แนวทางการประชาสัมพันธ์ของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

Main Article Content

ปภาดา ธรรมจันทา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพและปัญหาการประชาสัมพันธ์ของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2) การเปิดรับข่าวสารของนักศึกษาต่อการประชาสัมพันธ์ของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม  3) แนวทางการประชาสัมพันธ์ของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เป็นวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาปริญญาตรีภาคปกติ ปีการศึกษา 2566 จำนวน 388 คน  โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ  เครื่องมือที่ใช้วิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า สภาพการประชาสัมพันธ์ พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่มีความพึงพอใจ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  มีความพึงพอใจมากที่สุดคือ ด้านการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร และปัญหาการประชาสัมพันธ์ห้องสมุด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ปัญหาที่พบมาก คือ การประชาสัมพันธ์ข่าวสารและกิจกรรมไม่ทั่วถึง การเปิดรับข่าวสารของนักศึกษาต่อการประชาสัมพันธ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเปิดรับข่าวสารการประชาสัมพันธ์มากที่สุดคือ ด้านสื่อบุคคล  แนวทางการประชาสัมพันธ์ พบว่ามี 4 ด้าน คือ1) ด้านการวางแผนงานประชาสัมพันธ์ 2) ด้านการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ 3) ด้านบุคลากร 4) ด้านการประเมินผล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ ใจรื่น. (2556). การนำเสนอกระบวนการประชาสัมพันธ์และการเผยแพร่ข่าวสารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กมลทิพย์ ณ สงขลา. (2555). การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการประชาสัมพันธ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัย .วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. (2566). ข้อมูลนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. สืบค้นจาก https://plan.rmu.ac.th/th/

ธนะพันธุ์ การคนซื่อ. (2562). การเพิ่มสถิติการยืมหนังสือด้วยทฤษฎีการตลาดหางยาว. สืบค้นจาก https://pulinet.oas.psu.ac.th/index.php/journal/article/view/348

นุสรา อุมา และแก้ววราภรณ์ กรแก้ว. (2566). การส่งเสริมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศและบริการโดยใช้พอดแคสต์. สืบค้นจาก https://pulinet.oas.psu.ac.th/ index.php/journal/article/view/501

ปรัชญาวรรณ จันทะขาน. (2564). การพัฒนากลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการใช้บริการสารสนเทศของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

พรพิทักษ์ แม้นศิริ. (2561). หลักและกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ 4.0. กรุงเทพฯ : กรมประชาสัมพันธ์.

พิมลอร ตันหัน. (2557). Facebook กับการประชาสัมพันธ์ห้องสมุด. วารสารห้องสมุด, 58(1), 55-61.

มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ. (2565). รายงานผลการดำเนินโครงการการจัดการความรู้เรื่อง การประชาสัมพันธ์เพื่อการสื่อสารภายในและภายนอกของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาสารคาม: สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

รินรดา มะอาลา, สุภาภรณ์ ศรีดี และวิทยาธร ท่อแก้ว. (2564). การประชาสัมพันธ์ด้วยสื่อสังคมออนไลน์ของเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 5(1), 299-314.

วงศกร ชัยรัตนะถาวร, แววตา เตซาทวีวรรณ และสมชาย วรัญญานุไกร. (2557). การวิเคราะห์การใช้เฟซบุ๊กของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย. ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วรรณี เบ็ญจวัฒนาผล, นงพงา ลีลายนะ และดิเรก ธรรมารักษ์. (2560). การบริหารงานประชาสัมพันธ์ในมหาวิทยาลัยเอกชน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 9(2), 135-140.

ศิริวรรณ จุลทับ และจินตนา ตันสุวรรณนนท์. (2558). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เชิงรุกของสถาบัน อุดมศึกษาเขตภูมิศาสตร์ภาคใต้. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 2(2), 175–194.

ศุมรรษตรา แสนวา. (2555). บทบาทและความรู้ความสามารถของบรรณารักษ์ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2565, 25 พฤษภาคม). Special human book:Life’s good อยู่กับตัวเองให้เป็น ทำงานกับคนอื่นให้สุข. สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v=4gzvIG63EKs

สุจิตรา สีหาอาจ, สมชาย วรัญญานุไกร และศุมรรษตรา แสนวา. (2561) การจัดบริการสารสนเทศเชิงรุกของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา. วารสารบรรณศาสตร์ มศว, 11(1), 92-104.

สุธัญญา กฤตาคม. (2564). กรอบแนวคิดการศึกษาการประชาสัมพันธ์เบื้องต้น. Journal of Modern Learning Development, 6(5), 261 – 273.

เสาวภา เพ็ชรรัตน์ และเนาวลักษณ์ แสงสนิท. (2566). การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือของผู้ใช้บริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (TSU-LiNet) เพื่อส่งเสริมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ. สืบค้นจาก https://pulinet2023.pulinet.org/

เสาวลักษณ์ บุญเจริญรักษา. (2550) การเปิดรับ ความพึงพอใจ และการใช้ประโยชน์สื่อประชาสัมพันธ์ห้องสมุดของนักศึกษาระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อมรรัตน์ ศิริไปล์. (2560). ศึกษาแนวทางการพัฒนาการให้บริการของงานห้องสมุดและสารสนเทศของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

อัณณ์ภิศา ราร่องคำ. (2561). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เชิงรุกที่มีผลต่อภาพลักษณ์ของคณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 10(4), 144-154.

อิสยาห์ พันศิริพัฒน์. (2566). การวิเคราะห์ข้อมูลการให้บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้าด้วย Pivot Table ของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สืบค้นจาก https://pulinet2023.pulinet.org/

อุไร ไปรฮูยัน และสุพรรษา บุญเกื้อ. (2564). การใช้อินโฟกราฟิกในการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศและบริการของห้องสมุดมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง. สืบค้นจาก https://pulinet.oas.psu.ac.th/index.php/journal/ article/view /431/411

Yamane. (1973). Statistic: An introductory analysis. (3rd ed.) New York: Harper International.