for Thai Persons with Disabilities. PSAKU International Journal of Interdisciplinary Research, 8(1), 97-109.

World Health Organization. (2002). Active Ageing: A Policy Framework. Geneva: World Health Organization.