สวัสดิการแรงงานต่างด้าวของรัฐไทย : กรณีศึกษาสิทธิด้านสุขภาพของแรงงานชาวพม่าในจังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

อเนก สุขดี
จรูญ แป้นแก้ว
ภัทรพล กลิ่นเจาะ
นภัสวรรณ ศรีเมือง
ณัฐนิชา ณ ระนอง
จุฑามาศ อินทร์สุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสิทธิด้านสุขภาพของแรงงานชาวพม่า 2) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคที่เกี่ยวกับสิทธิด้านสุขภาพของแรงงานชาวพม่าในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับสิทธิด้านสุขภาพของแรงงานชาวพม่า การวิจัยครั้งนี้ใช้ข้อมูลจากเอกสารและจากเจ้าหน้าที่รัฐ 5 คน ผู้ประกอบการ 5 คน และแรงงานชาวพม่า 10 คน รวมทั้งสิ้น 20 คนโดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยใช้เแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอผลการวิเคราะห์ในเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) แรงงานชาวพม่าที่เข้ามาทำงานในเขตเทศบาลนครพิษณุโลกอย่างถูกต้องตามกฎหมายจะมีสิทธิในการได้รับสิทธิสวัสดิการด้านสุขภาพ ได้แก่ ประกันสังคมและประกันสุขภาพจากรัฐไทยเช่นเดียวกับแรงงานชาวไทย ทั้งนี้ แรงงานชาวพม่าที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าวจะต้องผ่านการตรวจสุขภาพและทำบัตรประกันสุขภาพตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดและขึ้นทะเบียนตามระบบของแรงงานจังหวัดในพื้นที่ 2) ปัญหา อุปสรรคที่เกี่ยวกับสิทธิด้านสุขภาพของแรงงานชาวพม่าในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก ได้แก่ ปัญหาการขึ้นทะเบียนซึ่งมีขั้นตอนที่มีความยุ่งยาก ซับซ้อนและใช้เอกสารจำนวนมาก ปัญหาการสื่อสารซึ่งมีข้อจำกัดทางภาษาและขาดคนกลางช่วยแปลภาษาและปัญหาการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพของแรงงานสตรีชาวพม่าที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ 3) ข้อเสนอแนะ คือ รัฐควรจัดบริการการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวผ่านระบบออนไลน์ ควรมีการเพิ่มอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ให้เพียงพอในการให้บริการแรงงานต่างด้าว ควรลดขั้นตอนการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวและควรจัดให้มีล่ามแปลภาษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิราภรณ์ ไพรเถื่อน. (2564). ความเป็นอื่น”และการเข้าถึงสวัสดิการทางสังคมของแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาที่ถูกกฎหมายในสถานการณ์โควิด-19. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เฉลิมพล แจ่มจันทร์ และคนอื่น ๆ. (2560). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่องการบริหารจัดการระบบประกันสุขภาพและบริการสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับแรงงานข้ามชาติหลังการเปลี่ยนแปลงนโยบายจัดการแรงงานข้ามชาติ พ.ศ.2555. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ทรงชัย ทองปาน. (2563). องค์ความรู้ว่าด้วยแรงงานข้ามชาติกับสุขภาพ. วารสารสุขศึกษา, 43(2), 1-17.

เบญจพร ทองมาก และวรวิทย์ มิตรทอง. (2564). การรับรู้สิทธิประโยชน์ของบัตรประกันสุขภาพและบัตรประกันสังคมในกลุ่มแรงงานต่างด้าวและบุคลากร ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 16(1), 53-64.

วิชชุกาญจน์ พาโนมัย. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการเคลื่อนย้ายแรงงานเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม ในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองมหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สาทิณี ศิรไพบูลย์. (2561). การคุ้มครองทางสังคมและสิทธิประโยชน์ประกันสังคมสำหรับแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ. วารสารวิจัยสังคม, 41(2), 97-140.

สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์ และนรินทร์ สังข์รักษา. (2560). รูปแบบวิถีชีวิตของแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาร์ในพื้นที่เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร. Veridian E-Journal Silpakorn University. 10(3), 2420-2439.

สุทธิลักษณ์ แสงสุวรรณ. (2558). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่องสิทธิแรงงานและความคุ้มครองทางสังคมของแรงงานข้ามชาติในอาเซียน : กรณีศึกษานโยบายของรัฐไทยต่อแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่า. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

สำนักงานจัดหางานจังหวัดพิษณุโลก. (2565). รายงานสถานการณ์แรงงานจังหวัดพิษณุโลก ไตรมาส 2 ปี 2565 (เมษายน– มิถุนายน 2565). พิษณุโลก: สำนักงานจัดหางานจังหวัดพิษณุโลก.

Ravenstein. E. G. (1889). The laws of migration. Journal of the Statistical Society, XLVIII(Part II), 241-301.