การประเมินผลของกิจกรรมการพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ ภายใต้โครงการยกระดับขีดความสามารถอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ ปีงบประมาณ 2553-2554
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความสอดคล้องระหว่างการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับเทคโนโลยีแม่พิมพ์ขั้นสูง โครงการยกระดับขีดความสามารถอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ ปีงบประมาณ 2553-2554 กับเป้าประสงค์การยกระดับขีดความสามารถอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ (2) ศึกษาผลลัพธ์และผลกระทบของการดำเนินงาน และ (3) วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคเพื่อให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการดำเนินงานของโครงการ โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมทั้งหมด 6 กิจกรรม และข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 370 ราย และใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย สัดส่วน และร้อยละ พบว่าการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากรมีความสอดคล้องกับเป้าประสงค์ของโครงการยกระดับขีดความสามารถอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ ในภาพรวมการดำเนินงานมีประสิทธิผลในระดับสูง มีประสิทธิภาพ และมีผลกระทบทางบวกต่อการพัฒนาเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจำกัดในการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผู้ผ่านการฝึกอบรมไปยังบุคคลที่อยู่ต่างองค์กร มีการพัฒนาเครื่องจักร อุปกรณ์ และกระบวนการผลิตเพียงเล็กน้อย นายจ้างยังไม่ให้ความสำคัญกับการจำแนกศักยภาพระหว่างผู้มีทักษะที่สูงและต่ำกว่า ครูอาจารย์ที่สอนวิชาชีพแม่พิมพ์บางส่วนไม่สามารถนำความรู้จากการฝึกอบรมไปใช้ในการสอนได้ สถาบันเครือข่ายยังขาดความรู้ขั้นสูงเกี่ยวกับเทคโนโลยีแม่พิมพ์ มีผู้สอบผ่านการทดสอบสมรรถนะช่างเทคนิคและวิศวกรในอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ตามข้อกำหนดจำนวนไม่มาก และขาดการติดตามประเมินผลในระหว่างการดำเนินกิจกรรม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1.บทความที่ตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบ ต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
2.ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่อง เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ และบุคลากร คณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในวารสารฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กระทรวงการต่างประเทศ กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ. (ม.ป.ป.). ข้อมูลความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2562, จาก http://tica.thaigov.net/main/th/travel/10827
กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2554). แผนแม่บทการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย พ.ศ. 2574-2555. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม.
กิตติคุณ บัวบาน. (2561). การประเมินผลโครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี ตำบลขะเนจื้อ อำเภอแม่ระนาด จังหวัดตาก. วิทยาสารทันตสาธารณสุข, 23(1), 12-25.
เกวลิน อังคณากร และชญาพิมพ์ อุสาโห. (2558). การวิเคราะห์ประสิทธิภาพและประสิทธิผลการบริหารงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล กรุงเทพมหานคร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 10(5), 386-399.
ธารารัตน์ มูลิกา. (2546). การประเมินผลการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการเลี้ยงโคนม และกิจกรรมส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อของกรมปศุสัตว์ ภายใต้แผนปรับโครงสร้างและระบบการผลิตการเกษตร: กรณีศึกษาจังหวัดนครราชสีมา (วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
บัณฑิต ชัยวิชญชาติ, สุมาลี สันติพลวุฒิ, พุฒิพัฒน์ ทวีวชิรพัฒน์, มานะ ลักษมีอรุโณทัย, กมลนัทธ์ มีถาวร, วันชัย บุญสำราญ, ... วีระศักดิ์ สว่างโลก. (2561). โครงการวิจัยเพื่อขับเคลื่อนผลิตภาพแรงงานสู่ Thailand 4.0 เรื่อง การวิจัยเกี่ยวกับการฝึกอบรมฝีมือแรงงานกับการเพิ่มผลิตภาพแรงงานใน 5 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่). กรุงเทพมหานคร:สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์. (2542). การวิจัยประเมินผล: หลักการและกระบวนการ. กรุงเทพมหานคร: การพิมพ์พระนคร.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาวิทยาการจัดการ. (2542). เอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารการผลิต หน่วยที่ 1-7 (พิมพ์ครั้งที่ 22). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
รัชนี เวียงกระโทก. (2547). การประเมินผลโครงการค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ: กรณีศึกษาโครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
สถาบันไทย-เยอรมัน. (2547). โครงการจัดทำแผนแม่บทอุตสาหกรรมแม่พิมพ์. สืบค้นจาก http://www.oie.go.th
สถาบันไทย-เยอรมัน. (2553). โครงการยกระดับขีดความสามารถอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ 2553-2557. สืบค้นจาก http://www.tgi.or.th/project_detail.php?tr_id=8
สุมาลี สันติพลวุฒิ กาญจนา ศรีพฤทธิ์เกียรติ พงษ์เทพ มังคะลี และแหลมไทย พูวณิชย์. (2555). การประเมินผลระยะกลางการดำเนินโครงการยกระดับขีดความสามารถอุตสาหกรรมแม่พิมพ์. กรุงเทพฯ:สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (ม.ป.ป.). การประเมิน. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม2562, จากhttps://www.sec.or.th/cgthailand/th/pages/assessment/interassessment.aspx
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (ม.ป.ป.). รายงานการติดตามและประเมินผลโครงการส่งเสริม SME ภายใต้งบประมาณบูรณาการปี 2560-2561. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2562, จาก
https://www.sme.go.th/upload/mod_download/report-60-61-1.pdf
แหลมไทย พู่วณิชย์ สุมาลี สันติพลวุฒิ กาญจนา ศรีพฤทธิ์เกียรติ และ สมหมาย อุดมวิทิต. (2554). การประเมินผลโครงการยกระดับขีดความสามารถอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ ปีงบประมาณ 2553. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.
Baba, T. (2007). Development Model of the Die and Mold Industry in Asia: A Comparative Analysis of Japan and Republic of Korea. Journal of International Economic Studies, 21, 125-144.
Chianca, T. (2008). The OECD/DAC Criteria for International Development Evaluations: An Assessment and Ideas for Improvement. Journal of MultiDisciplinary Evaluation, 5(9), 41-51.
Fitzpatrick, J., Sanders, J., & Worthen, B. (2011). Program evaluation: Alternative approaches and practical guidelines (4th Ed.). New York: Allyn & Bacon.
International Organization for Migration. (2006). IOM Evaluation Guidelines January 2006. Retrieved from
Mertens, D. & Wilson, A. (2012). Program evaluation theory and practice: A comprehensive guide. New York: Guilford Press.
Organisation for Economic Co-operation and Development. (2019). Better Criteria for Better Evaluation Revised Evaluation Criteria Definitions and Principles for Use. Retrieved from http://www.oecd.org/ dac/evaluation/revised-evaluation-criteria-dec-2019.pdf
Patrick, J. (2011). Haiti Earthquake Response Emerging Evaluation Lessons. Evaluation Insights, 1, 1-13. doi:10.1.1.258.5936
Rossi, P.H. & Freeman, H.E. (1982). Evaluation: A Systematic Approach. Beverly Hills, California: Sage.
Stufflebeam D.L. (2003). The CIPP Model for Evaluation. In Kellaghan T., Stufflebeam D.L. (eds.), International Handbook of Educational Evaluation. Available from https://doi.org/10.1007/978-94-010-0309-4_4
Suchman, E.A. (1967). Evaluative Research: Principle and Practice in Public Service and Social Action Program. New York: Russels Sage Foundation.
Zhang, G., Zeller, N., Griffith, R., Metcalf, D., Williams, J., Shea, C. & Misulis, K. (2011). Using the context, input, process, and product evaluation model (CIPP) as a comprehensive framework to guide the planning, implementation, and assessment of service-learning programs. Journal of higher education and outreach engagement, 15(4), 57 – 84.