การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่อง การแต่งกลอนสุภาพ ร่วมกับการสอนตามแนวคิดของโรเบิร์ตกาเย่ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

พิชญพรพรรณ ศรีมูลเรือง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะเรื่อง การแต่งกลอนสุภาพ โดยการสอนตามแนวคิดของโรเบิร์ตกาเย่ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพ   ตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่อง การแต่งกลอนสุภาพ ร่วมกับการสอนตามแนวคิดของโรเบิร์ตกาเย่ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะเรื่อง การแต่งกลอนสุภาพ โดยการสอนตามแนวคิดของ       โรเบิร์ตกาเย่ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านแม่หวาน อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 30 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ เรื่อง การแต่งกลอนสุภาพ โดยสอนตามแนวคิดของโรเบิร์ตกาเย่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเท่ากับ 90.08/90.11 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 2) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่องการแต่งกลอนสุภาพ โดยสอนตามแนวคิดของโรเบิร์ตกาเย่ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้แบบฝึกทักษะเรื่อง การแต่งกลอนสุภาพ โดยสอนตามแนวคิดของโรเบิร์ตกาเย่  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมและเป็นรายข้อทุกข้อ    อยู่ในระดับมากที่สุด  (  = 4.77, S.D.= 0.15) 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. กรุงเทพฯ:กระทรวงศึกษาธิการ.

ชุมพร นํานํานพนันท์. (2554). การพัฒนาแบบฝึกทักษะเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนสื่อสารสำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

นัยนา สุทธิธรรม. (2517). ฉันทลักษณ์ไทยร่วมสมัยในการสอนแต่งคำประพันธ์ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2541). การพัฒนาการสอน. กรุงเทพฯ: สุรีวิริยาสาส์น.

ปิยะวรรณ กันภัย. (2558). ผลการเรียนรู้แบบผสมผสานตามแนวคิดของกาเย่ เรื่อง คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ภัทรพงศ์ คู่กระสังข์. (2551) การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ของโรเบิร์ตกาเย่ เรื่อง การเขียนเว็บเพจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มาริสา เหมันต์. (2564). การพัฒนาความสามารถในการแต่งคำประพันธ์ประเภทกลอนสุภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน CIPPA ร่วมกับอินโฟกราฟิก. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยนเรศวร.

รินณา วิถาทานัง. (2554). การพัฒนาทักษะการเขียนสื่อสารกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะมุ่งสู้ประสบการภาษาโรงเรียนบ้านจอกขวาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิทยา พาภิรมย์. (2555). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนกลอนสุภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วสุณี รักษาจันทร์. (2541). หลักภาษาไทย. กรุงเทพฯ: เดอะบุคส์.

สมนึก ภัททิยธนี. (2544). การวัดผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

สมชาย ปราการเจริญ. (2555). การพัฒนาและหาประสิทธิภาพของเว็บช่วยสอนที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ของโรเบิร์ตกาเย่ วิชา การประยุกต์คอมพิวเตอร์กับงานสถิติบนระบบ Moodle LMS. วิทยานิพนธ์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

Bower, G. H. & Hilgard, E. R. (1981). Theories of learning. (5th ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Gagne, R. M. (1985). The conditions of learning. New York: Holt, Rinehart & Winston.

Fosgate, H. L. (2001). Gifted middle school student collaboratively paired oral responses to poetry. (Unpublished doctoral Dissertation). University of Gorgia. Athens, Georgia.

Jame, D. L. (1998). The use of humorous content material and student attitude toward poetry. (Unpublished doctoral Dissertation). Wayne State University. Detroit, Michigan.

Klein, S. B. (1991). Learning. New York: McGraw-Hill.

McShane, M. R. & Von Glinow, M. A. (2000). Organization behavior. New York: Irwin McGraw-Hill.