การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค CIRC เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

กิตติยาพร สุทโธ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค CIRC เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค CIRC เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค CIRC เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมรูปแบบ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินทักษะการอ่านและการเขียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t – Test (Dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานพบว่า การสอนโดยใช้เทคนิค CIRC เป็นวิธีการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ แล้วถ่ายทอดความเข้าใจที่ได้จากการอ่านออกมาในรูปของการเขียนการเล่าเรื่อง สรุปความด้วยตนเอง 2) ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค CIRC เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน ใช้รูปแบบ “PGPS Model” ประกอบด้วย ขั้นเตรียมความพร้อม (P) ขั้นกระบวนการกลุ่ม (G) ขั้นนำเสนอเนื้อหาใหม่ (P) ขั้นการแลกเปลี่ยน (S) 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค CIRC เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.98/83.25 4) ผลการประเมินผลและปรับปรุง พบว่า ก่อนเรียนและหลังเรียนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 การเปรียบเทียบทักษะการอ่านและการเขียน มีแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค CIRC เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนมีค่าเฉลี่ยในระดับมาก

Article Details

บท
Research Articles

References

กองวิจัยทางการศึกษา. (2555). การพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพต่อการเรียนรู้ของนักเรียน. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

ทิวา นันท์ตา. (2559). การพัฒนารูปแบบการสอนแบบเน้นภาระงาน และการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์และ การเขียนภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. สืบค้นจาก http://202.44.68.33/node/160369

นรินทร์ สังข์รักษา. (2554). การวิจัยและพัฒนาการศึกษา. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ประนัดดา อรุณในเมือง. (2554). การเปรียบเทียบความสามารถในการรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนตามรูปแบบการสอนโดยใช้สมองเป็นฐานกับรูปแบบการสอนโดยการเรียนแบบร่วมมือ (เทคนิค CIRC) และการสอนตามวิธีปกติ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

ฟาฏินา วงศ์เลขา. (2556). การพัฒนาภาษาอังกฤษ เตรียมเด็กไทยสู่เวทีโลก. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

ภัทราวดี ยวนชื่น. (2553). การเปรียบเทียบความสามารถด้านการฟัง การพูดภาษาอังกฤษและ ความสนใจในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนโดยใช้กิจกรรมการเรียนแบบศูนย์การเรียน ตามแนวทฤษฎีธรรมชาติกับแนว การสอนแบบเดิม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.

สมคิด จันทรคณา. (2554). การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านและเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.

สมบัติ กาญจนารักพงศ์. (2553). วิธีสร้างนวัตกรรมสำหรับครูมืออาชีพ. กรุงเทพมหานคร: 21 เซ็นจูรี่.

สุภาวรรณ ศรีสุขใส. (2554). การพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษเรื่อง Travel โดยใช้เทคนิค CIRC สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ไสว ฟักขาว. (2559). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. กรุงเทพมหานคร: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

Johnson, D.W. & Johnson, R.T. (1995). Action research: cooperative learning in the science classroom. Journal of Science and Children, 24(2), 31–32.

Robert, G.M. (1985). The Conditions of Learning and Theory of Instruction. New York: Holt Rinehart and Winston.