การจัดพิมพ์ต้นฉบับ
การจัดพิมพ์ต้นฉบับ
1. บทความต้องมีความยาวรวมรายการอ้างอิงแล้วไม่เกิน 15 หน้า
2. พิมพ์ด้วย Microsoft Word 2013 for Windows เท่านั้น
3. จัดพิมพ์เป็น 1 คอลัมน์ โดยมีการตั้งค่าหน้ากระดาษ ดังนี้
3.1 ขอบด้านบน 1.5 นิ้ว
3.2 ขอบด้านล่าง 1 นิ้ว
3.3 ขอบด้านซ้าย 1 นิ้ว
3.4 ขอบด้านขวา 1 นิ้ว
4. การเรียงลำดับหัวข้อของเนื้อเรื่องให้ใช้เลขกำกับ ให้ใช้ตัวหนา บทนำเป็นหัวข้อหมายเลข 1 และ
หากมีหัวข้อย่อยให้ใช้เลขโรมัน ระบบทศนิยม กำกับหัวข้อย่อย เช่น 1.1 เป็นต้น
5. แบบและขนาดตัวอักษร จัดพิมพ์ดังนี้
5.1 ใช้ตัวอักษรแบบ “TH SarabunPSK”
5.2 ชื่อบทความให้ใช้ตัวอักษรขนาด 18 Point ตัวหนา
5.3 ชื่อผู้นิพนธ์ บทคัดย่อ และเนื้อความต่าง ๆ ใช้ตัวอักษรขนาด 14 Point ตัวปกติ
5.4 Footnote ใช้ตัวอักษรขนาด 12 Point ตัวปกติ
5.5 ชื่อหัวข้อและเลขหัวข้อ 1, 2, 3, … และ1, 1.2, 2.1, … ใช้ตัวอักษรขนาด 14 Point ตัวหนา
5.6 หัวข้อ 1, 2, 3, … ให้ชิดขอบซ้าย
5.7 การย่อหน้า ย่อหน้าแรก ให้ตั้งค่าที่ .39 นิ้ว ย่อหน้าที่ 2 ตั้งค่าที่ .63 นิ้ว และ ย่อหน้าที่ 3 ตั้งค่า
ที่ .75 นิ้ว
การส่งต้นฉบับ
1. ผู้นิพนธ์ส่งบทความวิชาการหรือบทความวิจัยผ่านระบบที่เว็บไซต์
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/faakmutnb
2. เมื่อกองบรรณาธิการได้รับบทความเรียบร้อยแล้ว กองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้นิพนธ์ทราบ
3. กองบรรณาธิการจะดำเนินการตรวจสอบบทความในเบื้องต้นว่าเป็นบทความที่อยู่ในขอบเขตเนื้อหาวารสาร
หรือไม่ มีความเหมาะสมที่จะลงตีพิมพ์หรือไม่ รวมถึงมีการจัดเตรียมเป็นไปตามรูปแบบและมาตรฐาน
ที่วารสารกำหนดหรือไม่ และกองบรรณาธิการจะแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้นิพนธ์ทราบภายใน 15 วัน
คำแนะนำสำหรับผู้ประสงค์ส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์
บทความวิชาการ ควรมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
1. ชื่อเรื่อง (Title) ทุกบทความควรมีชื่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยให้ชื่อเรื่องภาษาไทยมาก่อน และควรเป็นชื่อที่สั้นกระชับและสื่อความหมายของเรื่องอย่างชัดเจน
2. ข้อมูลผู้นิพนธ์ (Author) รวมชื่อของผู้นิพนธ์ทุกคนในทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สำหรับผู้นิพนธ์ที่เป็นผู้ประสานงาน (Corresponding Author) ให้ระบุหมายเลขโทรศัพท์และที่อยู่อีเมล (E-mail) และเรียงชื่อผู้นิพนธ์ใต้ชื่อบทความ พร้อมกับใส่ตัวเลขยกกำลังเพื่อระบุสังกัดหรือตำแหน่งทางวิชาการ (ถ้ามี) และสถานที่ทำงานของผู้นิพนธ์ตามลำดับผู้นิพนธ์ 1, 2, 3, ... ไว้ใน footnote
3. บทคัดย่อ (Abstract) จัดทำบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่ควรเกิน 250 คำต่อภาษา และอยู่ในย่อหน้าเดียว โดยให้บทคัดย่อภาษาไทยมาก่อนบทคัดย่อภาษาอังกฤษ
4. คำสำคัญ (Keywords) ระบุคำสำคัญที่เหมาะสมต่อการทำดัชนีในฐานข้อมูลภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยระบุคำสำคัญไม่เกิน 3-5 คำ ที่ส่วนท้ายของแต่ละบทคัดย่อในทั้งสองภาษา
5. บทนำ (Introduction) นำเสนอข้อมูลพื้นฐานเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาและขอบเขตของบทความ
6. เนื้อหา (Body Text) เป็นส่วนหลักของบทความที่นำเสนอและแบ่งประเด็นย่อยต่าง ๆ และจัดเรียงเป็นลำดับหัวข้อ
7. สรุป (Conclusion) สรุปเนื้อหาทั้งบทความอย่างกระชับและชัดเจน
8. เอกสารอ้างอิง (References) รายการเอกสารอ้างอิงตามที่ได้ถูกอ้างในเนื้อหาของบทความ โดยปฏิบัติตามรูปแบบ APA 7th edition (American Psychological Association citation Style)
บทความวิจัย
1. ชื่อบทความ (Title) ทุกบทความควรมีชื่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยให้ชื่อเรื่องภาษาไทยมาก่อน และควรเป็นชื่อที่สั้นกระชับและสื่อความหมายของเรื่องอย่างชัดเจน
2. ข้อมูลผู้นิพนธ์ (Author) รวมชื่อของผู้นิพนธ์ทุกคนในทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สำหรับผู้นิพนธ์ที่เป็นผู้ประสานงาน (Corresponding Author) ให้ระบุหมายเลขโทรศัพท์และที่อยู่อีเมล (E-mail) และเรียงชื่อผู้นิพนธ์ใต้ชื่อบทความ พร้อมกับใส่ตัวเลขยกกำลังเพื่อระบุสังกัดหรือตำแหน่งทางวิชาการ (ถ้ามี) และสถานที่ทำงานของผู้นิพนธ์ตามลำดับผู้นิพนธ์ 1, 2, 3, ... ไว้ใน footnote
3. บทคัดย่อ (Abstract) จัดทำบทคัดย่อในทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่ควรเกิน 250 คำต่อภาษา และเขียนในรูปแบบเรียงความ โดยควรจบในย่อหน้าเดียว โดยบทคัดย่อภาษาไทยควรมาก่อนบทคัดย่อภาษาอังกฤษ
4. คำสำคัญ (Keywords) ระบุคำสำคัญที่เหมาะสมต่อการทำดัชนีในฐานข้อมูลทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยระบุคำสำคัญไม่เกิน 3-5 คำ ที่ส่วนท้ายของแต่ละบทคัดย่อในทั้งสองภาษา
5. เนื้อหา (Text) บทความวิจัยควรประกอบด้วย:
5.1 บทนำ (Introduction) บอกความสำคัญหรือที่มาของปัญหาที่นำไปสู่การศึกษา
5.2 วัตถุประสงค์ (Objectives) และสมมติฐาน (Hypotheses) (ถ้ามี)
5.3 คำถามในการวิจัย (Research Questions) (ถ้ามี)
5.4 การทบทวนวรรณกรรม (Related Literature) และกรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework)
5.5 วิธีการวิจัย (Methodology) ประกอบด้วยประชากรและกลุ่มตัวอย่าง (Population and Sample), เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (Research Instruments), การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection), และการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)
5.6 ผลการวิจัย (Results) บอกผลที่พบอย่างชัดเจนและมีรายละเอียดครบถ้วน
5.7 ตารางและรูป (Tables and Figures) ต้องมีความคมชัดและให้แทรกไว้ในบทความ โดยระบุ
ลำดับที่ของตารางหรือภาพ และมีคำอธิบายสั้น ๆ ที่สื่อความหมายได้ชัดเจน
6. การอภิปรายผล (Discussion) ประเมิน การตีความ และการวิเคราะห์ผลการวิจัย โดยใช้หลักการหรือ
ทฤษฎีมาสนับสนุนหรือหักล้างอย่างเป็นเหตุเป็นผล
7. องค์ความรู้ที่ได้ (Body of Knowledge) อธิบายถึงความรู้และความเข้าใจที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย และมี
ส่วนร่วมในการสร้างความรู้ การแก้ไขปัญหา และการเผยแพร่งานวิจัย
8. สรุปและข้อเสนอแนะ (Conclusion and Recommendation) สรุปสาระสำคัญของผลการวิจัยและชี้ให้เห็นถึงองค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัย และนำเสนอข้อเสนอแนะที่จะนำผลวิจัยไปใช้ประโยชน์
9. กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements) (ถ้ามี) ระบุสั้น ๆ ว่าได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยและความช่วยเหลือจากที่ใดบ้าง
10. เอกสารอ้างอิง (References) เขียนรายการเอกสารอ้างอิงให้ครบถ้วนตามที่ปรากฏในเนื้อหาของบทความ และเขียนในรูปแบบ APA 7th edition (American Psychological Association citation Style)
การอ้างอิงในเนื้อหา ใช้รูปแบบการอ้างอิงตามระบบ APA 7th edition (American Psychological Association) ตามตัวอย่างดังนี้
1. การอ้างอิงในเนื้อหา ใช้รูปแบบการอ้างอิงตามระบบ APA 7th edition (American Psychological Association) ตามตัวอย่างดังนี้
1.1 กรณีอ้างหน้าข้อความ
ผู้แต่ง (ปีพิมพ์) ...................................................
ตัวอย่าง
มานพ ชูนิล (2560) ……………………
Walton (1973) ..............................
1.2 กรณีอ้างหลังข้อความ
……………………… (ผู้แต่ง, ปีพิมพ์)
ตัวอย่าง
........................ (มานพ ชูนิล, 2560)
........................ (Bandura, 1977)
2. การเขียนเอกสารอ้างอิง ใช้รูปแบบการอ้างอิงตามระบบ APA 7th edition (American
Psychological Association) ตามตัวอย่างดังนี้
หนังสือ
ผู้แต่ง. (ปี). ชื่อเรื่อง (พิมพ์ครั้งที่). สำนักพิมพ์.
** ชื่อเรื่อง ให้ใช้ตัวเอียง**
ตัวอย่าง
สุชาติ พหลภาคย์. (2563). จิตวิทยาสำหรับนักจิตแพทย์: การปรับปรุงคุณภาพของชีวิตผู้ป่วย. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหิดล.
Cochrane, A. (2007). Understanding urban policy: A critical approach. Blackwell Publishing.
Seligman, M. E. P. (1998). Learned optimism: How to change your mind and your life. Vintage Books.
บทความในวารสาร
ผู้แต่ง. (ปี). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่(ฉบับที่), หน้าแรก-หน้าสุดท้าย.
** ชื่อวารสารและปีที่ให้ใช้ตัวเอียง**
ตัวอย่าง
รุ่งเรืองสิทธิ์, วรวงศ์กำพุธ. (2562). ผลของการใช้เทคนิคการสร้างความมั่นคงทางจิตใจในการลดความวิตกกังวลของนักเรียนมัธยมศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยมหิดล, 33(2), 45-55.
Peterson, C., & Seligman, M. E. P. (1984). Causal explanations as a risk factor for depression: Theory and evidence. Psychological Review, 91(3), 347-374.
วิทยานิพนธ์
1) วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตและวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตพิมพ์เป็นรูปเล่ม
ผู้แต่ง. (ปี). ชื่อวิทยานิพนธ์ [ปริญญาชั้นบัณฑิตหรือมหาบัณฑิต, ชื่อมหาวิทยาลัย]. ชื่อฐานข้อมูล. URL (ถ้ามี)
** ชื่อวิทยานิพนธ์ ให้ใช้ตัวเอียง**
ตัวอย่าง
วิทิตา สุขทั่วญาติ. (2557). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการในทศวรรษหน้าของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร].
Nickels, D. W. (2005). The relationship between IT-business alignment and organizational culture: An exploratory study [Doctoral dissertation, University of Memphis].
2) วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตและวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตที่ไม่ได้ตีพิมพ์
ผู้แต่ง. (ปี). ชื่อวิทยานิพนธ์ [ปริญญาชั้นบัณฑิตหรือมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. ชื่อมหาวิทยาลัย.
** ชื่อวิทยานิพนธ์ ให้ใช้ตัวเอียง**
ตัวอย่าง
รณชัย ศิลากร. (2547). ผลของโครงการปฏิบัติสมาธิเบื้องต้นตามทฤษฎีของมาสโลว์ [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Duddle, M. (2009). Intraprofessional relations in nursing: A case study [Unpublished doctoral thesis]. University of Sydney.
การอ้างอิงที่นอกเหนือจากตัวอย่างข้างต้น ให้ศึกษาได้จากคู่มือ Publication Manual of the American Psychological Association, Seventh Edition ของ The American Psychological Association
สามารถใช้เครื่องมืออ้างอิงช่วยในการสร้างรายการอ้างอิงอย่างถูกต้องตามระบบ APA 7th edition ที่สามารถใช้งานได้ เช่น EndNote, Mendeley, Zotero เป็นต้น